แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีที่อ้างว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่านั้น พ.ร.บ.ฉะบับหลัง แม้คดีนั้นจะต้องใช้ฟ้องไว้ก่อนก็ตาม
คำว่า “เคหะ” ตาม พ.ร.บ.ฉะบับหลังหมายความถึงสิ่งปลูกสร้างซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ “เคหะ” ตามพ.ร.บ.นี้
พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันจะเป็น ก.ม. เกี่ยวกับความเรียบร้อย ฯ หรือไม่ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาละเทศะ.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้เช่า บิดาจำเลยเป็นผู้เช่า
ศาลชั้นต้นฟังว่า บิดาจำเลยเป็นผู้เช่า ไม่ใช่จำเลยพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริง โดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองให้อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยเป็นผู้เช่าห้องรายนี้จากโจทก์จริง ต้องพิจารณาว่าฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.๒๔๘๖ หรือไม่ แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างอิงในศาลชั้นต้น แต่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ปรากฎว่าห้องรายนี้อยู่ตำยบตลาดพลู จังหวัดธนบุรี ค่าเช่าเดือนละ ๑๕ บาท จำเลยเช่ามาแต่ พ.ศ.๒๔๘๓ ไม่ปรากฎว่าการได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่ง ม.๑๔ ของ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าโจทก์ไม่มีสิทธิให้ผู้เช่าเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่ได้ พิพากษายืนยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา ศาลอุทธรณ์หยิบยกเอา พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันมาเป็นเหตุอ้างให้ยกฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะจำเลยมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้น และไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน กับห้องรายนีไม่ใช่ “เคหะ” ตาม พ.ร.บ.นั้น
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้เช่า
ส่วนปัญหาว่า “เคหะ” ต้องใช้ตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.๒๔๘๘ ซึ่งเป็น พ.ร.บ.ฉะบับหลังแม้จะออกภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดี แต่คดีขึ้นจำเลยมิได้ยกปัญหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าขึ้นว่าไว้ในศาลชั้นต้น เมื่อยกขึ้นกล่าวในภายหลังว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ ๆ ต้องใช้ พ.ร.บ.ฉะบับหลังที่เป็นกฎหมายบังคับอยู่ในเวลาพิจารณาพิพากษาคดี เพราะความสงบ ๆ นั้นบางเรื่องย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาละเทศะ เช่นในเรื่องควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันนี้เป็นต้น คำว่า “เคหะ” ตาม พ.ร.บ.ฉะบับหลังหมายความถึง+