คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนเมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์แม้จำเลยที่1มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินพอจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่1เมื่อจำเลยที่2ถูกบังคับยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้จำเลยที่2จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา8(5)การที่จำเลยที่1มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่2ล้มละลายตามมาตรา14ด้วย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สอง เด็ดขาดและ พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ล้มละลาย
จำเลย ทั้ง สอง ไม่ยื่น คำให้การ
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ที่ 2 เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา (ที่ ถูก เป็น คำสั่ง ) ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ตาม ที่ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย โดย โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 มิได้ ฎีกา โต้แย้งว่า จำเลย ที่ 2 เป็น หนี้ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น นับ ถึงวันฟ้อง คดี นี้ เป็น เงิน จำนวน 439,422.69 บาท จำเลย ที่ 2 เป็น พนักงานโรงงาน ยาสูบ เกษียณอายุ เมื่อ ปี 2531 ได้รับ เงินบำเหน็จ มา ประมาณ120,000 บาท ปัจจุบัน ยัง คง มี เหลือ อยู่ ประมาณ 30,000 บาท มี ปัญหาที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว และ มีเหตุ ที่ ไม่ควร ให้ จำเลย ที่ 2 ล้มละลาย หรือไม่นาย สุพจน์ เมฆะอำนวยชัย พยานโจทก์ เบิกความ ว่า จำเลย ที่ 2 ไม่มี ทรัพย์สิน อื่น ใด ที่ จะ ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ ได้ จำเลย ที่ 2 ก็ เบิกความว่า ปัจจุบัน ไม่ได้ ประกอบ อาชีพ อะไร คง มี รายได้ จาก ดอกเบี้ย เงินบำเหน็จ และ จำเลย ที่ 2 ได้ ตอบ ทนายโจทก์ ถาม ค้าน ว่า ปัจจุบันเงินบำเหน็จ คงเหลือ อยู่ ใน บัญชี ไม่ถึง 30,000 บาท ได้รับ ดอกเบี้ยจาก เงินฝาก ปี ละ 2,000 บาท นอกจาก เงินบำเหน็จ และ ดอกเบี้ย แล้วจำเลย ที่ 2 ไม่มี รายได้ อื่น ใด อีก และ จำเลย ที่ 2 มี รายจ่าย ประจำเดือน ละ 5,000 บาท เห็นว่า จำเลย ที่ 2 เป็น หนี้ โจทก์ เป็น จำนวนถึง 439,422.69 บาท เป็น หนี้ ที่ กำหนด จำนวน ได้ แน่นอน และ ไม่มีทรัพย์สิน อย่างหนึ่ง อย่างใด ที่ จะ พึง ยึด มา ชำระหนี้ ได้ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 เป็น ลูกหนี้ ร่วม ของ โจทก์ การ ที่ จะ พิจารณา ว่า ลูกหนี้ ร่วมคนใด มี หนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถ ชำระหนี้ ได้ หรือไม่ หรือ มีเหตุ อื่นที่ ไม่ควร ให้ ลูกหนี้ ล้มละลาย หรือไม่ เป็น เรื่อง เฉพาะตัว ของลูกหนี้ ร่วม แต่ละ คน ไม่เกี่ยวกับ ลูกหนี้ ร่วม คนอื่น ดังนั้น การ ที่จำเลย ที่ 1 มี ทรัพย์สิน มาก กว่า หนี้สิน พอ จะ ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ได้ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย ไว้ แล้ว นั้น ย่อม เป็น เรื่อง เฉพาะตัวของ จำเลย ที่ 1 เมื่อ พฤติการณ์ ของ จำเลย ที่ 2 ถูก บังคับคดี ยึดทรัพย์ออก ขายทอดตลาด และ ไม่มี ทรัพย์สิน อื่น ใด ที่ สามารถ ชำระหนี้ แก่ โจทก์ได้ จำเลย ที่ 2 จึง ต้องด้วย ข้อสันนิษฐาน ว่า เป็น ผู้ มี หนี้สินล้นพ้นตัว ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5) แล้วการ ที่ จำเลย ที่ 1 มี ทรัพย์สิน พอ ที่ จะ ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ได้ ถือ ไม่ได้ว่า เป็นเหตุ อื่น ที่ ไม่ควร ให้ จำเลย ที่ 2 ล้มละลาย ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์สำหรับ จำเลย ที่ 2 มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับ ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น

Share