แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง4ฉบับข้อ6กำหนดไว้ว่าจำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ18ต่อปีในจำนวนเงินที่คำนวณแล้วว่าต้องชำระแก่โจทก์โดยเริ่มนับจากวันทำสัญญานี้จนถึงวันที่โจทก์ได้รับเงินครบถ้วนจากจำเลยที่1ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้ระบุเวลาให้จำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยและจะอนุมานจากพฤติการณ์ก็ไม่ได้โจทก์ย่อมจะเรียกให้จำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยได้โดยพลันนับแต่วันทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203วรรคหนึ่งอายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาทรัสต์รีซีทเช่นกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม)อายุความดอกเบี้ยค้างส่งเริ่มนับจากวันถัดจากวันดังกล่าวไปจนกว่าจะครบ5ปีการที่จำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยสำหรับสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง4ฉบับบางส่วนทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172(เดิม)โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด5ปีจึงไม่ขาดอายุความเรียกร้องดอกเบี้ย จำเลยที่2ผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้นย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา692ซึ่งเป็นข้อยกเว้นมาตรา295จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 จำเลยที่3ผู้จำนองแม้หนังสือต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่าให้รับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมด้วยเมื่อจำเลยที่1รับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงย่อมไม่มีผลถึงจำเลยที่3เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295วรรคสองจำเลยที่3ผู้จำนองจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังไป5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา189(เดิม)และมาตรา745 จำเลยทั้งสามฎีกาว่าในการผ่อนชำระหนี้จำเลยทั้งสามมิได้กำหนดชำระหนี้รายใดไว้โดยเฉพาะโจทก์ชอบที่จะเอาชำระหนี้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยก่อนแต่โจทก์เลือกการชำระหนี้เอาเองตามใจชอบจึงไม่ผูกพันจำเลยทั้งสามนั้นประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสามไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญา ทรัสต์รีซีท รับรอง ว่าเป็น หนี้ โจทก์ ใน ค่าสินค้า ค่าธรรมเนียม ค่าอากรแสตมป์ ค่าใช้จ่ายและ ดอกเบี้ย รวม 9 สัญญา จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ค้ำประกัน ยอมรับ ผิด ใน ฐานลูกหนี้ ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สามร่วมกัน ชำระ เงิน 7,793,570.18 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยร้อยละ 17 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 4,002,121.01 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ หาก จำเลย ทั้ง สาม ไม่ยอม ชำระ ให้ ยึดทรัพย์จำนอง ออก ขายทอดตลาด ชำระหนี้ ให้ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า สัญญา ทรัสต์รีซีท ทั้ง 9 ฉบับ กำหนดวัน ชำระหนี้ แน่นอน ไว้ ใน พ.ศ. 2524 โจทก์ ไม่มี สิทธิ นำ ดอกเบี้ย ระหว่างผิดนัด มา ทบต้น ได้ ดอกเบี้ย ค้าง ส่ง ที่ โจทก์ เรียก จาก จำเลย ที่ 1 จากวัน ผิดนัด จน ถึง วันฟ้อง เกิน ห้า ปี จึง ขาดอายุความ จำเลย ที่ 1จะ ต้อง รับผิด ดอกเบี้ย เพียง ห้า ปี และ ขอ ปฏิเสธ ว่า จำนวนเงิน ที่ โจทก์ฟ้อง ไม่ถูกต้อง จำเลย ที่ 1 ยัง ไม่ผิด นัด โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ได้ จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน มี โฉนด เป็น ประกัน การ เบิกเงินเกินบัญชีของ จำเลย ที่ 1 โจทก์ จะ ต้อง บังคับ เอา จาก ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 1 ก่อนโจทก์ จะ นำ ดอกเบี้ย มา ทบต้น ตาม ประเพณี ของ ธนาคาร ไม่ได้ เพราะบัญชีเดินสะพัด ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ได้ ระงับ ไป เพราะ การ ผิดนัดของ ลูกหนี้ และ ไม่มี การ สะพัด บัญชี ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 อีกผู้ค้ำประกัน ทั้ง สอง จึง ไม่ต้อง รับผิด ดอกเบี้ย ที่ โจทก์ เรียกร้องมา เกิน 5 ปี เพราะ ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ร่วมกัน ชำระ เงิน แก่ โจทก์ ตาม สัญญา ทรัสต์รีซีท ทั้ง 9 ฉบับ พร้อมดอกเบี้ย ใน ต้นเงิน ตาม สัญญา แต่ละ ฉบับ โดย ให้ คิด ดอกเบี้ย ก่อน ฟ้อง ตามที่ โจทก์ คิด ไว้ ใน เอกสาร หมาย จ. 21 แต่ ช่วง ใด ที่ คิด อัตรา ดอกเบี้ยเกินกว่า ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา ให้ คิด ตาม อัตรา ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา แต่ละฉบับ และ ให้ คิด ดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระ นับแต่ วันฟ้อง ย้อน ขึ้น ไปไม่เกิน 5 ปี ดอกเบี้ย ที่ ชำระ มา แล้ว ตาม เอกสาร หมาย จ. 21 แต่ละ รายการนั้น หาก ชำระ ก่อน ที่ โจทก์ ฟ้อง เป็น เวลา กว่า 5 ปี ให้ นำ ไป หัก ชำระดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระ ก่อน ห้า ปี ก่อน หาก เงิน เหลือ ให้ นำ มา หัก ชำระดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระ ใน 5 ปี ก่อน ฟ้อง กับ ให้ คิด ดอกเบี้ย ตั้งแต่วันฟ้อง อัตรา ร้อยละ 17 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ตาม สัญญา ทรัสต์รีซีทแต่ละ ฉบับ จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ จำเลย ที่ 3 รับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1ใน วงเงิน 4,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ก่อน ฟ้อง อัตรา ร้อยละ 18 ต่อ ปีเป็น เวลา 4 ปี และ ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง ลง มา อัตรา ร้อยละ 17 ต่อ ปีจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ หาก จำเลย ทั้ง สาม ไม่ชำระ ให้ ยึดทรัพย์ จำนองออก ขายทอดตลาด ชำระหนี้ โจทก์ หาก ได้ เงิน ไม่พอ ชำระหนี้ ให้ ยึดทรัพย์สินอื่น ของ จำเลย ทั้ง สาม ออก ขายทอดตลาด จน ครบ ที่ จำเลย ทั้ง สาม ต้อง รับผิดต่อ โจทก์
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 3 ร่วมรับผิด กับจำเลย ที่ 1 ใน วงเงิน 4,000,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ก่อน ฟ้องตาม อัตรา ใน รายละเอียด เกี่ยวกับ การ คำนวณ ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมและ ค่าอากรแสตมป์ เอกสาร หมาย จ. 21 แต่ ไม่เกิน กว่า อัตรา ดอกเบี้ยที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ ดอกเบี้ย ค้าง ส่งตาม สัญญา ทรัสต์รีซีท เอกสาร หมาย จ. 3 จ. 5 จ. 9 และ จ. 11 รวม 4 ฉบับใน อัตรา ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน รายละเอียด เกี่ยวกับ การ คำนวณ ดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม และ ค่าอากรแสตมป์ เอกสาร หมาย จ. 21 แต่ ไม่เกิน กว่าอัตรา ดอกเบี้ย ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา นับ ตั้งแต่ วัน ครบ กำหนด ชำระ ราคาสินค้า ตาม สัญญา แต่ละ ฉบับ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สาม มี ว่า สิทธิเรียกร้อง ดอกเบี้ย ตาม สัญญา ทรัสต์รีซีท เอกสาร หมายจ. 3 จ. 5 จ. 9 และ จ. 11 ขาดอายุความ หรือไม่ เห็นว่า ตาม สัญญาทรัสต์รีซีท ทั้ง 4 ฉบับ ข้อ 6 กำหนด ไว้ ว่า จำเลย ที่ 1 ยอม เสียดอกเบี้ย ให้ แก่ ธนาคาร โจทก์ ใน อัตรา ร้อยละ 18 ต่อ ปี ใน จำนวนเงิน ที่คำนวณ แล้ว ว่า ต้อง ชำระ แก่ โจทก์ โดย เริ่ม นับ จาก วัน ทำ สัญญา นี้จน ถึง วันที่ ธนาคาร ได้รับ เงิน ครบถ้วน จาก จำเลย ที่ 1 ข้อกำหนด ดังกล่าวไม่ได้ ระบุ เวลา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ ดอกเบี้ย และ จะ อนุมาน จาก พฤติการณ์ก็ ไม่ได้ โจทก์ ย่อม จะ เรียก ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ ดอกเบี้ย ได้ โดย พลันนับแต่ วัน ทำ สัญญา ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคแรกอายุความ จึง เริ่ม นับ ตั้งแต่ วัน ทำ สัญญา ทรัสต์รีซีท เช่นกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม สัญญา ทรัสต์รีซีท ตามเอกสาร หมาย จ. 3 จ. 5 จ. 9 และ จ. 11 ทำ เมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2524,25 มีนาคม 2524, 22 เมษายน 2524 และ วันที่ 23 เมษายน 2524ตามลำดับ อายุความ ดอกเบี้ย ค้าง ส่ง จึง เริ่ม นับ จาก วัน ถัด จาก วันดังกล่าว และ จะ ครบ 5 ปี ใน ปี พ.ศ. 2529 แต่ ใน ปี พ.ศ. 2526, 2527,2528, 2529 และ 2531 จำเลย ที่ 1 ได้ ชำระ ดอกเบี้ย สำหรับ สัญญาทรัสต์รีซีท ทั้ง 4 ฉบับ ปรากฏ ตาม รายละเอียด เกี่ยวกับ การ คำนวณดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าอากรแสตมป์ เอกสาร หมาย จ. 21 (รวม 9 แผ่น )การ ที่ จำเลย ที่ 1 ชำระ ดอกเบี้ย ให้ โจทก์ บางส่วน ทำให้ อายุความสะดุด หยุด ลง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิมโจทก์ ฟ้องคดี นี้ เมื่อ พ.ศ. 2531 ไม่ขาดอายุความ เรียกร้อง ดอกเบี้ยจำเลย ที่ 2 ผู้ค้ำประกัน แม้ จะ มี ข้อ สัญญา ระบุ ว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับ ผิด ใน ฐานะ เป็น ลูกหนี้ ร่วม กับ ลูกหนี้ ด้วย ตาม เอกสาร หมาย จ. 4จ. 6 จ. 10 และ จ. 12 ก็ ตาม แต่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 692บัญญัติ ว่า อายุความ สะดุด หยุด ลง เป็น โทษ แก่ ลูกหนี้ นั้น ย่อม เป็น โทษแก่ ผู้ค้ำประกัน ด้วย ซึ่ง บทบัญญัติ ดังกล่าว เป็น ข้อยกเว้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 295 จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วมรับผิดกับ จำเลย ที่ 1 ส่วน จำเลย ที่ 3 ผู้จำนอง ซึ่ง หนังสือ สัญญา ต่อ ท้ายสัญญาจำนอง เอกสาร หมาย จ. 22 แผ่น ที่ 2 ข้อ 3 ระบุ ว่า ให้ รับผิดใน ฐานะ เป็น ลูกหนี้ ร่วม ด้วย เมื่อ จำเลย ที่ 1 รับสภาพหนี้ ทำให้ อายุความสะดุด หยุด ลง ย่อม ไม่มี ผล ถึง จำเลย ที่ 3 เพราะ เป็น เรื่อง เฉพาะตัว ของจำเลย ที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 295 วรรคสองจำเลย ที่ 3 ผู้จำนอง จึง ต้อง รับผิด ใน ดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระ ย้อนหลัง ไป5 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 เดิม , และ มาตรา 745ส่วน ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ว่า ใน การ ผ่อนชำระ หนี้ จำเลย ทั้ง สาม มิได้กำหนด ชำระหนี้ ราย ใด ไว้ โดยเฉพาะ โจทก์ ชอบ ที่ จะ เอา ชำระหนี้ค่าธรรมเนียม และ ดอกเบี้ย ก่อน แต่ โจทก์ เลือก การ ชำระหนี้ เอา เองตาม ใจ ชอบ จึง ไม่ผูกพัน จำเลย ทั้ง สาม นั้น เห็นว่า ประเด็น ข้อ นี้ จำเลยทั้ง สาม ไม่ได้ ยกขึ้น ว่ากล่าว ใน ศาลชั้นต้น และ ไม่เป็น ปัญหา เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สาม ฟังขึ้น บางส่วน
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 3 ร่วมรับผิด ใน ดอกเบี้ยที่ ค้างชำระ ย้อนหลัง ไป 5 ปี นับแต่ วันฟ้อง ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกันใช้ ค่า ทนายความ ชั้นฎีกา 5,000 บาท แทน โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์