แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ซึ่งมีอาชีพรับซื้อขวดแล้วจัดส่งไปขายให้แก่จำเลยที่6ที่7ซึ่งเป็นผู้ผลิตสุรายอมให้จำเลยที่4ซึ่งเป็นลูกจ้างแผนกพัสดุของจำเลยที่7และเป็นตัวแทนของจำเลยที่6ที่7อ้างว่าจำเลยที่5จะส่งขวดให้จำเลยที่6ที่7ในนามของร้านโจทก์โดยที่โจทก์ไม่รู้จักกับจำเลยที่5มาก่อนเมื่อจำเลยที่4กรอกจำนวนขวดลงในใบส่งของชั่วคราวและใบเสร็จรับเงินด้วยตนเองทั้งๆที่จำเลยที่5มิได้ส่งขวดเลยและเมื่อจำเลยที่4แจ้งให้โจทก์โอนเงินเข้าบัญชีที่จำเลยที่4ได้เปิดไว้ที่ธนาคารในนามของจำเลยที่5และต่อมาจำเลยที่4ได้ถอนเงินไปโดยทุจริตโจทก์จึงมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายและโจทก์มิได้หลงเชื่อจำเลยที่4โดยสุจริตการที่จำเลยที่4ติดต่อให้โจทก์ส่งขวดเป็นการกระทำนอกทางการที่จ้างและนอกเหนือหน้าที่เกินขอบอำนาจในฐานะตัวแทนที่ได้รับมอบหมายโดยแอบอ้างชื่อจำเลยที่5เป็นลูกค้าให้โจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริตจำเลยที่6ที่7จึงไม่ต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่4
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง เจ็ด ร่วมกัน ชำระ เงิน ค่าเสียหายใน มูลละเมิด 989,744.90 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 931,552.90 บาท นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 4 ที่ 6 และ ที่ 7 ร่วมกัน ชำระเงิน 898,486 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วันที่ 18 ธันวาคม 2530 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จคำขอ อื่น ให้ยก ให้ยก ฟ้องคดี สำหรับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 5
จำเลย ที่ 6 ที่ 7 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับจำเลย ที่ 6 ที่ 7 ด้วย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ร้าน วงษ์พาณิชย์ อยู่ ที่ จังหวัด พิษณุโลก มี อาชีพ ค้า ของเก่า โดย รับ ซื้อ ขวด แล้ว จัด ส่ง ไป ขายให้ แก่ จำเลย ที่ 6 ที่ 7 ซึ่ง เป็น ผู้ผลิต สุรา ที่ โรงงานสุรา กรมสรรพสามิต จังหวัด อุตรดิตถ์ เจ้าของ ร้านค้า ของเก่า บางรายต้องการ เงิน เร็ว ได้ จัด ส่ง ขวด ไป ขาย ให้ จำเลย ที่ 6 ที่ 7 ใน นาม ของร้าน โจทก์ แล้ว โจทก์ จะ โอน เงิน ทาง ธนาคาร ให้ แก่ เจ้าของ ร้านค้าของเก่า เหล่านั้น ใน ระหว่าง เกิด มูลคดี นี้ ตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน2530 ถึง เดือน ธันวาคม 2530 โจทก์ เชื่อ จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ลูกจ้างแผนก พัสดุ ของ จำเลย ที่ 7 และ เป็น ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 6 ที่ 7 ว่ามี จำเลย ที่ 5 ได้ จัด ส่ง ขวด ให้ จำเลย ที่ 6 ที่ 7 ใน นาม ของ ร้าน โจทก์ตาม ใบ ส่ง ของ ชั่วคราว เอกสาร หมาย จ. 22 รวม 38 ฉบับ ซึ่ง คำนวณจำนวน ขวด และ เงิน ที่ โรงงาน ต้อง จ่าย ให้ โจทก์ ตาม รายงาน บัญชีเอกสาร หมาย จ. 23 ให้ โจทก์ โอน เงิน เข้าบัญชี ของ จำเลย ที่ 5ที่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา อุตรดิตถ์ ซึ่ง จำเลย ที่ 4 ได้ เปิด บัญชี เงินฝาก ไว้ ใน นาม ของ จำเลย ที่ 5 แต่ จำเลย ที่ 4 เป็น เจ้าของบัญชี เป็น ผู้ เก็บ สมุดเงินฝาก และ จำเลย ที่ 4 หรือ ที่ 5 สามารถ ถอนเงินได้ โดย ต้อง ใช้ สมุดเงินฝาก ด้วย ตาม คำขอ เปิด บัญชี เงินฝาก สะสมทรัพย์ และ สัญญา แนบ คำขอ เปิด บัญชี ร่วม เอกสาร หมาย ล. 1 และ ล. 4โจทก์ ได้ โอน เงิน เข้าบัญชี จำเลย ที่ 4 ตั้งแต่ วันที่ 11 พฤศจิกายน2530 ถึง วันที่ 23 ธันวาคม 2530 รวม 9 ครั้ง ตาม เอกสาร หมาย จ. 12ถึง จ. 20 เป็น เงิน 898,486 บาท ทั้ง ๆ ที่ โจทก์ ไม่เคย รู้ จัก จำเลยที่ 5 จำเลย ที่ 5 ไม่มี อาชีพ ค้า ของเก่า และ ไม่ได้ ส่ง ขวด ให้ จำเลย ที่ 6ที่ 7 ใน นาม ของ ร้าน โจทก์ แต่อย่างใด ใน ระหว่าง วันที่ 20 พฤศจิกายน2530 ถึง วันที่ 25 ธันวาคม 2530 จำเลย ที่ 4 แต่ ผู้เดียว ได้ ถอนเงินที่ โจทก์ ได้ โอน มา เข้าบัญชี ตาม ใบ ถอนเงิน เอกสาร หมาย จ. 21 และ ต่อมาจำเลย ที่ 4 ได้ ออกจาก งาน แล้ว หลบหนี ไป
ปัญหา วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ มี ว่า จำเลย ที่ 6 ที่ 7 จะ ต้อง รับผิด ร่วมกับ จำเลย ที่ 4 ต่อ โจทก์ ใน ผล ละเมิด ที่ จำเลย ที่ 4 ได้ เงิน ไป จากโจทก์ หรือไม่ กรณี จึง เห็น ได้ ชัด ว่าการ ที่ โจทก์ ยอม ให้ จำเลย ที่ 4อ้างว่า มี จำเลย ที่ 5 จะ ส่ง ขวด ให้ จำเลย ที่ 6 ที่ 7 ใน นาม ของ ร้าน โจทก์โดย ที่ โจทก์ ไม่รู้ จัก กับ จำเลย ที่ 5 มา ก่อน เมื่อ จำเลย ที่ 4 กรอกจำนวน ขวด ลง ใน ใบ ส่ง ของ ชั่วคราว และ ใบเสร็จรับเงิน แล้ว ด้วย ตนเองทั้ง ๆ ที่ จำเลย ที่ 5 มิได้ ส่ง ขวด ตาม จำนวน ที่ ระบุ ไว้ ใน ใบ ส่ง ของชั่วคราว เอกสาร หมาย จ. 22 เลย เมื่อ จำเลย ที่ 4 แจ้ง ให้ โจทก์โอน เงิน เข้าบัญชี ที่ จำเลย ที่ 4 ได้ เปิด ไว้ ที่ ธนาคาร ใน นาม ของจำเลย ที่ 5 และ ที่สุด จำเลย ที่ 4 ได้ ถอนเงิน ไป โดยสุจริต โจทก์จึง มี ส่วน ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ เอง และ โจทก์ มิได้ หลงเชื่อจำเลย ที่ 4 โดยสุจริต ดังนั้น การ ที่ จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ลูกจ้างและ ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 6 ที่ 7 ใน การ ติดต่อ ให้ โจทก์ ส่ง ขวด เป็นการกระทำ นอก ทางการที่จ้าง และ นอกเหนือ หน้าที่ เกิน ขอบ อำนาจใน ฐานะ ตัวแทน ที่ ได้รับ มอบหมาย โดย แอบ อ้าง ชื่อ จำเลย ที่ 5 เป็น ลูกค้าให้ โจทก์ เพื่อ แสวงหา ประโยชน์ ส่วนตัว โดยทุจริต จำเลย ที่ 6 ที่ 7 จึงไม่ต้อง รับผิด ใน การกระทำ ของ จำเลย ที่ 4”
พิพากษายืน