คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ขณะผู้เสียหายซื้อมะม่วงโดยยืนหันหน้าเข้าหาแผงขายผลไม้คนร้ายเข้ามาทางด้านหลังของผู้เสียหายและเมื่อถอดสร้อยคอทองคำได้แล้วก็หันหลังวิ่งหนีไปผู้เสียหายจึงไม่มีโอกาสที่จะเห็นหน้าคนร้ายได้ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าเห็นหน้าคนร้ายจึงไม่เชื่อว่าจะเป็นความจริงจำเลยเป็นคนงานรับจ้างอยู่ที่อู่ซ่อมรถและอ้างว่าเหตุที่ไม่ได้ไปสถานีตำรวจขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจไปนำคนงานในอู่มาที่สถานีตำรวจครั้งแรกเพราะจำเลยกำลังซักผ้ายังไม่เสร็จและเจ้าพนักงานตำรวจบอกให้เฝ้าอู่อยู่ก่อนหากจำเลยเป็นคนร้ายจริงเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจกลับไปแล้วเชื่อว่าจำเลยจะต้องหลบหนีคงไม่อยู่ให้เจ้าพนักงานตำรวจมาตามเป็นครั้งที่2เหตุที่จำเลยมิได้ไปกับเจ้าพนักงานตำรวจครั้งแรกหาได้เป็นข้อพิรุธที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นคนร้ายไม่พยานหลักฐานของโจทก์ที่สืบมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้าย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 25 เมษายน 2534 เวลา กลางคืนหลัง เที่ยง จำเลย กับพวก อีก 1 คน ที่ ยัง ไม่ได้ ตัว มา ฟ้อง ร่วมกันลัก เอา สร้อยคอ ทองคำ 1 เส้น ราคา 30,000 บาท พร้อม พระ เลี่ยม ทองคำ2 องค์ รวม ราคา 5,000 บาท ล็อกเกต พระ รูป ร.5 จำนวน 1 อัน ราคา2,500 บาท และ ตะกรุดทองคำ 1 อัน ราคา 2,500 บาท รวมเป็น เงินทั้งสิ้น 40,000 บาท ของ นาง สุมนา บรรจง ผู้เสียหาย ไป โดยทุจริต โดย การ ฉกฉวย เอา ทรัพย์ ดังกล่าว ซึ่ง คล้อง อยู่ ที่ คอ ของ ผู้เสียหายไป ซึ่งหน้า และ ใน การ วิ่งราวทรัพย์ นี้ จำเลย กับพวก ใช้ รถจักรยานยนต์คัน หมายเลข ทะเบียน ภูเก็ต ฆ-0503 เป็น ยานพาหนะ เพื่อ สะดวก แก่การกระทำ ผิด และ พา ทรัพย์ ไป เหตุ เกิด ที่ ตำบล ตลาดใหญ่ อำเภอ เมือง ภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,336, 336 ทวิ และ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ ที่ ยัง ไม่ได้ คืน จำนวน40,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 336 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 336 ทวิจำคุก 4 ปี ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ ที่ ยัง ไม่ได้ คืน จำนวน40,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่าจำเลย กระทำ ความผิด ตาม ฟ้อง หรือไม่ โจทก์ มี ประจักษ์พยาน ปาก เดียวคือ ผู้เสียหาย โดย ผู้เสียหาย เบิกความ ยืนยัน ว่า หลังจาก คนร้าย ถอดสร้อยคอ ทองคำ จาก คอ ผู้เสียหาย ได้ แล้ว ผู้เสียหาย หัน ไป ดู ก็ เห็นและ จำ ได้ว่า คนร้าย คือ จำเลย แต่เมื่อ พิจารณา แผนที่ เกิดเหตุเอกสาร หมาย จ. 2 ประกอบ คำเบิกความ ของ ผู้เสียหาย แล้ว เห็นว่าขณะ ผู้เสียหาย ซื้อ มะม่วง ผู้เสียหาย ยืน อยู่ ตรง จุดหมาย เลข 1 ใน แผนที่เกิดเหตุ และ หัน หน้า เข้า หา แผง ขาย ผลไม้ คนร้าย เข้า มา ทาง ด้านหลังของ ผู้เสียหาย และ เมื่อ ถอด สร้อยคอ ทองคำ ได้ แล้ว ก็ วิ่ง ไป ตาม เส้นทางหมายเลข 2 ใน แผนที่ เกิดเหตุ ขณะ ผู้เสียหาย หัน หลัง ไป ดู คนร้าย นั้นคนร้าย ได้ วิ่ง หลบหนี ไป ยัง รถจักรยานยนต์ ซึ่ง จอด รอ อยู่ ทาง ด้านขวา มือของ ผู้เสียหาย ตรง จุดหมาย เลข 3 ใน แผนที่ เกิดเหตุ จาก ตำแหน่ง ที่ผู้เสียหาย ยืน อยู่ และ เส้นทาง ที่ คนร้าย หลบหนี ไป ดังกล่าว เห็น ได้ว่าคนร้าย วิ่ง หัน หลัง ให้ ผู้เสียหาย ผู้เสียหาย จึง ไม่มี โอกาส ที่ จะเห็น หน้า คนร้าย ได้ ดังนั้น ที่ ผู้เสียหาย เบิกความ ว่า เห็น หน้า คนร้ายจึง ไม่ เชื่อ ว่า จะ เป็น ความจริง จำเลย เป็น คนงาน รับจ้าง อยู่ ที่อู่ซ่อมรถ ของ นาย เคลื่อน หนูในน้ำ ขณะที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ไป นำ คนงาน ใน อู่ มา ที่ สถานีตำรวจ ครั้งแรก จำเลย ก็ อยู่ ใน อู่ ซึ่ง จำเลยอ้างว่า เหตุ ที่ ไม่ได้ ไป สถานีตำรวจ ครั้งแรก เพราะ จำเลย กำลัง ซัก ผ้ายัง ไม่ เสร็จ และ เจ้าพนักงาน ตำรวจ บอก ให้ เฝ้า อู่ อยู่ ก่อน หาก จำเลยเป็น คนร้าย จริง เมื่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ กลับ ไป แล้ว เชื่อ ว่า จำเลยจะ ต้อง หลบหนี คง ไม่อยู่ ให้ เจ้าพนักงาน ตำรวจ มา ตาม เป็น ครั้งที่ 2และ เชื่อ ว่า เหตุ ที่ จำเลย มิได้ ไป กับ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ครั้งแรกเนื่องมาจาก จำเลย ซัก ผ้า ยัง ไม่ เสร็จ และ อยู่ เฝ้า อู่ ดัง ที่ จำเลยเบิกความ หา ได้ เป็น ข้อ พิรุธ ที่ จะ แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย เป็น คนร้ายอย่างใด ไม่ เห็นว่า พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ที่ สืบ มา ยัง ฟัง ไม่ได้ ว่าจำเลย เป็น คนร้าย กระทำ ความผิด ตาม ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายกฟ้อง โจทก์ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share