คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นที่สุดนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่า อธิบดีกรมสรรพากรได้กลั่นแกล้งหรือไม่สุจริตผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจะอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(1)หาได้ไม่เพราะการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา7(1)นั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นที่สุดเท่านั้นหากมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรถือเป็นที่สุดแล้วก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเป็นพิเศษเฉพาะกรณีนั้นๆดังนั้นโจทก์ผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจึง ไม่มี อำนาจฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน หนังสือ แจ้ง ผล การ ตรวจ ปฏิบัติการ ที่กค.0824/7451 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2535 ของ สำนักงาน ภาษี สรรพากรเขต พื้นที่ 4 และ คำวินิจฉัย ที่ กค.0802(ก)/พ.9693 ลงวันที่ 6พฤศจิกายน 2535 ของ จำเลย ที่ 2 และ ให้ โจทก์ ได้รับ เครดิต ใน การ ชำระภาษี มูลค่า เพิ่ม สำหรับ สินค้า ทุน ประเภท เครื่องจักร ที่ โจทก์ ซื้อจาก บริษัท ไทยเคนไซเทรดดิ้ง จำกัด ซึ่ง เป็น ผู้นำ เข้า ใน อัตรา ร้อยละ 3.5 เป็น เงิน 257,537 บาท
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า หนังสือ แจ้ง ผล การ ตรวจ ปฏิบัติการ และคำวินิจฉัย ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ถูกต้อง ตาม ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย แล้ว ทั้ง ตาม มาตรา 17 วรรคท้าย แห่ง พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 บัญญัติ ให้คำวินิจฉัย ของ อธิบดี กรมสรรพากร ที่ สั่ง ตาม มาตรา ดังกล่าว เป็น ที่สุดโจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ แก้ไข หนังสือ แจ้ง ผลการ ปฏิบัติการ ที่ กค.0824/7451 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2535 ของจำเลย ที่ 1 และ คำวินิจฉัย ที่ กค.0802(ก)/พ.9693 ลงวันที่ 6พฤศจิกายน 2535 ของ จำเลย ที่ 2 จาก ที่ ไม่อนุญาต ให้ โจทก์ ได้รับ เครดิตใน การ ชำระ ภาษี มูลค่า เพิ่ม สำหรับ สินค้า ทุก ประเภท เครื่องจักร ที่ โจทก์ซื้อ จาก บริษัท ไทยเคนไซเทรดดิ้ง จำกัด ซึ่ง เป็น ผู้นำ เข้า มูลค่า 7,358,200 บาท เป็น ให้ โจทก์ ได้รับ เครดิต ใน การ ชำระ ภาษี มูลค่า เพิ่มสำหรับ สินค้า ดังกล่าว ใน อัตรา ร้อยละ 3.5 ตาม วิธีการ ที่ กำหนด ในมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สอง ใน ข้อ แรก ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง ขอให้เพิกถอน คำวินิจฉัย ของ อธิบดี กรมสรรพากร ใน การ ที่ ได้ วินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534มาตรา 17 หรือไม่ ใน ปัญหา ข้อ นี้ มาตรา 17 วรรคสุดท้าย แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว บัญญัติ ว่า “ใน กรณี ที่ มี ปัญหา ใน การ ปฏิบัติและ ใน การ วินิจฉัย ตาม มาตรา นี้ อธิบดี มีอำนาจ วินิจฉัย และ คำวินิจฉัยของ อธิบดี ให้ ถือ เป็น ที่สุด ” ข้อเท็จจริง ได้ความ ตาม คำฟ้อง ว่าโจทก์ ยื่น แบบ คำขอ เครดิต ใน การ ชำระ ภาษี มูลค่า เพิ่ม สำหรับ สินค้า ทุนตาม พระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 มาตรา 17 แต่ สรรพากรเขต พื้นที่ 4 ปฏิเสธ ไม่ยอม ให้ โจทก์ได้รับ เครดิต ภาษี สำหรับ สินค้า ทุน ประเภท เครื่องจักร ใช้ งาน ระบบห้อง พ่นสี ซึ่ง บริษัท ไทยเคนไซเทรดดิ้ง จำกัด เป็น ผู้นำ เข้า มาจาก ต่างประเทศ แล้ว ขาย ให้ โจทก์ ใน มูลค่า 7,358,200 บาท โจทก์ ยื่น คำคัดค้านต่อ อธิบดี กรมสรรพากร แล้ว รองอธิบดี กรมสรรพากร ปฏิบัติ ราชการ แทนอธิบดี กรมสรรพากร วินิจฉัย ยืนยัน ว่า สินค้า ที่ โจทก์ ซื้อ จาก ผู้นำ เข้าเป็น สินค้า ทุน ที่ ผู้ขาย ไม่มี หน้าที่ ต้อง เสีย ภาษีการค้า ตาม หมวด 4ใน ลักษณะ 2 แห่ง ประมวลรัษฎากร ก่อน การ แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 โจทก์ ไม่ได้รับ เครดิต ใน การ ชำระ ภาษี มูลค่า เพิ่ม สำหรับ สินค้า ทุน ดังกล่าว ดังนี้คำวินิจฉัย ดังกล่าว ย่อม ถือได้ว่า เป็น คำวินิจฉัย ของ อธิบดี กรมสรรพากรซึ่ง ได้ วินิจฉัย ใน ปัญหา ที่ เกิดขึ้น ตาม มาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 เมื่อ ไม่ปรากฏว่า ได้ กลั่นแกล้ง หรือไม่ สุจริต แต่อย่างใด ผล ใน การ วินิจฉัย ซึ่งชี้ขาด ว่า โจทก์ ไม่ได้ รับ เครดิต ใน การ ชำระ ภาษี มูลค่า เพิ่ม สำหรับสินค้า ทุน ดังกล่าว จึง เป็น คำวินิจฉัย ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย ต้อง ถือ เป็นที่สุด ตาม ที่ บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว บัญญัติ ไว้ โจทก์ จะ อุทธรณ์คำวินิจฉัย ดังกล่าว ต่อ ศาลภาษีอากรกลาง ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากร และ วิธีพิจารณา คดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(1)อีก หาได้ไม่ เพราะ การ อุทธรณ์ คำวินิจฉัย ของ เจ้าพนักงาน ตาม กฎหมายเกี่ยวกับ ภาษีอากร ดัง ที่มา ตรา 7(1) บัญญัติ ไว้ นั้น หมายถึง กรณี ที่ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ ให้ คำวินิจฉัย ของ เจ้าพนักงาน ดังกล่าว เป็น ที่สุดเท่านั้น หาก มี กฎหมาย บัญญัติ ให้ คำวินิจฉัย ของ เจ้าพนักงาน ตาม กฎหมายเกี่ยวกับ ภาษีอากร ให้ ถือ เป็น ที่สุด แล้ว ก็ ต้อง บังคับ ตาม บทบัญญัติของ กฎหมาย ที่ บัญญัติ เป็น พิเศษ เฉพาะ กรณี นั้น ๆ ดังนั้น โจทก์ จึงไม่มี อำนาจฟ้อง ที่ ศาลภาษีอากรกลาง วินิจฉัย ว่า คำวินิจฉัย ดังกล่าวมีผล เป็น เพียง ให้ ถือ เป็น ที่สุด ตาม วิธีการ ของ ฝ่าย ปกครอง เท่านั้นหาใช่ เป็น การ ตัด อำนาจศาล ที่ จะ วินิจฉัย แต่อย่างใด ไม่ เมื่อ การกระทำหรือ คำวินิจฉัย ของ จำเลย ทั้ง สอง เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ต่อ โจทก์โจทก์ ย่อม มีสิทธิ นำ คดี ขึ้น สู่ ศาล อันเป็น การ อุทธรณ์ คำวินิจฉัย ของเจ้าพนักงาน ตาม กฎหมาย เกี่ยวกับ ภาษีอากร ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากร และ วิธีพิจารณา คดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(1)ได้ โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้อง นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ศาลฎีกา อุทธรณ์ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังขึ้น ไม่จำต้อง วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สองใน ข้อ อื่น อีก ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

Share