คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)แม้โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาจริงดังโจทก์กล่าวอ้างการได้มาของโจทก์ก็เป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้โจทก์ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่1โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสอง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ ปี 2517 โจทก์ เข้า หัก ร้างถางพงที่ดิน รกร้าง ว่างเปล่า เนื้อที่ ประมาณ 20 ไร่ และ ครอบครองทำสวน ปลูก พืช ผัก โดย ความสงบ และ เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ โดยไม่มี ผู้ใด อ้าง สิทธิ หรือ รบกวน สิทธิ ครอบครอง ของ โจทก์ โจทก์ จึง ได้สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ต่อมา ปี 2522 ทางราชการ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ใน ที่ดิน แปลง ดังกล่าว เป็น2 แปลง จำนวน 2 ฉบับ ให้ แก่ ผู้อื่น มา ก่อน ที่ โจทก์ จะ เข้า ครอบครองโดย หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ทั้ง สอง ฉบับ มี ชื่อ จำเลยที่ 1 รับมรดก ของ นาย แหยม แต่ โจทก์ ก็ ยัง คง ครอบครอง ตลอดมา จน ถึง ต้น ปี 2529 จึง ถือว่า โจทก์ ได้ แย่ง สิทธิ ครอบครอง จาก จำเลย ที่ 1ต่อมา จำเลย ที่ 1 ได้ โอน ขาย ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว ให้ จำเลย ที่ 2โดย จำเลย ที่ 2 รับโอน ไว้ โดย ไม่สุจริต และ ต่อมา วันที่ 9 ธันวาคม2529 จำเลย ที่ 2 เข้า ไป ปลูก บ้าน ลง ใน ที่ดินพิพาท อันเป็น การ แย่ง สิทธิครอบครอง ของ โจทก์ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้พิพากษา แสดง ว่า โจทก์ มีสิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท และ มีสิทธิใน ที่ดิน ดีกว่า จำเลย ทั้ง สอง และ ขอให้ เจ้าพนักงาน ที่ เกี่ยวข้องเปลี่ยน ชื่อ ทาง ทะเบียน ให้ เป็น ชื่อ โจทก์ ห้าม จำเลย ทั้ง สอง เกี่ยวข้องใน ที่ดิน อีก ต่อไป ให้ ขับไล่ จำเลย ที่ 2 ออกจาก ที่ดินพิพาท และ ให้ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม เดิม ที่ดินทั้ง สอง แปลง มี นาย ดีและนายสม เป็น ผู้ เข้า ทำประโยชน์ จน ถึง ปี 2510 ทางราชการ ได้ ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ให้ แก่บุคคล ทั้ง สอง ต่อมา นาย แหยม บิดา จำเลย ที่ 1 ซื้อ ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง นั้น จาก นาย ดีและนายสม โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน ทั้ง ได้ จดทะเบียน ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน โดย ถูกต้อง นาย แหยม ได้ เข้า ครอบครอง และ ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ตลอดมา จน ถึงแก่กรรมใน ปี 2516 หลังจาก นั้น จำเลย ที่ 1 และ ทายาท อื่น ๆ เข้า ไป ครอบครองดูแล ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ต่อมา จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกของ นาย แหยม ไป ขอรับ โอน ที่ดิน มรดก ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ทั้ง สอง แปลง ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ระหว่าง ที่ เจ้าพนักงานติด ประกาศ การ ขอรับ มรดก โจทก์ หรือ บุคคลอื่น มิได้ คัดค้าน ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2529 จำเลย ที่ 1 ขาย ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ (น.ส. 3) ทั้ง สอง แปลง ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 โดย จำเลย ที่ 2ซื้อ ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง โดยสุจริต เสีย ค่าตอบแทน และ จดทะเบียน รับโอนโดยชอบ ด้วย กฎหมาย โดย โจทก์ หรือ บุคคลอื่น มิได้ คัดค้าน เช่นเดียวกันโจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 ก. เอกสาร หมาย จ. 3 และ ให้ จำเลย ที่ 2 ออก ไป จากที่ดินพิพาท พร้อม ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำขอ ของ โจทก์ ที่ ให้จำเลย ที่ 2 ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า เมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม 2510 ทางราชการ ได้ ออก หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส. 3) ที่ดินพิพาท จำนวน 2 ฉบับ มี เนื้อที่ฉบับ ละ ประมาณ 10 ไร่ ระบุ ชื่อ นาย สมและนายดี เป็น ผู้ทำ ประโยชน์ คน ละ ฉบับ ตาม น.ส. 3 เอกสาร หมาย จ. 1, จ. 2 และ ใน วันเดียว กัน นั้นมี การ จดทะเบียน ขาย ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ให้ แก่ นาย แหยม บิดา จำเลย ที่ 1 นาย แหยม ถึงแก่กรรม เมื่อ ปี 2516 ต่อมา เมื่อ วันที่ 25มิถุนายน 2519 และ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2529 จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะผู้จัดการมรดก ของ นาย แหยม รับโอน ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง มา เป็น ของ ตน วันที่ 31 มีนาคม 2529 จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ตาม หนังสือ สัญญา ขาย ที่ดิน เอกสาร หมาย ล. 19และ ทางราชการ ได้ ออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ตามเอกสาร หมาย จ. 3 ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 แทน น.ส. 3 ฉบับ เดิม ต่อมา โจทก์ และนาย บุญปั๋น น้องชาย โจทก์ ถูก พนักงานอัยการ ฟ้อง กล่าวหา ว่า บุกรุก ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น ของ จำเลย ที่ 2 ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง ตาม สำเนาคำพิพากษา เอกสาร หมาย จ. 40
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง ว่า จำเลย ที่ 2ได้ สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินพิพาท หรือไม่ เห็นว่า ทรัพย์พิพาท ในคดี นี้ เป็น ที่ ทำไร่ ไม่มี หนังสือสำคัญ แสดง กรรมสิทธิ์ บุคคล จะ พึงมีสิทธิ เหนือ ที่ ไร่ นั้น ได้ อย่างมาก ก็ เพียงแต่ สิทธิ ครอบครอง แม้โจทก์ จะ ได้ สิทธิ ครอบครอง ใน ไร่ พิพาท นั้น มา จริง ดัง โจทก์ กล่าวอ้างการ ได้ มา ของ โจทก์ ก็ เป็น การ ได้ มา ซึ่ง ทรัพยสิทธิ อัน เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง ถ้า ยัง มิได้ จดทะเบียน ไซร้ โจทก์ ก็ จะ ยกขึ้นเป็น ข้อต่อสู้ บุคคลภายนอก ผู้ ได้ สิทธิ มา โดย เสีย ค่าตอบแทน และ โดยสุจริต และ ได้ จดทะเบียน โดยสุจริต หาได้ไม่ ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ บัญญัติ บังคับ ไว้ ตาม นัย คำพิพากษาฎีกา ที่ 326/2495 ระหว่าง นาง ขำ โจทก์ นาย บุญ กับพวก จำเลย
ปัญหา ต่อไป จึง มี ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ซื้อ สิทธิ ใน ที่ ไร่ พิพาทนั้น มา โดยสุจริต หรือไม่ โจทก์ อ้าง ใน ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 2 รับ ซื้อไว้ โดย ไม่สุจริต แต่ ตาม พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ไม่แสดง ให้ เห็น แม้แต่ ข้อ พิรุธ สงสัย ใน เรื่อง นี้ เลย แล้ว ศาลฎีกา วินิจฉัย ฯลฯ โดย สรุปฟัง ว่า รูปคดี บ่งชัด ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ซื้อ ที่พิพาท มาจาก จำเลย ที่ 1โดย ไม่ทราบ เลย ว่า โจทก์ ได้ เข้า ไป ทำกิน ใน ที่พิพาท มา ก่อน เป็น การ รับโอน โดย มีค่า ตอบแทน และ โดยสุจริต ทั้ง ได้ จดทะเบียน สิทธิ นั้น โดยสุจริตแล้ว โจทก์ จึง ยก การ ครอบครอง ขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

Share