คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

น. ซื้อสินค้าจำพวกวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ที่2เป็นเงิน31,300บาทได้ชำระราคาแล้วและตกลงให้โจทก์ที่2จัดส่งสินค้าที่ซื้อไปยังภูมิลำเนาของ น. โจทก์ที่2จึงให้ลูกจ้างของตนขับรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่1บรรทุกสินค้าดังกล่าวไปส่งให้ตามที่ตกลงระหว่างทางถูกรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่2และที่3ซึ่งจำเลยที่1ขับมาในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนทำให้สินค้าที่ น. ซื้อมาได้รับความเสียหายโจทก์ที่2จึงชำระราคาสินค้าให้แก่ทายาทของ น. ไปเมื่อโจทก์ที่2ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบสินค้าที่ น. ซื้อจากโจทก์ที่2ไปยังภูมิลำเนาของ น. ตามที่ตกลงไว้ดังนั้นแม้กรรมสิทธิ์ในสินค้าได้ตกเป็นของ น.ในขณะทำสัญญาซื้อขายกันแล้วก็ตามแต่โจทก์ที่2ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ น.ณภูมิลำเนาของ น. เมื่อสินค้าไปไม่ถึงเพราะเกิดความเสียหายขึ้นเสียก่อนจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่2ผู้ขายที่จะต้องรับผิดชอบต่อ น. เมื่อโจทก์ที่2ชำระราคาสินค้านั้นให้แก่ทายาทของ น. ไปโจทก์ที่2จึงเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ น. ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา227มาฟ้องจำเลยที่2และที่3ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่1กระทำไปในทางการที่จ้างได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม 2534 เวลา 16.40 นาฬิกาจำเลย ที่ 1 ขณะ ปฏิบัติงาน ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ขับ รถยนต์บรรทุก หก ล้อ หมายเลข ทะเบียน 80-0283 สงขลา ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ด้วย ความ เร็ว สูง ชน รถยนต์บรรทุก สี่ ล้อ หมายเลขทะเบียน น. 9105 สงขลา ของ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง จอด อยู่ ได้รับ ความเสียหายทั้ง คัน และ ทำให้ สินค้า วัสดุ ก่อสร้าง หลาย รายการ ของ นาย เนื่อง จันทขวัญ ลูกจ้าง ของ โจทก์ ที่ 2 ที่ ได้ สั่ง ซื้อ ไป จาก โจทก์ ที่ 2ซึ่ง บรรทุก อยู่ บน รถบรรทุก สี่ ล้อ เพื่อ นำ ไป ส่ง ให้ นาย เนื่อง ณ ภูมิลำเนา ของ นาย เนื่อง ได้รับ ความเสียหาย ทั้งหมด ทำให้ โจทก์ ที่ 2 ต้อง ชดใช้ ราคา สินค้า ให้ แก่ ทายาท ของ นาย เนื่อง ไป โจทก์ ที่ 2 จึง เข้า รับช่วงสิทธิ ที่ จะ ไล่เบี้ย เรียกร้อง ค่าสินค้าใน ส่วน ที่ โจทก์ ที่ 2 ชำระ ไป รถยนต์บรรทุก สี่ ล้อ ของ โจทก์ ที่ 1ได้รับ ความเสียหาย คิด เป็น เงิน 180,000 บาท ส่วน โจทก์ ที่ 2ได้รับ ความเสียหาย ต้อง ชดใช้ ราคา สินค้า คืน ไป 31,300 บาท ขอให้บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย ดังกล่าว แก่ โจทก์ ที่ 1และ ที่ 2 พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็น ลูกจ้างและ ไม่ได้ กระทำการ ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3วัสดุ ก่อสร้าง เสียหาย ไม่ใช่ ความผิด ของ โจทก์ ที่ 2 โจทก์ ที่ 2ไม่ต้อง รับผิด ต่อ นาย เนื่อง แม้ โจทก์ ที่ 2 จะ ได้ ใช้ ราคา ให้ แก่ ทายาท ของ นาย เนื่อง ก็ ไม่อยู่ ใน ฐานะ รับช่วงสิทธิ ของ นาย เนื่อง ที่ จะ เรียกร้อง ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 รับผิด
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน แก่โจทก์ ที่ 1 จำนวน 120,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 16 ธันวาคม 2534 เป็นต้น ไป จนกว่า จะชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 31,300 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 23 ธันวาคม2534 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี ใน ส่วน ของ โจทก์ ที่ 2 นี้ ต้องห้ามอุทธรณ์ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง เนื่องจาก ทุนทรัพย์ พิพาท เพียง32,278 บาท ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ขึ้น มา เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่ง ใน การ วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตามข้อเท็จจริง ที่ ศาลชั้นต้น ได้ วินิจฉัย ไว้ เป็น ยุติ แล้ว ว่านาย เนื่อง จันทขวัญ ได้ ซื้อ สินค้า จำพวก วัสดุ ก่อสร้าง จาก โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 31,300 บาท ได้ ชำระ ราคา แล้ว และ ตกลง ให้ โจทก์ ที่ 2จัด ส่ง สินค้า ที่ ซื้อ ไป ยัง ภูมิลำเนา ของ นาย เนื่อง โจทก์ ที่ 2จึง ให้ ลูกจ้าง ของ ตน ขับ รถยนต์บรรทุก ของ โจทก์ ที่ 1 บรรทุก สินค้าดังกล่าว ไป ส่ง ให้ ตาม ที่ ตกลง ระหว่าง ทาง ถูก รถยนต์บรรทุก ของจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ขับ มา ใน ทางการที่จ้าง ของจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ชน ทำให้ สินค้าที่นาย เนื่อง ซื้อ มา ได้รับ ความเสียหาย ทั้งหมด โจทก์ ที่ 2 จึง ชำระ ราคา สินค้า ดังกล่าว ให้ แก่ ทายาท ของ นาย เนื่อง ไป เมื่อ โจทก์ ที่ 2 ยัง มี ภาระ ผูกพัน ที่ จะ ต้อง ส่งมอบ สินค้า จำพวก วัสดุ ก่อสร้างที่นาย เนื่อง ซื้อ จาก โจทก์ ที่ 2 ไป ยัง ภูมิลำเนา ของ นาย เนื่อง ตาม ที่ ได้ ตกลง ไว้ ดังนั้น แม้ ข้อเท็จจริง จะ เป็น ดัง ที่ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 อ้าง มา ใน ฎีกา ว่า กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ที่ โจทก์ ที่ 2ขาย ให้ นาย เนื่อง ได้ ตกเป็น ของ นาย เนื่อง ใน ขณะ ทำ สัญญาซื้อขาย กัน แล้ว ก็ ตาม แต่ โจทก์ ที่ 2 ก็ ยัง มี หน้าที่ ที่ จะ ต้อง ส่งมอบ สินค้าให้ นาย เนื่อง ณ ภูมิลำเนา ของ นาย เนื่อง เมื่อ สินค้า ที่ ส่ง ไป ไม่ถึง ภูมิลำเนา ของ นาย เนื่อง เพราะ เกิด ความเสียหาย ขึ้น เสีย ก่อน จึง เป็น หน้าที่ ของ โจทก์ ที่ 2 ผู้ขาย ที่ จะ ต้อง รับผิดชอบ ต่อนาย เนื่อง เมื่อ โจทก์ ที่ 2 ชำระ ราคา สินค้า นั้น ให้ แก่ ทายาท ของ นาย เนื่อง ไป โจทก์ ที่ 2 จึง เข้า สู่ ฐานะ เป็น ผู้รับช่วงสิทธิ ของ นาย เนื่อง ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 227 มา ฟ้อง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะ นายจ้าง ให้ ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ใน ผล แห่ง ละเมิด ที่ จำเลย ที่ 1ได้ กระทำ ไป ใน ทางการที่จ้าง ได้ โจทก์ ที่ 2 จึง มีอำนาจ ฟ้องจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3
พิพากษายืน

Share