คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2479

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ในคดีความผิดส่วนตัวฐานฉ้อโกง ถ้าโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 3 เดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดแลผู้กระทำผิด มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ แลการที่ฟ้องคดีแพ่งหาว่าจำเลยสมคบกันโกงโอนทรัพย์โดยสมยอมนั้น หาทำให้เป็นเหตุอายุความสดุดหยุดลงไม่ ทั้งไม่เรียกว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย วิธีพิจารณาอาญา พระธรรมนูญศาลยุตติธรรม +.127 ม.14-15 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความ+โทษฯ ม.6 คดีที่ฟ้องต่อศาลโปริสภาแลศาลโปริสภากระทำการไต่สวนพะยานโจทก์แต่ฝ่ายเดียวโดยวินิจฉียมูลคดีพิเคราะห์ถึงถ้อยคำพะยานว่าจะมีพิรุธตามโจทก์หาหรือไม่ แล้วมีคำสั่งให้ยกข้อหาเสียนั้น หาโปริสภากระทำการพิจารณาคดีไม่ คดีเช่นนี้ตามพระธรรมนูญ ม.14-15 ผู้พิพากษาแต่นายเดียวก็มีอำนาจสั่งได้

ย่อยาว

คดีนี้โจทก์ฟ้องต่อศาลโปริสภา (ปรากฎในสำนวนเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๗) ขอให้ไต่สวนเพื่อขออนุญาตฟ้องจำเลยยังศาลสูงตาม ม.๑๕๕-๑๕๗-๑๕๘-๒๒๒-๒๒๗-๓๐๘-๓๐๙ โดยกล่าวว่า ส. ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ ๑ กับจำเลยที่ ๑ วายชนม์ลงได้ทำพินัยกรรม์ยกทรัพย์แลที่ดินให้โจทก์แต่จำเลยที่ ๑-๒ เป็นผู้รักษาทรัพย์ตามพินัยกรรม์ไว้ จำเลยทั้ง ๕ ได้สมคบกันทำสัญญาโอนขายที่ดินให้แก่กัน โดยจำเลยที่ ๑ เป็นผู้โอนขาย จำเลยที่ ๒ เป็นผู้ซื้อโดยสมยอมกัน แล้วจำเลยได้สมคบกันทำหนังสือปลอมขึ้นว่าจำเลยที่ ๑ เป็นหนี้จำเลยที่ ๓ แลฟ้องเท็จต่อศาลแพ่งเรียกเงินจากจำเลยที่ ๑ ๆ รับว่าเป็นหนี้จริง ศาลแพ่งจึงตัดสินให้จำเลยที่ ๑ ใช้เงินต่อมาจำเลยที่ ๓ ได้เบิกความเท็จต่อศาลแพ่ง ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ กับกองมฤดกของ ส.ให้เป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยสมคบกันทำปลอมขึ้นศาลแพ่งจึงตัดสินให้จำเลยที่ ๑ กับกองมฤดกของ ส. ล้มละลาย
ศาลโปริสภาไต่สวนแล้วเห็นว่า ข้อหาว่าจำเลยสมคบกันโอนขายที่ดินเป็นความผิดส่วนตัว โจทก์รู้เรื่องแลรู้ตัวผู้กระทำผิดเกินกว่า ๓ เดือนแล้ว โดยโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งเรียกโฉนดที่รายพิพาทคืนจากจำเลยเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคมพ.ศ.๒๔๗๖ แลว่าการฟ้องร้องคดีแพ่งไม่เรียกว่าเป็นการร้องทุกข์ไม่ทำให้อายุความสดุดหยุดลง จึงงดการไต่สวนข้อหาฐานนี้ ส่วนข้อหาฐานอื่น ๆ พะยานโจทก์แตกต่างกันไม่น่าเชื่อ จึงสั่งว่าข้อหาฐานฉ้อโกงขาดอายุความตาม ม.๘๐ ส่วนข้อหาฐานอื่นไม่มีมูล ให้ยกฟ้องโจทก์
ศาลอุทธรณ์ตัดสินยืน
โจทก์ฎีกาว่า ๑. ฟ้องฐานฉ้อโกงไม่ขาดอายุความ การฟ้องคดีแพ่งทำให้อายุความสดุดหยุดลง แลต้องนับจากวันที่โจทก์ทราบคือวันที่คดีแพ่งถูกระงับแล้ว ๒. ศาลโปริสภาซึ่งเป็นศาลไต่สวนแต่ทำการพิจารณา ๓. ผู้พิพากษานายเดียวจะพิจารณาความไม่ได้
ศาลฎีกาเห็นว่าตามฎีกาข้อ ๑ หาเป็นเหตุให้อายุความสดุดหยุดลงไม่ โจทก์มิได้อ้างบทกฎหมายสนับสนุนแต่อย่างใด ที่โจทก์อ้างว่าควรนับอายุความจากวันที่คดีแพ่งระงับนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ทราบความผิดแลรู้ตัวผู้กระทำผิดเมื่อใด ศาลล่างฟังว่าโจทก์ทราบเมื่อใด ศาลฎีกาจำต้องรับฟังจึงไม่เป็นข้อที่โจทก์จะฎีกาได้ ตามฎีกาข้อ ๒.เห็นว่าศาลโปริสภาได้สืบพะยานโจทก์แต่ฝ่ายเดียวแล้วทำคำสั่งหาได้ทำคำพิพากษาไม่ส่วนการวินิจฉัยมูลคดี ศาลโปริสภาก็ย่อมต้องพิเคราะห์ถ้อยคำพะยานให้ถ่องแท้ว่าจำเลยจะมีพิรุธหรือไม่ตามมาตรา ๖ แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความมีโทษ ร.ศ.๑๑+ ส่วนฎีกาข้อ ๓ นั้น เห็นว่าตามพระธรรมนูญศาลยุตติธรรม ร.ศ.๑๒๗ ม.๑๔-๑๕ ผู้พิพากษานายเดียวก็สั่งได้ จึงพิพากษายืนตามศาลล่าง

Share