แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ที่2ไม่ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันทำสัญญา ซื้อขาย ที่ดิน และไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดจึงมีลายมือชื่อโจทก์ที่2ปรากฏอยู่ในหนังสือ สัญญาซื้อขายที่ดินที่ระบุว่า จ. กับโจทก์ที่2และจำเลยร่วมกันเป็นผู้ซื้อนั้นเป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่าเอกสารนั้นเป็น เอกสารปลอม จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้เช่นนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคสอง โจทก์ทั้งสี่เพียงแต่ บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่2ในฐานะส่วนตัวมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์กับเจ้ามรดกและจำเลยโดยมิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มี สิทธิครอบครองที่ดินจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องให้การถึงหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวฉะนั้นเมื่อต่อมาโจทก์นำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินนั้นมาสืบจำเลยย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าเป็นเอกสารปลอมเพื่อสนับสนุนข้อเถียงของจำเลยที่ได้ให้การว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินได้ไม่เป็นการสืบนอกคำให้การ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดกของ นาย จันดา โจทก์ ที่ 2 ใน ฐานะ ส่วนตัว ร่วม กับ นาย จันดา และ จำเลย เป็น เจ้าของ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 101เนื้อที่ ประมาณ 23 ไร่ 40 ตารางวา โจทก์ ที่ 2 และ นาย จันดา ให้ จำเลย ทำกิน ใน ที่ดิน ดังกล่าว ต่อมา นาย จันดา ถึงแก่ความตาย ศาล มี คำสั่ง ให้ โจทก์ ที่ 1 กับ นาย ระวิ ทายาท คนหนึ่ง ของ นาย จันดา เป็น ผู้จัดการมรดก ร่วมกัน เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2532 โจทก์ ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 แจ้ง ให้ จำเลย ส่งมอบ ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น มรดก ของนาย จันดา และ ส่วน ของ โจทก์ ที่ 2 เป็น พื้นที่ รวมกัน ประมาณ 15 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของนาย จันดา และ โจทก์ ที่ 2 ใน ฐานะ เจ้าของ เพื่อ นำ ส่วน ที่ดิน มรดก เนื้อที่ ประมาณ 7 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา มา แบ่งปัน ให้ แก่ ทายาทของ นาย จันดา แต่ จำเลย ไม่ยินยอม ทำให้ โจทก์ ทั้ง สี่ เสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย ส่งมอบ ที่ดิน เนื้อที่ ประมาณ 7 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวาอันเป็น ที่ดิน ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3) เลขที่ 101 ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก และ ส่งมอบที่ดิน เนื้อที่ ประมาณ 7 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา ของ ที่ดิน แปลง ดังกล่าวให้ แก่ โจทก์ ที่ 2 ใน ฐานะ เจ้าของ หาก ส่งมอบ ไม่ได้ ให้ นำ ที่ดินแปลง ดังกล่าว ออก ขายทอดตลาด ได้ เงิน สุทธิ ให้ แบ่ง เป็น 3 ส่วนโดย จำเลย ได้ 1 ส่วน โจทก์ ทั้ง สี่ ได้ 2 ส่วน ให้ ขับไล่ จำเลย และ บริวารออกจาก ที่ดิน เนื้อที่ รวม ประมาณ 15 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา ดังกล่าวห้าม จำเลย และ บริวาร เกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน ดังกล่าว และ ให้ จำเลย ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สี่ ปี ละ 10,800 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย และ บริวาร จะ ออกจาก ที่ดิน ดังกล่าว
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เป็น เจ้าของ ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 101 แต่เพียง ผู้เดียวโดย ได้ ครอบครอง มา โดย สงบ เปิดเผย เจตนา เป็น เจ้าของ ต่อเนื่อง กัน มาไม่ น้อยกว่า 3 ปี ค่าเสียหาย ไม่เกิน ปี ละ 500 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สี่ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ว่านาย จันดา พวงทอง มี ภรรยา 4 คน คือ นาง หนา นางกลิ่น นางคำหล้า และ โจทก์ ที่ 2 โจทก์ ที่ 2 เป็น ภริยา คน สุดท้าย ของ นาย จันดา จำเลย เป็น บุตร นาย จันดาและนางคำหล้า นาย จันดา ถึงแก่ความตาย เมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตาม สำเนา คำสั่งเอกสาร หมาย จ. 5 ตั้ง ให้ โจทก์ ที่ 2 และ นาย ระวิ พวงทอง บุตร ของ นาย จันดาและนางกลิ่น เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย จันดา ร่วมกัน ที่ดินพิพาท เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. 3) เลขที่ 101 หมู่ ที่ 1 (10) ตำบล เหล่าแดง อำเภอ เมือง อุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี เอกสาร หมาย จ. 4 เมื่อ วันที่7 มีนาคม 2517 มี การ ทำ หนังสือ สัญญา ขาย ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 3ซึ่ง เป็น สัญญาซื้อขาย ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ นั้นที่ สำนักงาน ที่ดิน อำเภอ เมือง อุบลราชธานี โดย มี ชื่อ นาง ติ่ง ทองอ่อน เป็น ผู้ขาย และ นาย จันดา พวงทอง กับ โจทก์ ที่ 2 และ จำเลย เป็น ผู้ซื้อ และ เอกสาร หมาย จ. 6 เป็น หนังสือสำคัญ แสดง ว่าคดี ขอเป็นผู้จัดการมรดกดังกล่าว ถึงที่สุด
พิเคราะห์ แล้ว คดี จึง มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ เฉพาะใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ เอกสาร หมาย จ. 3 เห็นว่า แม้ การ นำสืบ หนังสือสัญญา ขาย ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 3 เป็น กรณี นำสืบ เอกสาร ที่ มี กฎหมายบังคับ ให้ ต้อง มี พยานเอกสาร มา แสดง ซึ่ง ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 94 วรรคแรก (ข) ห้าม มิให้ ศาล ยอมรับ ฟัง พยานบุคคลประกอบ ข้ออ้าง อย่างใด อย่างหนึ่ง เมื่อ ได้ นำ เอกสาร มา แสดง แล้ว ว่ายัง มี ข้อความ เพิ่มเติม ตัด ทอน หรือ เปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อความ ในเอกสาร นั้น อยู่ อีก แต่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา94 วรรคสอง ได้ บัญญัติ ให้สิทธิ แก่ คู่ความ ใน อัน ที่ จะ กล่าวอ้างและ นำพยาน บุคคล มา สืบ ประกอบ ข้ออ้าง ว่า พยานเอกสาร ที่ แสดง นั้นเป็น เอกสารปลอม หรือไม่ ถูกต้อง ทั้งหมด หรือ แต่ บางส่วน ได้ การ ที่จำเลย นำพยาน บุคคล มา สืบ ว่า โจทก์ ที่ 2 ไม่ได้ ไป สำนักงาน ที่ดินอำเภอ เมือง อุบลราชธานี ใน วัน ทำ สัญญาซื้อขาย ที่ดิน ตาม หนังสือ สัญญา ขายที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 3 และ พยาน ไม่ทราบ ว่า เพราะ เหตุใด จึง มี ลายมือชื่อโจทก์ ที่ 2 ปรากฏ อยู่ ใน เอกสาร ดังกล่าว นั้น เป็น การ นำสืบ เพื่อ แสดงให้ เห็นว่า เอกสาร หมาย จ. 3 เป็น เอกสารปลอม จำเลย มีสิทธิ นำพยาน บุคคลมา สืบ ได้ เช่นนั้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา94 วรรคสอง การ ที่ ศาลชั้นต้น รับฟัง พยานบุคคล ของ จำเลย ที่ นำสืบเช่นนั้น มา ประกอบการ วินิจฉัย คดี จึง ชอบ ด้วย ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง แล้ว ที่ โจทก์ ทั้ง สี่ ฎีกา ว่า จำเลยไม่ได้ ให้การ ต่อสู้ ว่า หนังสือ สัญญา ขาย ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 3เป็น เอกสารปลอม จำเลย ไม่มี สิทธิ นำพยาน บุคคล เข้าสืบ เช่นนั้น ได้เพราะ เป็น การ นำสืบ นอก คำให้การ นั้น เห็นว่า โจทก์ ทั้ง สี่ เพียงแต่บรรยายฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 2 ใน ฐานะ ส่วนตัว มี ชื่อ เป็น เจ้าของ ที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) กับ นาย จันดา และ จำเลย โดย โจทก์ มิได้ บรรยายฟ้อง เกี่ยวกับ หนังสือ สัญญา ขาย ที่ดิน เมื่อ จำเลยให้การ ว่า จำเลย เป็น เจ้าของ ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ตาม ฟ้องจึง ไม่มี เหตุ ที่ จำเลย จะ ต้อง ให้การ ถึง หนังสือ สัญญา ขาย ที่ดิน ที่ โจทก์ไม่ได้ บรรยาย มา ใน ฟ้อง นั้น และ เมื่อ ต่อมา โจทก์ นำ หนังสือ สัญญา ขายที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 3 มา สืบ เป็น พยานโจทก์ ใน ชั้นพิจารณา เพื่อ สนับสนุนข้ออ้าง ของ โจทก์ จำเลย จึง มีสิทธิ นำพยาน บุคคล มา สืบ ให้ เห็นว่าหนังสือ สัญญา ขาย ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 3 เป็น เอกสารปลอม เพื่อ สนับสนุนข้อเถียง ของ จำเลย ตาม ที่ ได้ ให้การ ไว้ ว่า จำเลย เป็น เจ้าของ ผู้มีสิทธิครอบครอง ที่ดิน ตาม ฟ้อง แต่เพียง ผู้เดียว ได้ ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สี่ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน