แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยมิได้บรรยายว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายทั้งโจทก์มิได้แนบสำเนาสัญญากู้ยืมมาท้ายฟ้องคำฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ สั่งจ่าย เช็ค ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด สาขา ถนน รัชดาภิเษก 2 ลงวันที่ 1 เมษายน 2537 จำนวนเงิน 200,000 บาท เพื่อ ชำระหนี้ เงินกู้ ยืม แก่ โจทก์ ครั้น เช็ค ถึง กำหนดโจทก์ นำ ไป เรียกเก็บเงิน ปรากฏว่า ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงินเมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2537 โดย ให้ เหตุผล ว่า บัญชี ปิด แล้ว การกระทำของ จำเลย เป็น การ ออก เช็ค โดย เจตนา ที่ จะ ไม่ให้ มี การ ใช้ เงิน ตามเช็คหรือ ออก เช็ค ใน ขณะที่ ออก เช็ค นั้น ไม่มี เงิน อยู่ ใน บัญชี อัน จะ พึง ให้ ใช้เงินได้ หรือ ออก เช็ค ให้ ใช้ เงิน มี จำนวน สูง กว่า จำนวนเงิน ที่ มี อยู่ใน บัญชี อัน จะ พึง ให้ ใช้ เงินได้ ใน ขณะที่ ออก เช็ค นั้น หรือ ถอนเงินทั้งหมด หรือ แต่ บางส่วน ออกจาก บัญชี อัน จะ พึง ให้ ใช้ เงิน ตามเช็คจน จำนวนเงิน เหลือ ไม่ เพียงพอ ที่ จะ ใช้ เงิน ตามเช็ค นั้น ได้ หรือ ห้ามธนาคาร มิให้ ใช้ เงิน ตามเช็ค นั้น โดย เจตนา ทุจริต ขอให้ ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มีมูล ให้ ประทับ ฟ้อง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ลงโทษจำคุก 2 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ บรรยายฟ้อง แต่เพียง ว่า จำเลยออก เช็ค เพื่อ ชำระหนี้ เงินกู้ ยืม โดย มิได้ บรรยาย ว่า หนี้ ดังกล่าวเป็น หนี้ ที่ มี อยู่ จริง และ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย ทั้ง โจทก์ มิได้ แนบ สำเนาสัญญากู้ยืม มา ท้ายฟ้อง คำฟ้อง ของ โจทก์ จึง ขาด ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบ ของ ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจาก การใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เป็น ฟ้อง ที่ ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
พิพากษายืน