คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พระภิกษุนำเงินส่วนตัวออกให้บุคคลกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย พระภิกษุก็เป็น บุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายทั้งการให้ กู้ยืมเงินเป็นการสงเคราะห์ผู้เดือดร้อนได้ทางหนึ่งการที่โจทก์ซึ่งเป็นพระภิกษุให้จำเลยที่1กู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์ย่อมมีสิทธินำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 กู้ยืม เงิน จาก โจทก์ จำนวน 134,650 บาทโดย จำเลย ที่ 2 ทำ สัญญาค้ำประกัน ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ เงิน 145,930 บาท พร้อม ทั้ง ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี ของ ต้นเงิน 134,650 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ กู้ยืม เงิน และ รับ เงินจาก โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
วันนัด สืบพยาน จำเลย ทั้ง สอง จำเลย ทั้ง สอง รับ ว่า ได้ ทำ สัญญากู้ยืมและ ค้ำประกัน จริง แต่ ทำ ไป เพราะ ถูก ข่มขู่ โจทก์ แถลงว่า เงิน ที่ ให้กู้ยืม ไป เป็น เงิน ส่วนตัว ของ โจทก์ เอง ศาลชั้นต้น สั่ง ว่าคดี พอ วินิจฉัยได้ แล้ว ให้ งดสืบพยาน และ นัดฟัง คำพิพากษา ใน วันเดียว กัน
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา โดย ได้รับอนุญาต จาก ศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา223 ทวิ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี นี้ โจทก์ อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมายจึง ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย มา ตาม พยานหลักฐานใน สำนวน ศาลชั้นต้น ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ซึ่ง เป็น พระภิกษุ นำ เงินส่วนตัว ให้ จำเลย ที่ 1 กู้ โดย คิด ดอกเบี้ย มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ที่โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า นิติกรรม การกู้ยืมเงินระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 เป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะ ไม่มี กฎหมาย ห้าม พระภิกษุ ทำนิติกรรมให้ กู้ยืม เงิน และ การ ทำนิติกรรม ดังกล่าว ไม่ ขัด ต่อ ศีลธรรม อัน ดีเพราะ เป็น การ ช่วยเหลือ ผู้ที่ เดือดร้อน ทั้ง โจทก์ คิด ดอกเบี้ย โดยไม่ ฝ่าฝืน กฎหมาย นิติกรรม การกู้ยืมเงิน จึง ไม่ ตกเป็น โมฆะ เห็นว่าการ ที่ โจทก์ ซึ่ง เป็น พระภิกษุ นำ เงิน ส่วนตัว ออก ให้ บุคคล กู้ยืม โดยคิด ดอกเบี้ย นั้น ไม่ปรากฏ ว่า มี กฎหมาย ใด ห้าม ไว้ พระภิกษุ ก็ เป็นบุคคล ย่อม มีสิทธิ และ หน้าที่ ตาม กฎหมาย การ ให้ กู้ยืม เงิน นั้น ก็ เป็นการ สงเคราะห์ ผู้ที่ เดือดร้อน ได้ ทาง หนึ่ง ดอกเบี้ย ที่ เกิดจาก การให้ กู้ยืม เงิน ก็ เป็น ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ อย่างหนึ่ง ซึ่ง ไม่มีกฎหมาย บัญญัติ ห้ามเรียก ดอกเบี้ย คง มี แต่ กฎหมาย ห้ามเรียก ดอกเบี้ยเกิน อัตรา เท่านั้น กรณี นี้ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 กู้ยืม เงิน ก็ไม่ปรากฏ ว่า มี การ เรียก ดอกเบี้ย เกิน อัตรา นอกจาก นี้ ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 224 ยัง บัญญัติ ไว้ ชัด ว่า หนี้ เงิน นั้นท่าน ให้ คิด ดอกเบี้ย ใน ระหว่าง เวลา ผิดนัด ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีดังนั้น การ ที่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 กู้ยืม เงิน โดย คิด ดอกเบี้ย ด้วยจึง ไม่ ขัด ต่อ กฎหมาย หรือ ศีลธรรม อัน ดี ของ ประชาชน โจทก์ จึง มีสิทธินำ สัญญากู้ยืม เงิน มา ฟ้อง เรียก ต้นเงิน และ ดอกเบี้ย จาก จำเลย ที่ 1ได้ ส่วน กรณี ที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 วรรคหนึ่งบัญญัติ ห้าม พระภิกษุ เรียกร้อง เอา ทรัพย์มรดก ใน ฐานะ ทายาทโดยธรรมเว้นแต่ จะ สึก จาก สม ณะเพศ มา เรียกร้อง ภายใน กำหนด อายุความ ก็ มิได้ห้าม ขาด มิให้ พระภิกษุ รับมรดก เพราะ เปิด โอกาส ให้ พระภิกษุ สึก จากสมณะเพศ มา ฟ้อง เรียกร้อง เอา ได้ อย่างไร ก็ ดี กรณี เรียก เอา มรดก ก็ เป็นคน ละ เรื่อง กับ การ เรียก เอา เงิน ที่ กู้ยืม พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย คืนจึง ไม่อาจ นำ มา แปล ปรับ ด้วยกัน ได้ ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า นิติกรรมการกู้ยืมเงิน ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ตกเป็น โมฆะ และ ยกฟ้องโจทก์ จึง ไม่ชอบ และ ใน ประเด็น ข้อพิพาท ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ว่าจำเลย ที่ 1 ได้ ทำ สัญญากู้ยืม เงิน และ จำเลย ที่ 2 ได้ ทำ สัญญาค้ำประกันจำเลย ที่ 1 ตาม ฟ้อง เพราะ ถูก ข่มขู่ เป็น โมฆียะ หรือไม่ การ ที่ศาลชั้นต้น จด รายงาน กระบวนพิจารณา ว่า จำเลย ทั้ง สอง รับ ว่า ได้ ทำสัญญากู้ยืม และ สัญญาค้ำประกัน จริง แต่ ทำ ไป เพราะ ถูก ข่มขู่ โจทก์แถลงว่า เงิน ที่ ให้ กู้ยืม เป็น เงิน ส่วนตัว ของ โจทก์ เอง ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตาม สำนวน คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว จึง ให้ งดสืบพยาน จำเลย ทั้ง สองและ รอ ฟัง คำพิพากษา ใน วันเดียว กัน นั้น เห็น ได้ว่า ลำพัง แต่ ข้อเท็จจริงใน คำฟ้อง คำให้การ และ เอกสาร ที่ ศาลชั้นต้น ได้รับ ไว้ ใน รายงาน กระบวนพิจารณา ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2537 ก็ ยัง ไม่ เพียงพอ แก่ การ วินิจฉัยข้อเท็จจริง ใน ประเด็น ข้อพิพาท ตาม ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ จึง เป็นกรณี ที่ ศาลชั้นต้น มิได้ ปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ ว่าด้วย การ พิจารณา ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 243(2) และ มาตรา 247 ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้นพิจารณา พิพากษา ใหม่ ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น ทำการ พิจารณาสืบพยาน และ ทำ คำพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี

Share