คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายรวม4นัดนัดแรกยิงผู้เสียหายที่1เพราะผู้เสียหายที่1ต่อว่าจำเลยที่นำเอาอาวุธปืนออกมาขู่ครั้นผู้เสียหายที่2ส่งเสียงร้องหวีดเพราะตกใจที่เห็นจำเลยยิงผู้เสียหายที่1จำเลยก็ยิงผู้เสียหายที่2เป็นนัดที่2เมื่อผู้ตายยกมือไหว้และขอร้องจำเลยอย่ายิงจำเลยก็ยิงผู้ตายเป็นนัดที่3ก่อนไปจำเลยเห็นผู้เสียหายที่2ที่ถูกยิงยังไม่ตายจึงได้ยิงซ้ำอีก1นัดแสดงว่าการยิงปืนแต่ละนัดตามประสงค์และจุดมุ่งหมายของจำเลยได้แยกออกจากกันว่าการยิงนัดใดจำเลยยิงผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายคนใดเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายในขณะลงมือกระทำผิดจึงแยกออกจากกันได้การกระทำของจำเลยจึงมิใช่กรรมเดียวแต่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรม กล่าวคือ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายที่ 1 กับใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 2 โดยเจตนาฆ่าแต่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ไม่ตายเพียงแต่ได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80, 288, 91 และริบหัวกระสุนปืนของกลาง
จำเลยให้การปฎิเสธ
ระหว่างพิจารณานายรัตน์ หนูเอียด บิดาของนายวิทยา หนูเอียด ผู้ตายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 และมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำความผิดสามกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ฐานฆ่าผู้อื่นให้ลงโทษประหารชีวิตฐานพยายามฆ่าสองกระทงแต่ละกระทงให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต เมื่อลงโทษประหารชีวิตแล้วจึงไม่นำโทษจำคุกตลอดชีวิตมารวม คงให้ประหารชีวิตจำเลยสถานเดียว ริบหัวกระสุนปืนของกลาง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ปัญหาสุดท้ายที่จำเลยฎีกามีว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม จากพยานฝ่ายโจทก์จำเลยดังวินิจฉัยมาข้างต้นเห็นว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายรวม 4 นัด นัดแรกยิงผู้เสียหายที่ 1 เพราะผู้เสียหายที่ 1 ต่อว่าจำเลยที่นำเอาอาวุธปืนออกมาขู่ ครั้นผู้เสียหายที่ 2 ส่งเสียงร้องหวีดเพราะตกใจที่เห็นจำเลยยิงผู้เสียหายที่ 1 จำเลยก็ยิงผู้เสียหายที่ 2 เป็นนัดที่ 2 เมื่อผู้ตายยกมือไหว้และขอร้องจำเลยอย่างยิ่ง จำเลยก็ยิงผู้ตายเป็นนัดที่ 3 ก่อนไปจำเลยเห็นผู้เสียหายที่ 2 ที่ถูกยิงยังไม่ตายจึงได้ยิงซ้ำอีก 1 นัด แสดงว่า การยิงปืนแต่ละนัดตามประสงค์และจุดมุ่งหมายของจำเลยได้แยกออกจากกันว่าการยิงนัดใดจำเลยยิงผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายคนใดเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายในขณะลงมือกระทำผิดจึงแยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่กรรมเดียว แต่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน

Share