แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่จำเลยที่1ยื่นคำแถลงคัดค้านว่า ส.เป็นผู้ประมูลทรัพย์ได้ครั้งก่อนแล้วไม่วางเงินต่อศาลภายในกำหนดจึงไม่มีเจตนาซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและ ส. ต้องการนำทรัพย์ที่ประมูลได้ขายต่อให้แก่ผู้อื่นกับทั้งราคาที่ประมูลสูงสุดต่ำกว่าความเป็นจริงมากนั้นเป็นเพียง คำแถลงประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาอนุญาตให้ขายทรัพย์แก่ ส. หรือไม่เท่านั้นหาใช่เป็นคำร้องคัดค้านที่กล่าวอ้างว่าการบังคับคดีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการไปฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่อย่างใดไม่ดังนั้นการที่จำเลยที่1ยื่นอุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีนับหนึ่งถึงสามแล้วเคาะไม้เลยโดยมิได้ขออนุญาตศาลชั้นต้นก่อนเคาะไม้การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและราคาทรัพย์ที่ขายต่ำกว่าราคาเป็นจริงโดยมิได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนภายใน8วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองจำเลยที่1จะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง จาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ชำระ หนี้ ตาม คำพิพากษาโจทก์ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 978 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ออก ขายทอดตลาด นาย สุรศักดิ์ โสตะวงศ์ เป็น ผู้ ให้ ราคา สูงสุด 5,700,000 บาท จำเลย ที่ 1 ยื่น คำแถลง คัดค้าน ว่านาย สุรศักดิ์ เป็น ผู้ประมูล ทรัพย์ ได้ ใน ครั้งที่ แล้ว แต่ ไม่ วางเงิน ต่อ ศาล ภายใน กำหนด จึง ไม่มี เจตนา ซื้อ ทรัพย์ จาก การ ขายทอดตลาดและ นาย สุรศักดิ์ ต้องการ นำ ทรัพย์ ที่ ประมูล ได้ ขาย ต่อ ให้ แก่ ผู้อื่น กับ ทั้ง ราคา ที่ ประมูล สูงสุด ต่ำกว่า ความ เป็น จริง มากเจ้าพนักงาน บังคับคดี รายงาน ต่อ ศาล เพื่อ พิจารณา สั่ง ขาย แก่ ผู้ สู้ราคา สูงสุด
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ขาย ใน วันที่ 4 สิงหาคม 2537และ สั่ง ใน คำแถลง คัดค้าน ว่า สั่ง ใน รายงาน เจ้าหน้าที่ แล้ว
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ ว่าเจ้าพนักงาน บังคับคดี นับ หนึ่ง ถึง สาม แล้ว เคาะ ไม้ เลย โดย มิได้ขออนุญาต ศาลชั้นต้น ก่อน เคาะ ไม้ การ ขายทอดตลาด จึง ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย นั้น จำเลย ที่ 1 มิได้ ยื่น คำร้องคัดค้าน การ ดำเนินการ บังคับคดีของ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ต่อ ศาลชั้นต้น ภายใน 8 วัน จำเลย ที่ 1ไม่มี สิทธิ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ไม่รับ วินิจฉัย ส่วน ที่จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์ คำสั่งศาล ชั้นต้น ว่า ราคา ทรัพย์ ที่ ขาย ได้ ต่ำกว่าราคา เป็น จริง นั้น เห็นว่า เป็น ราคา ใกล้เคียง กับ ที่ จำเลย เคย แถลงคัดค้าน ไว้ เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม 2537 ศาลชั้นต้น สั่ง อนุญาต ชอบแล้ว พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า ราคา ทรัพย์ ที่ ขายต่ำ ไป นั้น เป็น กรณี จำต้อง บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ซึ่ง บัญญัติ ให้ จำเลย ที่ 1 ต้อง ยื่น คำขอ โดยทำ เป็น คำร้อง ต่อ ศาล ก่อน การ บังคับคดี ได้ เสร็จ ลง แต่ ต้อง ไม่ ช้า กว่า8 วัน นับแต่ ทราบ การ ฝ่าฝืน นั้น การ ที่ จำเลย ที่ 1 ยื่นคำแถลง คัดค้าน ฉบับ ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2537 ก็ เป็น แต่เพียง คำแถลงประกอบการ ใช้ ดุลพินิจ ของ ศาล ที่ จะ พิจารณา อนุญาต ให้ ขาย ทรัพย์ แก่นาย สุรศักดิ์ ผู้ ให้ ราคา สูงสุด หรือไม่ เท่านั้น หาใช่ เป็น คำร้อง คัดค้าน ที่ กล่าวอ้าง ว่าการ บังคับคดี ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี นี้ ได้ดำเนินการ ไป ฝ่าฝืน ต่อ บทบัญญัติ แห่ง ลักษณะ ว่าด้วย การ บังคับ ตามคำพิพากษา หรือ คำสั่ง แต่อย่างใด ไม่ ดังนั้น การ ที่ จำเลย ที่ 1ยื่น อุทธรณ์ โดย มิได้ ยื่น คำร้องคัดค้าน ต่อ ศาลชั้นต้น ตาม มาตรา 296วรรคสอง จำเลย ที่ 1 จะ ใช้ สิทธิ อุทธรณ์ ฎีกา หาได้ไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 และ ยก ฎีกา จำเลย ที่ 1คืน ค่าขึ้นศาล ชั้นอุทธรณ์ และ ชั้นฎีกา ให้ แก่ จำเลย ที่ 1