คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา442ประกอบด้วยมาตรา223แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกันศาลชอบที่จะกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า มี คนร้าย ปลอม ลายมือชื่อ โจทก์ ลง ใน เช็ค ของ โจทก์ที่ คนร้าย ลัก เอาไป ไป เบิกเงิน จาก บัญชี ของ โจทก์ จำเลย ประมาท เลินเล่อจ่ายเงิน ให้ คนร้าย ไป และ หักเงิน จาก บัญชี กระแสรายวัน ของ โจทก์ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน 537,700 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า พนักงาน ของ จำเลย ได้ ปฏิบัติ ตาม ขั้นตอน ก่อน จ่ายเงิน ตามเช็ค โดย รอบคอบ ทุกประการ เชื่อ โดยสุจริต ว่า ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ใน เช็ค เป็น ลายมือชื่อ โจทก์ หาก เช็ค ฉบับนี้ ถูก คนร้ายลัก เอาไป และ ทำการ ปลอม ลายมือชื่อ ของ โจทก์ ลง ใน เช็ค ก็ เกิดจากความประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง ของ โจทก์ ที่ ไม่ เก็บรักษา เช็ค ไว้ใน ที่ ปลอดภัย และ เมื่อ เช็ค ถูก คนร้าย ลัก ไป ก็ มิได้ แจ้ง ให้ จำเลยทราบ เป็น ลายลักษณ์อักษร เป็น การ ผิด เงื่อนไข ที่ โจทก์ ทำ ไว้ กับ จำเลยขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 510,000 บาท แก่ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วันที่ 9พฤศจิกายน 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้องไม่เกิน 27,700 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มีสิทธิ หักเงิน ตามเช็คออกจาก บัญชี ของ โจทก์ จำนวน 255,000 บาท
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พฤติการณ์ ของ โจทก์ เช่นนี้ นับ ได้ว่า โจทก์ละเลย ไม่ ระมัดระวัง เก็บรักษา สมุดเช็ค ดังกล่าว ด้วย ความ รอบคอบเมื่อ โจทก์ ขาด ความระมัดระวัง ใน การ เก็บรักษา จึง มี ส่วน ก่อ ให้ เกิดความเสียหาย ด้วย ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ไม่ได้ ต่อสู้ ว่า โจทก์มี ส่วน ทำ ความผิด ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย จะ ต้อง ร่วมรับผิด ด้วย การ ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ให้ โจทก์ร่วม รับผิด กับ จำเลย จึง ไม่ชอบ นั้น เห็นว่าแม้ จำเลย จะ ไม่ได้ ให้การ ว่า โจทก์ จะ ต้อง ร่วมรับผิด ด้วย ก็ ตามแต่ หนี้ ละเมิด อัน จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ ผู้เสียหาย มาก น้อยเพียงใด ต้อง อาศัย พฤติการณ์ เป็น ประมาณ ข้อสำคัญ ก็ คือ ว่าความ เสียหายเกิดขึ้น เพราะ ฝ่าย ไหน เป็น ผู้ ก่อ ยิ่งหย่อน กว่า กัน เพียงไร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบ กับ มาตรา 223และ เมื่อ ฟัง ว่า โจทก์ มี ส่วน ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย ด้วย ที่ ศาลอุทธรณ์กำหนด ให้ จำเลย รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ กึ่งหนึ่ง เป็น เงิน255,000 บาท โดย วิธี ปรับปรุง ยอดหนี้ ใน บัญชี เบิกเงินเกินบัญชีที่ โจทก์ ทำ ไว้ กับ จำเลย ให้ ลด น้อยลง นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share