คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ของโจทก์และ ค. เป็นผู้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไว้การที่ ค. เป็นพนักงานของบริษัท อ. จำกัดรับจดหมาย2ช่วงคือช่วงเช้าเวลา9ถึง10นาฬิกาช่วงเย็นตั้งแต่16นาฬิกาและโจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. จำกัดนอกจากนี้โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์จึงอยู่ในความดูแลของบริษัท อ.จำกัดเช่นนี้การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายณวันที่จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์แก่ ค.ตามมาตรา8แห่งประมวลรัษฎากร

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน และคำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ให้ จำเลย คืนเงินจำนวน 121,919.22 บาท และ จำนวน 3,753 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จหาก เห็นว่า โจทก์ มี หน้าที่ ต้อง เสีย ภาษี จำนวน ใด ๆ ก็ ขอให้ งด หรือลด เงินเพิ่ม เบี้ยปรับ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ของ จำเลย และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ชอบแล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “คดี คง มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี ภายใน กำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ ได้รับ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ หรือไม่ ซึ่ง ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 34 บัญญัติ ไว้ ว่า “คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ ผู้ มี หน้าที่พิจารณา อุทธรณ์ ตาม มาตรา 29 หรือ มาตรา 30 ให้ ทำ เป็น หนังสือ และให้ ส่ง ไป ยัง ผู้อุทธรณ์ ” โดย มี มาตรา 8 แห่ง ประมวลรัษฎากร บัญญัติ ว่า”หมายเรียก หนังสือ แจ้ง ให้ เสีย ภาษีอากร หรือ หนังสือ อื่น ซึ่ง มี ถึงบุคคล ใด ตาม ลักษณะ นี้ ให้ ส่ง โดย ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน ตอบรับ หรือ ให้ เจ้าพนักงานสรรพากร นำ ไป ส่ง ณ ภูมิลำเนา หรือ ถิ่นที่อยู่ หรือ สำนักงาน ของ บุคคล นั้นใน ระหว่าง พระอาทิตย์ ขึ้น ถึง พระอาทิตย์ ตก หรือ ใน เวลา ทำการ ของบุคคล นั้น ถ้า ไม่พบ ผู้รับ ณ ภูมิลำเนา หรือ ถิ่นที่อยู่ หรือ สำนักงานของ ผู้รับ จะ ส่ง ให้ แก่ บุคคล ใด ซึ่ง บรรลุนิติภาวะ แล้ว และ อยู่ หรือทำงาน ใน บ้าน หรือ สำนักงาน ที่ ปรากฏว่า เป็น ของ ผู้รับ นั้น ก็ ได้ “และ ตาม วรรคสาม ของ มาตรา ดังกล่าว บัญญัติ ว่า “เมื่อ ได้ ปฏิบัติ ตามวิธี ดังกล่าว ข้างต้น แล้ว ให้ ถือว่า เป็น อัน ได้รับ แล้ว ” โจทก์ อุทธรณ์ว่า นาย คมศักดิ์ ไม่ใช่ พนักงาน ของ โจทก์ แต่ เป็น พนักงาน ของ บริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด โจทก์ เพิ่ง ได้รับ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ที่ จำเลย ส่ง ไป ถึง โจทก์ เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 เห็นว่า โจทก์ประกอบ พา ณิชยกิจ ใน ประเทศ ไทย โดย มี สำนักงาน อยู่ ที่ อาคาร เลขที่ 2160ถนน รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และ ใช้ อาคาร เลขที่ ดังกล่าว เป็น สำนักงาน ประกอบ พา ณิชยกิจ ตลอดมา จน ถึง ปัจจุบันดังนั้น การ ที่ จำเลย ส่ง คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ไป ยัง ที่อยู่ ของ โจทก์ ตาม อาคาร เลขที่ ดัง ที่ ระบุ ไว้ ดังกล่าว จึง ถือได้ว่า เป็น การ ส่ง โดยชอบ แล้ว ส่วน ที่ โจทก์ อ้างว่า นาย คมศักดิ์ ไม่ใช่ พนักงาน ของ โจทก์ นั้น นาย วิษณุ ศิริพัฒนสารกิจ และ นาง สุวิมล สวัสดิ์พาณิชย์ พยานโจทก์ ต่าง ก็ เบิกความ ใน ทำนอง เดียว กัน ว่า โจทก์ เป็น บริษัท ใน เครือ บริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด มี บริษัท อินซ์เคป จำกัด แห่งประเทศ อังกฤษ เป็น บริษัท แม่ แต่ โจทก์ ยัง มี พนักงาน ไม่ครบ สมบูรณ์ บริษัท อินซ์เคป จำกัด แห่ง ประเทศ อังกฤษ จึง มอบหมาย ให้ บริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด เป็น ผู้ดูแล โจทก์ โดย นาย วิษณุ ซึ่ง มี ตำแหน่ง เป็น สมุห์บัญชี ของ บริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด เป็น ผู้ดูแล งาน ด้าน บัญชี ของ โจทก์ ส่วน นาง สุวิมล ซึ่ง มี ตำแหน่ง เป็น ผู้จัดการ ฝ่าย กฎหมาย ของ บริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด เป็น ผู้ดูแล งาน ด้าน กฎหมาย และ ภาษีอากร ของ โจทก์ นาย คมศักดิ์ ซึ่ง เป็น ผู้รับ เอกสาร ไว้ จาก พนักงาน ไปรษณีย์ เบิกความ ว่า พยาน ทำงาน อยู่ ที่ บริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด มี หน้าที่ รับ ส่ง เอกสาร ทั้ง ภายใน และ ภายนอก บริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด ตั้ง อยู่ เลขที่ 2160 ถนน รามคำแหง แขวงคลองจั่น (ที่ ถูก แขวง หัวหมาก ) เขต บางกะปิ กรุงเทพมหานคร บริษัท ใน เครือ ของ บริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด ตั้ง อยู่ ใน อาคาร เดียว กัน พยาน รับ จดหมาย และ พัสดุภัณฑ์ ไปรษณีย์ ใน 2 ช่วง เวลา คือ ช่วง เช้า ตั้งแต่ 9 ถึง10 นาฬิกา และ ช่วง เย็น ตั้งแต่ เวลา 16 นาฬิกา ภายหลัง จาก ได้รับพัสดุภัณฑ์ ไปรษณีย์ แล้ว จะ คัดเลือก พัสดุภัณฑ์ ไปรษณีย์ ของ บริษัท ต่าง ๆแล้ว นำ ไป ส่ง ไว้ ใน ช่อง บรรจุ เอกสาร ของ บริษัท ต่าง ๆ และ ลง รายการไว้ ใน สมุดบันทึก จาก นั้น บริษัท ต่าง ๆ ใน เครือ บริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด จะ มา รับ เอกสาร ต่าง ๆ เหล่านั้น นอกจาก นี้ จำเลย ก็ นำสืบ ว่าก่อนหน้า นี้ จำเลย เคย ส่ง เอกสาร ต่าง ๆ ให้ แก่ บริษัท ใน เครือ ของ โจทก์มา หลาย ครั้ง พนักงาน ผู้ลงชื่อ รับ เอกสาร เป็น ประจำ ก็ เป็น บุคคลคนเดียว กัน ทั้งหมด มิได้ แยก พนักงาน ผู้รับ ของ แต่ละ บริษัท เมื่อพฤติการณ์ ใน การ ปฏิบัติงาน ของ โจทก์ เป็น ดัง ที่ โจทก์ นำสืบ โดย โจทก์ใช้ พนักงาน ของ บริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด มา โดย ตลอด ใน การ ปฏิบัติงาน จน เป็น ปกติ ถือได้ว่า โจทก์ ได้ ใช้ หรือ ยอมรับ เอา พนักงาน ของบริษัท อินซ์เคปไทย จำกัด เป็น ผู้ ดำเนินงาน เสมือน หนึ่ง ว่า บุคคล เหล่านั้น เป็น พนักงาน ของ โจทก์ เอง ฉะนั้น การ ที่ พนักงาน ไปรษณีย์ส่ง คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ให้ โจทก์ ที่ อาคาร เลขที่ 2160 ถนน รามคำแหง แขวง หัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดย มี นาย คมศักดิ์ เป็น ผู้รับ เอกสาร ดังกล่าว ไว้ แทน เมื่อ วันที่ 25 พฤษภาคม 2537จึง ถือได้ว่า เป็น การ ส่ง คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ให้ แก่ บุคคล ซึ่ง อยู่ หรือทำงาน ใน บ้าน หรือ สำนักงาน ที่ ปรากฏว่า เป็น ของ โจทก์ แล้ว จึง เป็น การส่ง โดยชอบ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 เมื่อ โจทก์ ได้รับ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ จาก คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ เมื่อ วันที่ 25 พฤษภาคม 2537แต่ โจทก์ นำ คดี มา ฟ้อง เมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน 2537 จึง เป็น การนำ คดี มา ฟ้อง เมื่อ พ้น กำหนด 30 วัน นับแต่ วันที่ โจทก์ ได้รับ แจ้งคำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ขัด ต่อมา ตรา 30แห่ง ประมวลรัษฎากร โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษามา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share