คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2483

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การนับอายุความ อุทธรณ์หรือ ฎีกานั้น ให้เริ่มคำนวณในวันรุ่งขึ้นจากวันอ่านคำ พิพากษา+++ มีและดื่มสุราเถื่อนซึ่งมีปริมาณเพียงเล็กน้อย ไม่ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอันจะเป็นเหตุให้พลตำรวจค้นและจับบุคคลในที่ระโหฐานในเวลากลางคืนได้ตาม ประมวล วิธีพิจารณาความอาญา ม. 96 (2)

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๘๓ เวลากลางคืน จำเลยมีน้ำสุราแซ่อันมีแรงแอลกอฮอล์ดื่มกินได้เช่นสุราไว้ในครอบครอง ๒ ลิตร์และ จำเลยได้ดื่มสุรานั้น กับทำการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ขอให้ ลงโทษตาม พรบ ภาษีชั้นใน ๑๒๔๘ ม. ๖ และ พรบ ภาษีชั้นในแก้ไขเพิ่มเติม ๒๔๗๖ ม. ๘ กฎหมายลักษณอาญามาตรา ๑๒๐
ศาลจังหวัดหลังสวนพิพากษา ลงโทษ จำเลย ตาม พรบ ภาษีชั้นใน แต่ในข้อหาว่า จำเลยต่อสู้ขัดขวางและทำร้ายเจ้าพนักงานนั้น เจ้าพนักงานได้กระทำไปโดยไม่มีอำนาจ จะ ลงโทษ จำเลยฐานต่อสู้ทำร้ายขัดขวางเจ้าพนักงานไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเรื่องนี้เจ้าพนักงานมีอำนาจจับ จำเลยในที่ระโหฐานในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องมีหมายเพราะเป็นเรื่องฉุกเฉินยิ่ง จึง พิพากษาแก้ ศาลชั้นต้น ลงโทษ จำเลยตาม กฎหมายลักษณอาญา ม. ๑๒๐ ตอน ๒ อีกฐานหนึ่ง แต่ผู้ พิพากษา ศาลอุทธรณ์นายหนึ่งมีความเห็นแย้งว่าไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งประการใดเลย พลตำรวจไม่มีอำนาจเข้าไปจับ จำเลยในบ้านของ จำเลย ๆ ไม่มีความผิดฐานขัดขวางต่อสู้เจ้าพนักงานควร พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โจทก์คัดค้านว่า ฎีกา จำเลยขาดอายุความ
ศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นอ่านคำ พิพากษา ศาลอุทธรณ์และความเห็นแย้งให้ โจทก์ จำเลยฟังเมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ศกนี้ จำเลยยื่น ฎีกาวันที่ ๒๓ ตุลาคม ฎีกาของ จำเลยยังไม่ขาดอายุความ เพราะ ได้ วินิจฉัยไว้เป็นบันทัดฐานแล้วว่า การนับกำหนดอายุความ อุทธรณ์หรือ ฎีกานั้น ให้เริ่มคำนวณในวันรุ่งขึ้นจากวันอ่านคำพิพากษา ส่วนปัญหาที่ว่าพลตำรวจมีอำนาจจับจำเลยในที่ระโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายจับได้หรือไม่นั้นเห็นว่าตามมาตรา ๙๒ (๓) ถ้าเป็นเวลากลางวันตำรวจย่อมเข้าไปค้นหรือจับโดยไม่มีหมายได้ แต่คดีนี้เป็นเวลากลางคืน ต้องนำมาตรา ๙๖ (๒) มาใช้ประกอบด้วย คือถ้าจะค้นหรือจับในที่ระโหฐานเวลากลางคืนแล้วคดีนี้เป็นเรื่องมีและดื่มสุราเถื่อน ซึ่งมีปริมาณเพียงเล็กน้อย ไม่มีเหตุจะให้ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งเลย พลตำรวจไม่มีอำนาจเข้าไปจับกุม จำเลย พลตำรวจไม่มีอำนาจเข้าไปจับกุม จำเลยในบ้านเรือนของ จำเลย จำเลยขัดขวางก็ไม่มีความผิด จึง พิพากษาแก้ ศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง โจทก์ในความผิดตามมาตรา ๑๒๐

Share