แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่โจทก์ที่2ขายได้ตกเป็นของผู้ซื้อในขณะทำสัญญา ซื้อขายกันแล้วแต่โจทก์ที่2ก็ยังมีหน้าที่ที่ต้องส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อณภูมิลำเนาของผู้ซื้อเมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้นจากอุบัติเหตุที่จำเลยที่1ได้ก่อขึ้นโดย ละเมิดใน ทางการที่จ้างของจำเลยที่2และที่3ก่อนที่จะส่งสินค้าไปถึงภูมิลำเนาของผู้ซื้อย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่2ที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้อเมื่อโจทก์ที่2ชำระราคาสินค้าให้แก่ทายาทของผู้ซื้อไปจึง รับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยทั้งสามได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขณะ ปฏิบัติงาน ใน ทางการที่จ้าง ของจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ผู้เป็น นายจ้าง ได้ ขับ รถยนต์บรรทุก หก ล้อหมายเลข ทะเบียน 80-0283 สงขลา ไป ตาม ถนน สาย เอเซีย โดย ความประมาท เลินเล่อ ปราศจาก ความระมัดระวัง แซง รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ซึ่ง แล่น อยู่ข้างหน้า แล้ว ขับ หลบ ไป ทาง ด้านขวา มือ ของ ถนน ล้ำ เข้า ไป ใน ช่อง เดินรถ ของ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ที่ แล่น สวนทาง มา เป็นเหตุ ให้ รถยนต์บรรทุก ของ จำเลย ที่ 1 พุ่ง เข้า ชน รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ได้รับ ความเสียหายจาก นั้น รถยนต์บรรทุก คัน ที่ จำเลย ที่ 1ขับ เสีย การ ทรง ตัว ส่าย ไป มา และ แล่นเข้า ชน รถยนต์บรรทุก สี่ ล้อ หมายเลข ทะเบียน น-9105 สงขลา ของ โจทก์ที่ 1 ซึ่ง จอด อยู่ ด้านซ้าย สุด ของ ถนน ฝั่ง ตรงกันข้าม ได้รับ ความเสียหายพัง ยับเยินทั้ง คัน นอกจาก นี้ ยัง ทำให้ สินค้า วัสดุ ก่อสร้าง รวม หลายรายการ ของ นาย เนื่อง จันทขวัญ ลูกค้า ของ โจทก์ ที่ 2 ที่ ได้ สั่ง ซื้อ สินค้า ดังกล่าว ไป จาก โจทก์ ที่ 2 ได้รับ ความเสียหาย ทั้งหมด ซึ่งขณะ เกิดเหตุ อยู่ ใน ระหว่าง ที่ โจทก์ ที่ 2 บรรทุก สินค้า วัสดุ ก่อสร้างดังกล่าว เพื่อ นำ ไป ส่ง ให้ แก่ นาย เนื่อง ทำให้ โจทก์ ที่ 2 ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินค้า ให้ แก่ ทายาท ของ นาย เนื่อง ตาม สัญญา โจทก์ ที่ 2จึง เข้า รับช่วงสิทธิ ที่ จะ ไล่เบี้ย เรียกร้อง ค่าสินค้า ใน ส่วน ที่ โจทก์ที่ 2 ชำระ ไป แล้ว การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ทำให้ โจทก์ ทั้ง สองเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน แก่ โจทก์ ที่ 1จำนวน 185,625 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จากต้นเงิน 180,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จและ ชำระ เงิน ให้ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 32,278 บาท พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 31,300 บาท นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็น ลูกจ้างของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ กระทำการ ใน ทางการที่จ้างของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 วัสดุ ก่อสร้าง เสียหาย มิใช่ ความผิด ของ โจทก์ที่ 2 โจทก์ ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ขาย ไม่ต้อง รับผิด ต่อ นาย เนื่อง จันทขวัญ แม้ โจทก์ ที่ 2 จะ ได้ ใช้ ราคา ค่า ไม้แปรรูป และ วัสดุ ก่อสร้าง ให้ แก่ทายาท ของ นาย เนื่อง ไป แล้ว ก็ ไม่อยู่ ใน ฐานะ รับช่วงสิทธิ ของ นาย เนื่อง ที่ จะ เรียกร้อง ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 รับผิด ได้ ค่าเสียหาย ของ โจทก์ ไม่ถึง ตาม จำนวน ที่ ฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน แก่ โจทก์ ที่ 1จำนวน 120,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วัน ละเมิด (วันที่ 16 ธันวาคม 2534) เป็นต้นไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แต่ ดอกเบี้ย เมื่อ คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน5,625 บาท แก่ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 31,300 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 23 ธันวาคม2534 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แต่ ดอกเบี้ย เมื่อ คิด ถึง วันฟ้องต้อง ไม่เกิน 978 บาท
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ที่ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ฎีกา ว่า โจทก์ ที่ 2 มีอำนาจ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ได้ หรือไม่ เห็นว่า คดี ใน ส่วน ของ โจทก์ ที่ 2 นี้ต้องห้าม อุทธรณ์ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง เนื่องจาก ทุนทรัพย์ พิพาทเพียง 32,278 บาท ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฎีกา ขึ้น มา เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่ง ใน การ วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ถือตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลชั้นต้น ได้ วินิจฉัย ไว้ เป็น ยุติ แล้ว ว่านาย เนื่อง จันทขวัญ ได้ ซื้อ สินค้า จำพวก วัสดุ ก่อสร้าง จาก โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 31,300 บาท ได้ ชำระ ราคา แล้ว และ ตกลง ให้ โจทก์ ที่ 2จัด ส่ง สินค้า ที่ ซื้อ ไป ยัง ภูมิลำเนา ของ นาย เนื่อง โจทก์ ที่ 2 จึง ให้ ลูกจ้าง ของ ตน ขับ รถยนต์บรรทุก ของ โจทก์ ที่ 1 บรรทุก สินค้า ดังกล่าว ไปส่ง ให้ ตาม ที่ ตกลง ระหว่าง ทาง ถูก รถยนต์บรรทุก ของ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ขับ มา ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลย ที่ 2 และที่ 3 ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ชน ทำให้ สินค้า ที่นาย เนื่อง ซื้อ มา ได้รับ ความเสียหาย ทั้งหมด โจทก์ ที่ 2 จึง ชำระ ราคา สินค้า ดังกล่าวให้ แก่ ทายาท ของ นาย เนื่อง ไป เมื่อ โจทก์ ที่ 2 ยัง มี ภาระ ผูกพัน ที่ จะ ต้อง ส่งมอบ สินค้า จำพวก วัสดุ ก่อสร้าง ที่นาย เนื่อง ซื้อ จาก โจทก์ ที่ 2 ไป ยัง ภูมิลำเนา ของ นาย เนื่อง ตาม ที่ ได้ ตกลง ไว้ ดังนั้น แม้ ข้อเท็จจริง จะ เป็น ดัง ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อ้าง มา ใน ฎีกาว่า กรรมสิทธิ์ ใน สินค้า ที่ โจทก์ ที่ 2 ขาย ให้ นาย เนื่อง ได้ ตกเป็น ของ นาย เนื่อง ใน ขณะ ทำ สัญญาซื้อขาย กัน แล้ว ก็ ตาม แต่ โจทก์ ที่ 2ก็ ยัง มี หน้าที่ ที่ จะ ต้อง ส่งมอบ สินค้า ให้ นาย เนื่อง ณ ภูมิลำเนา ของ นาย เนื่อง เมื่อ สินค้า ที่ ส่ง ไป ไม่ถึง ภูมิลำเนา ของ นาย เนื่อง เพราะ เกิด ความเสียหาย ขึ้น เสีย ก่อน จึง เป็น หน้าที่ ของ โจทก์ ที่ 2ผู้ขาย ที่ จะ ต้อง รับผิดชอบ ต่อ นาย เนื่อง เมื่อ โจทก์ ที่ 2 ชำระ ราคา สินค้า นั้น ให้ แก่ ทายาท ของ นาย เนื่อง ไป โจทก์ ที่ 2 จึง เข้า สู่ ฐานะ เป็น ผู้รับช่วงสิทธิ ของ นาย เนื่อง ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 227 มา ฟ้อง จำเลย ที่ 2 และที่ 3 ใน ฐานะ นายจ้าง ให้ ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ใน ผลแห่ง ละเมิด ที่ จำเลย ที่ 1 ได้ กระทำ ไป ใน ทางการที่จ้าง ได้ โจทก์ ที่ 2จึง มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษามา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน