คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2497

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การเรียกร้องค่าเสียหายในฐานละเมิด ในมูลอันเป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 448 วรรค 2 นั้น หมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะ มิได้หมายความถึงผู้อื่นที่มิได้มีส่วนร่วม ในการกระทำผิดด้วย

ย่อยาว

โจทย์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๔๙๒ จำเลยที่ ๑ กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ได้ขับรถยนต์โดยสารด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังชนและทับนายประทุม สุมนเตมีย์สามีโจทก์ถึงแก่ความตาย พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยที่ ๑ ต่อศาลๆ พิพากษาจำคุก ๓ ปี โดยฟังว่าขับรถยนต์อ้วยความประมาทชนนายประทุบตายจริง จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ต้องรับในความเสียหายของโจทก์ในฐานะเป็นนายจ้างจำเลยที่ ๑ ด้วย คือ จำเลยที่ ๒ เป็นเจ้าของรถยนต์และนำรถคันนี้เข้าร่วมประกอบการขนส่งรับคนโดยสา+กับจำเลยที่ ๓ โดยตกลงแบ่งผลประโยชน์ต่อกดัน จำเลยที่ ๓ เป็นบริษัทจำกัด ทำการรับส่งคนโดยสาร ซึ่งมีรถยนต์ของจำเลยที่ ๓ เอง และรถของผู้อื่นนำเข้ามาร่วมด้วยในลักษณะหุ้นส่วน โจทก์จึงขอให้จำเลยร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ เป็นเงิน ๑๑๓๖๐๐ บาทกับดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๑ ขาาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ ๒ – ๓ปฏิเสธความรับผิด และต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๔๔๘ วรรค ๑
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ ๓ ให้จำเลยที่ ๑ – ๒ ใช้เงิน ๓๐๔๐๐ บาท กับดอกเบี้ยแก่โจทก์
โจทก์และจำเลยที่ ๒ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีเฉพาะจำเลยที่ ๒ – ๓ ขาดอายุความ พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยที่ ๒ ด้วย
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกามีมติในที่ประชุมใหญ่ว่า การเรียกร้องค่าเสียหายในฐานละเมิด โดยปกติผู้เสียหายพึงมีสิทธิเรียกร้องภายใน ๑ ปีตามป.ม.แพ่งฯมาตรา ๔๔๘ วรรค ๑ ส่วนการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา จึงให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่า ดังที่ปรากฎในวรรค ๒ นั้น หมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะ มิได้หมายความถึงผู้อื่นที่มิได้ร่วมในการกระทำผิดด้วย ฉะนั้นการเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ ๒ – ๓ จึงต้องนับอายุความตามมาตราวรรค ๑ คือ ๑ ปี การที่โจทก์มาฟ้องคดีเกินกำหนด ๑ ปี โดยมิได้สืบแสดงให้เห็นว่าเพิ่งรู้ว่าจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ที่จะพึงต้องรับใช้ค่าเสียหายเช่นนี้ต้องถือว่าคดีขาดอายุความ ฯลฯ
จึงพิพากษายืน

Share