คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้จำเลยที่2ให้การถึงเรื่อง อำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้จำเลยที่2ก็ไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์เพิ่งจะยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249แม้เรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลฎีกายังไม่เห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยจึงไม่วินิจฉัยให้ตามมาตรา142(5)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน 80-3883อุดรธานี ของ จำเลย ที่ 2 ไป ใน ทางการที่จ้าง หรือ ตาม คำสั่ง ที่ ได้รับมอบหมาย จาก จำเลย ที่ 2 ด้วย ความประมาท โดย ขับ รถ ด้วย ความ เร็ว สูงเกิน อัตรา ที่ กำหนด รถ เสีย หลัก กิน ทาง เข้า มา ใน ช่อง เดินรถ หมายเลขทะเบียน ก-4150 อุดรธานี ที่นา ง มาลาวรรณ ขับ ซึ่ง โจทก์ รับประกัน ภัย ใน ระยะ กระชั้นชิด และ กะทันหัน แล้ว พุ่ง เข้า เบียด ชน บริเวณ ข้าง รถด้านขวา ที่นา ง มาลาวรรณ ขับ อย่าง แรง ทำให้ รถยนต์ ที่นา ง มาลาวรรณ ขับ แฉลบ เสีย หลัก ลง ข้าง ถนน ด้านซ้าย และ ได้รับ ความเสียหาย โจทก์ จัดการซ่อม รถยนต์ หมายเลข ทะเบียน ก-4150 อุดรธานี ให้ แก่ ผู้เอาประกันภัยจน อยู่ ใน สภาพ เดิม โจทก์ จึง เข้า รับช่วงสิทธิ ของ ผู้เอาประกันภัยขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน ให้ โจทก์ 89,858 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 83,833 บาท นับแต่วัน ถัด จาก วันฟ้อง
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ใช่ นิติบุคคล และ ไม่มีวัตถุประสงค์ ใน การ รับประกัน ภัย จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 1มิใช่ ลูกจ้าง หรือ ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 2 เหตุ คดี นี้ เกิด เพราะ ความประมาท เลินเล่อ ของ นาง มาลาวรรณ ที่ ขับ รถ ด้วย ความ เร็ว สูง เกิน อัตรา ที่ กฎหมาย กำหนด หลัง เกิดเหตุ แล้ว นาง มาลาวรรณ ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กับ จำเลย ที่ 2 โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ รับช่วงสิทธิ ของนาง มาลาวรรณ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย ที่ 2 การกระทำ ของ นาง มาลาวรรณ เป็น การกระทำ ผิด กรมธรรม์ประกันภัย กับ โจทก์ แต่ โจทก์ ไม่ ปฏิเสธ ความรับผิด กลับ ยอม ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ นาง มาลาวรรณ โจทก์ จึง ไม่ได้ รับช่วงสิทธิ ใน อัน ที่ จะ ฟ้องร้อง จำเลย ที่ 2 ได้ และรถยนต์ หมายเลข ทะเบียน ก-4150 อุดรธานี เสียหาย เพียง เล็กน้อยขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน ให้ โจทก์ 83,833 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 19 มิถุนายน 2530เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ยก ฟ้องโจทก์ เฉพาะ ส่วน ที่ เกี่ยวกับจำเลย ที่ 2
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วมกันหรือ แทน กัน กับ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 83,833 บาท แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ที่ 2แต่เพียง ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ที่ 2 หรือไม่ ปัญหา นี้ จำเลย ที่ 2ฎีกา ว่า นอกจาก จำเลย ที่ 2 จะ ให้การ ต่อสู้ ว่า โจทก์ ไม่ใช่ นิติบุคคลตาม กฎหมาย แล้ว จำเลย ที่ 2 ยัง ต่อสู้ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ รับช่วงสิทธิหรือ เข้า สวม สิทธิ ของ นาง มาลาวรรณ แก้ววงศ์ ผู้เอาประกันภัย ใน อัน ที่ จะ ฟ้อง จำเลย ที่ 2 เป็น คดี นี้ เนื่องจาก นาง มาลาวรรณ ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กับ จำเลย ที่ 2 ไว้ แล้ว แต่ ศาลล่างทั้ง สอง มิได้ วินิจฉัย อำนาจฟ้อง ของ โจทก์ ใน ประเด็น นี้ และ ปัญหาเรื่อง อำนาจฟ้อง เป็น ปัญหา เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนพิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า แม้ จำเลย ที่ 2 จะ ให้การ ถึง เรื่อง อำนาจฟ้องใน ประเด็น การ รับช่วงสิทธิ ไว้ ก็ ตาม แต่เมื่อ ศาลชั้นต้น มิได้ วินิจฉัยใน ประเด็น นี้ ให้ จำเลย ที่ 2 ก็ ไม่ได้ ยก ปัญหา ดังกล่าว ขึ้น อ้างใน ชั้นอุทธรณ์ เพิ่ง จะ ยกขึ้น มา ว่ากล่าว ใน ชั้นฎีกา จึง เป็น ข้อกฎหมายที่ ไม่ได้ ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้ ปัญหา เรื่อง อำนาจฟ้องจะ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนแต่ ศาลฎีกา ยัง ไม่เห็น สมควร จะ ยกขึ้น วินิจฉัย จึง ไม่ วินิจฉัย ให้ตาม นัย แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)”
พิพากษายก ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 คืน ค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกา ทั้งหมดให้ จำเลย ที่ 2 ให้ จำเลย ที่ 2 ใช้ ค่า ทนายความ ชั้นฎีกา 1,000 บาทแทน โจทก์

Share