คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2478

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สัญญาซื้อขายข้าวเป็นเงินเกินกว่าห้าร้อยบาท ถ้ามิได้วางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ในกรณีเช่นนี้การตั้งตัวแทนไปทำสัญญาก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ยอมให้บุคคลเชิดเป็นตัวแทนของตนในต่างประเทศตนต้องรับผิดในฐานตัวการเสมอกับผู้นั้นเป็นตัวแทนของตน เป็นหนี้กันเป็นเงินต่างประเทศ ศาลบังคับให้ใช้เป็นจำนวนเงินต่างประเทศนั้น ศาลยอมให้ดอกเบี้ยในระวางผิดสัญญาร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี โปรโตดลระวางประเทศว่าด้วยการมอบข้อพิพาทให้อนุญาตโตตุลาการชี้ขาดเมืองเยเนวา ลงวันที่ 19 กันยายน ค.ศ.1927 ศาลสยามยอมรับบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแต่ในข้อที่ว่าจำเลยเป็นคู่สัญญาเดิมหรือไม่นั้นศาลเป็นผู้วินิจฉัยเอง ไม่ใช่ถือตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ กฎหมายระวางประเทศแผนกคดีบุคคล การทำสัญญาระวางบุคคล 2 ประเทศ การใช้กฎหมายบังคับแบบแห่งสัญญาผลแห่งสัญญาและความสามารถของคู่สัญญาต้องใช้กฎหมายของประเทศที่ทำสัญญากันบังคับเมื่อจำเลยปฏิเสธว่ามิได้เป็นคู่สัญญาต้องใช้กฎหมายในประเทศที่จำเลยอยู่บังคับประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.34 ป้องกันในศาลสยามแต่พะยานอยู่ในประเทศเยอรมัน โจทก์ส่งเอกสารคำพะยานซึ่งสาบาลตัวรับรองว่าเป็นสัตยจริงต่อม้าโนตารีบับลิกซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายประเทศนั้น+มีกงสุลสยามลงชื่อรับรองลายมือผู้เขียนด้วยนั้น ศาล+ยอมรับฟังเป็นพะยานได้

ย่อยาว

คดีนี้โจทก์อ้างว่าจำเลยทำสัญญาลงวันที่ ๒๒ กันยายน ค.ศ.๑๙๓๑ ขายข้าวให้โจทก์โดยทาง ม.ซึ่งเป็นตัวแทนแล้วผิดสัญญาได้มอบข้อพิพาทให้อนญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอนพิจารณาตามข้อสัญญา อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยใช้เงินแล้วจำเลยไม่ใช้ จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับ ฝ่ายจำเลยปฏิเสธสัญญาตลอดมาว่าไม่เคยเป็นคู่สัญญากับโจทก์เลย
โจทก์ได้ส่งเอกสารเป็นพะยานกับโจทก์ยื่นเอกสารถ้อยคำของ อ.ซึ่งสาบาลตัวแล้วให้ถ้อยคำไว้ที่กรุงฮัมเบอร์กเอกสารนี้ทำถูกต้องตามระเบียบคือ ผู้เขียนสาบาลตนรับรองว่าข้อความเป็นสัตย์จริงต่อหน้าโนตารีบับลิกผู้มีอำนาจตามกฎหมายแห่งกรุงฮัมเบอร์ก และกงสุลสยามลงชื่อรับรองลายมือผู้เขียนด้วยเอกสารนี้ได้ความว่า ม.เสนอขายข้าวแทนจำเลยต่อห้าง ย.ซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์แล้ว ม.โทรเลขถึงจำเลยในวันรุ่งขึ้นว่าโจทก์เสนอรับแล้ว วันเดียวนี้เองจำเลยโทรเลขถึงว่าไม่สามารถตกลงด้วยในการส่งข้าว กับได้ความอีกว่า ม.เคยเชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยเสมอ และมีผู้ถือว่าเป็นตัวแทนเช่นนั้นตลอดมา ทั้งในปีเดียวกันสัญญารายพิพาทนี้โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาขายข้าวแก่กัน ๒ คราวโดยทาง ม.
ศาลล่างทั้ง ๒ พิพากษายกฟ้องโดยอ้างว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการใช้บังคับแก่จำเลยไม่ได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาที่ว่าจำเลยจะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาลงวันที่ ๒๒ กันยายน ค.ศ.๑๙๓๑ หรือไม่ อนุญาโตตุลาการได้ขี้ขาดไว้ แต่ศาลไทยไม่ต้องถือตาม เพราะอนุญาโตตุลาการเป็นแต่จะต้องดำเนินตามสัญญา-เดิม ไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่าผู้ถูกอ้างเป็นคู่สัญญาได้ให้อำนาจแก่ตัวแทนหรือไม่
ข้อวินิจฉัยต่อไปคือจำเลยอยู่ในสยามสัญญาทำในเยอรมัน การมอบอำนาจให้อนุญาโตตุลาการไปทำกันในอังกฤษ เช่นนี้ต้องใช้กฎหมายไทยบังคับ ตามหลักกฎหมายระวางประเทศแผนกคดีบุคคลรับรู้กันทั่วไปว่า แบบสัญญาผลแห่งสัญญาแลความสามารถของคู่สัญญาจะต้องบังคับตามกฎหมายของประเทศที่ทำสัญญากัน (LONLOCI COMTRSCTUS) แต่ในคดีนี้จำเลยต่อสู้ในเบื้องตนว่ามิได้เป็นคู่สัญญาด้วย ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่จะยุตติลงได้ด้วยใช้กฎหมายไทยบังคับ
แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฉะนั้นจะอ้างว่าสัญญาตัวแทนมีอยู่ระวาง ม.กับจำเลยไม่ได้ แต่ได้ความตามเอกสารถ้อยคำของ อ.ว่า ม.เคยเชิดเป็นตัวแทนของจำเลยเสมอมา จำเลยก็ไม่เคยปฏิเสธ จำเลยจึงต้องรับผิดตามประมวลแพ่ง ฯ มาตรา ๘๒๑
จำเลยก็มิได้คัดค้านหลักฐานโจทก์ เป็นแต่ปฏิเสธว่ามิได้ – เป็นคู่สัญญา เป็นหน้าที่จำเลยจะต้องนำสืบหักล้าง+หลักฐานที่กล่าวแล้วของโจทก์แต่จำเลยมิได้นำพะยานมาสืบเสียเลย
จึงพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ ๑๗๑๔ ปอนด์ ๕ ชิลลิง กับดอกเบี้ยร้อยละ ๗ ครึ่งต่อปี

Share