คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การพิจารณาว่าคดีตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาเป็นคนละส่วนกันเมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงส่วนคดีตามฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้บังคับโจทก์ทำสัญญาเช่ากับผู้ให้เช่าเดิมเพื่อให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแต่เมื่อการวินิจฉัยฟ้องแย้งต้องอาศัยข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับฟ้องเดิมซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องถือว่าข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาในฟ้องเดิมผูกพันจำเลยในคดีฟ้องแย้งด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นอย่างอื่นได้ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารพิพาทและโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตามฟ้องแย้งได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญา จอง เช่า อาคารพาณิชย์ กับ โจทก์แต่ ระหว่าง รอ การ ทำ สัญญาเช่า จำเลย มิได้ ชำระ ค่าเช่า และ ค่าบำรุงให้ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ ค่าเช่า ค่าบำรุง 8,560 บาท แก่ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ จำเลย ส่งมอบ อาคาร เลขที่ 131/5-6 คืน แก่ โจทก์โดย ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไป ทันที หาก จำเลย ไม่ส่ง มอบ อาคารแก่ โจทก์ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย เดือน ละ 10,000 บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ส่งมอบ อาคาร แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ได้ ทำ สัญญา จอง อาคาร โดย ออก เงินช่วย ค่าก่อสร้าง ค่า ถม ดิน ค่า ติด ตั้ง ไฟฟ้า ประปา เป็น เงิน 320,000บาท ถือว่า เป็น สัญญาต่างตอบแทน พิเศษ ยิ่งกว่า สัญญาเช่า ธรรมดาสัญญาเช่า ที่ จะ ทำ กัน มี อายุ การ เช่า 20 ปี นับแต่ วัน ทำ สัญญา และผู้รับ จอง จะ ได้ ไป ทำการ จดทะเบียน การ เช่า ณ ที่ว่าการ อำเภอ จำเลย มิได้ค้างชำระ ค่าเช่า ค่าบำรุง ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์ และ ให้ โจทก์ ปฏิบัติ ตามสัญญา จอง โดย ให้ โจทก์ ไป ทำ สัญญาเช่า กับ เทศบาล เมือง ฉะเชิงเทราให้ เรียบร้อย เพื่อ จะ ได้ ทำ สัญญาเช่า กับ จำเลย ให้ เรียบร้อย มีอายุ การ เช่า 20 ปี นับแต่ วัน ทำ สัญญา และ ให้ โจทก์ เป็น ผู้ เสียค่าอากรแสตมป์ และ ค่าธรรมเนียม เอง
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย และ บริวาร ออก ไป จาก อาคารเลขที่ 131/5-131/6 ถนน ชุมพล ตำบลหน้าเมือง อำเภอ เมือง ฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา ให้ จำเลย ชำระ ค่าเช่า ค่าบำรุง 1,600 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย เดือน ละ8,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย และ บริวาร จะ ออก ไป จากอาคาร ดังกล่าว ให้ยก ฟ้องแย้ง จำเลย
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก อุทธรณ์ โจทก์ และ จำเลย
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา มี ว่า อุทธรณ์ ของ จำเลย ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224หรือไม่ คดี นี้ จำเลย อุทธรณ์ ขอให้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ยกฟ้อง โจทก์ที่ ขอให้ บังคับ ขับไล่ จำเลย พร้อม บริวาร ออกจาก อาคาร ของ โจทก์ และ ขอให้บังคับ ตาม ฟ้องแย้ง ให้ โจทก์ ไป จดทะเบียน การ เช่า ห้อง พิพาท กับ จำเลยเท่ากับ เป็น การ อุทธรณ์ คดี ที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย และ อุทธรณ์ ใน คดี ที่จำเลย ฟ้องแย้ง โจทก์ การ พิจารณา ว่าคดี ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ และ ฟ้องแย้งของ จำเลย จะ ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง หรือไม่ ต้อง แยก พิจารณาต่างหาก เป็น คน ละ ส่วน กัน เมื่อ คดี ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ขับไล่ จำเลย ออกจากอสังหาริมทรัพย์ มีค่า เช่า ใน ขณะ ยื่น คำฟ้อง ไม่เกิน เดือน ละ 4,000 บาทคดี ตาม ฟ้องโจทก์ จึง ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ส่วน คดีตาม ฟ้องแย้ง จำเลย เป็น คดี ที่ จำเลย ขอให้ บังคับ โจทก์ ดำเนินการ ทำสัญญาเช่า กับ เทศบาล เมือง จังหวัด ฉะเชิงเทรา เพื่อ ให้ โจทก์ ทำ สัญญาเช่ากับ จำเลย มี อายุ สัญญาเช่า 20 ปี โดย ให้ โจทก์ เป็น ผู้ เสีย ค่าอากรและ ค่าธรรมเนียม จึง เป็น คดี ที่ มี คำขอ ให้ ปลดเปลื้อง ทุกข์ อัน ไม่อาจคำนวณ เป็น ราคา เงินได้ ซึ่ง ต้องด้วย ข้อยกเว้น ที่ ให้ อุทธรณ์ ในข้อเท็จจริง ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา224 วรรคสอง ตอนต้น ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลยต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของจำเลย ข้อ นี้ ฟังขึ้น แต่ เพื่อ ให้การ พิจารณา พิพากษาคดี เป็น ไปโดย รวดเร็ว ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ฎีกา ที่ เกี่ยวกับ ฟ้องแย้งของ จำเลย ไป โดย ไม่ ย้อนสำนวน ดังนั้น เมื่อ อุทธรณ์ ของ จำเลย ใน ส่วน ที่ขอให้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ คำพิพากษา ศาลชั้นต้น เกี่ยวกับ คำฟ้อง เดิมโจทก์ ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง และ การ วินิจฉัย ฟ้องแย้งของ จำเลย ต้อง อาศัย ข้อเท็จจริง เช่นเดียว กับ ฟ้องเดิม กรณี ต้อง ถือว่าข้อเท็จจริง ตาม คำพิพากษา ใน ฟ้องเดิม ซึ่ง ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง นั้น มีผล ผูกพัน จำเลย ใน คดี ฟ้องแย้ง นี้ ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก จำเลย ไม่มี สิทธิฎีกา ข้อเท็จจริง ตาม ฟ้องแย้ง ใน เรื่อง เดียว กับ ฟ้องเดิม เป็นอย่างอื่น ได้ ข้อเท็จจริง ตาม ฟ้องแย้ง จึง ฟัง เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา จอง อาคาร ตาม เอกสาร หมาย จ. 3ข้อ 5 โจทก์ จึง มีสิทธิ บอกเลิก สัญญา ได้ ตาม ข้อ 7 และ โจทก์ ได้รับความเสียหาย โดย อาคาร ของ โจทก์ ที่ จำเลย อยู่อาศัย จำนวน 2 ห้องคิด เป็น ค่าเสียหาย เดือน ละ 8,000 บาท และ ค่าเช่า ค่าบำรุง ที่ ค้างนับแต่ เดือน สิงหาคม ถึง เดือน พฤศจิกายน 2532 เป็น เงิน 1,600 บาทเมื่อ จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา และ สัญญา จอง อาคาร เลิกกัน แล้ว จำเลยจึง ไม่มี สิทธิ บังคับ ให้ โจทก์ ไป จดทะเบียน การ เช่า ได้ ตาม ฟ้องแย้งฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องแย้ง ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share