คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2530

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความเห็นของพนักงานสอบสวนที่วินิจฉัยว่าเหตุเกิดขึ้น เป็นการสุดวิสัยนั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏใน คำพิพากษาคดีส่วนอาญา จึงไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๖ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวน.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้งอในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัย ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้หลายประการ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินจำนวน ๑,๒๒๐,๗๒๙ บาทพร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๒๕ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า สำหรับความเห็นของพนักงาน สอบสวนที่วินิจฉัยว่า ได้เกิดอุบัติเหตุ ยางล้อหน้าทางด้าน ซ้ายของรถยนต์แตกทำให้รถยนต์เสียหลัก ซึ่งเป็นการสุดวิสัย ที่นายนวลจะบังคับรถยนต์ให้ไปตามทางถนนได้ทำให้รถยนต์ ตกลงข้างถนนซึ่งเป็นเหวลึกประมาณ ๕๐ เมตร ซึ่งจำเลยฎีกา ว่า ตามกฎหมายถือว่าคดีอาญาระงับและในคดีส่วนแพ่งศาลต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญานั้น นับว่าเป็น ความเข้าใจคลาดเคลื่อนของจำเลย เพราะความเห็นของพนักงาน สอบสวนดังกล่าวไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษา คดีส่วนอาญากรณีเช่นนี้จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๖ ดังนั้น ในการพิพากษา คดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามความเห็นของ พนักงานสอบสวนแต่ประการใด
พิพากษายืน.

Share