คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องภายใน15วันโจทก์อุทธรณ์คำสั่งเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาศาลฎีกามีคำสั่งว่าคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ให้ยกคำร้องของโจทก์ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้โจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องมาวางศาลภายใน15วันมิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้นเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาใหม่ให้โจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพื่อจะให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยชอบไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งโจทก์ชอบแต่เพียงโต้แย้งคำสั่งเพื่อให้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปเท่านั้นการที่โจทก์กลับแถลงขออนุญาตไม่เสียค่าขึ้นศาลก่อนโดยอ้างว่าจะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปในภายหลังซึ่งศาลชั้นต้นไม่อนุญาตจนพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา174(2)

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์เป็น บุตรบุญธรรม ของ นาย ชิน ปิ่นทองคำ และ โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1เป็น สามี ภริยา กัน ตั้งแต่ ปี 2508 โดย ไม่ได้ จดทะเบียนสมรส โจทก์มีสิทธิ ได้รับ มรดก ที่ดินพิพาท เฉพาะ ส่วน ของ นาย ชิน จำนวน เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา ใน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 2611 แต่ ทางนาง พุ่ม ปิ่นทองคำ ภริยา นาย ชิน ได้ ทำ พินัยกรรม ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ นาง สำเภา ปิ่นทองคำ โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แล้ว จำเลย ที่ 1 และ นาง สำเภา กระทำการ ฉ้อฉล ร่วม กับ จำเลย ที่ 9และ ที่ 10 ซึ่ง โดย จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ โดย จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะผู้จัดการมรดก ของ นาง พุ่ม จดทะเบียน โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2611บางส่วน ให้ แก่ นาง สำเภา นางสำเภา จดทะเบียน โอน เฉพาะ ส่วน ของ ตน ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 และ จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน แบ่งแยก ที่ดินออก เป็น หลาย แปลง แล้ว จดทะเบียน โอน เป็น ของ ตนเอง โอน ขายให้ แก่ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 และ ที่ 6 ขายฝาก ให้ แก่ จำเลย ที่ 5 ที่ 7และ ที่ 8 โดย ไม่สุจริต ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สิบ จดทะเบียน ลงชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์รวมใน ที่ดินพิพาท หาก ไม่ปฏิบัติ ขอให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนาของ จำเลย ทั้ง สิบ จำเลย ทั้ง สิบ ให้การ และ จำเลย ที่ 5 ขอแก้ไขคำให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ใน ที่ดินพิพาท จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ได้ สิทธิ โดย การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท แล้ว และ ต่อสู้ คดี ข้อ อื่นอีก หลาย ประการ ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 5ศาลชั้นต้น อนุญาต
วันที่ 21 มิถุนายน 2537 ศาลชั้นต้น นัด ชี้สองสถาน คู่ความมา พร้อม ศาลชั้นต้น ตรวจ คำฟ้อง แล้ว เห็นว่า ฟ้องโจทก์ ขอให้ ศาลเพิกถอน การ โอน ที่ดิน โดย การ ฉ้อฉล และ ขอให้ ลงชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ด้วย นอกจาก นี้ จำเลย ยัง ต่อสู้ กรรมสิทธิ์ จึง เป็นคดีมีทุนทรัพย์ การ ที่ โจทก์ เสีย ค่าขึ้นศาล มา อย่าง คดี ไม่มี ทุนทรัพย์เป็น การ ไม่ถูกต้อง มี คำสั่ง ให้ โจทก์ เสีย ค่าขึ้นศาล ใหม่ ให้ ถูกต้องตาม จำนวน ทุนทรัพย์ ที่ โจทก์ ฟ้อง ภายใน 15 วัน นับแต่ วันที่ 21มิถุนายน 2537 มิฉะนั้น ถือว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง และ ให้ เลื่อน การชี้สองสถาน ไป โจทก์ ยื่น คำร้อง ว่า คดี โจทก์ เป็น คดี ไม่มี ทุนทรัพย์ขอให้ เพิกถอน การ พิจารณา ที่ ผิดระเบียบ เพราะ เป็น คำสั่ง เกี่ยวกับการ เรียก ค่าฤชาธรรมเนียม (ค่าขึ้นศาล ) ที่ มิชอบ หรือ ถูกต้อง ตามกฎหมาย ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ไม่มี เหตุ ที่ จะ เปลี่ยนแปลงคำสั่ง เดิม ให้ยก คำร้อง โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรง ต่อ ศาลฎีกา โดย ขออนุญาต ต่อ ศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่ากรณี มิใช่ เรื่อง การ กำหนด หรือ คำนวณ ค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168 แต่ เป็น คดีมี ทุนทรัพย์ หรือไม่ ซึ่ง เป็น คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา จึง ไม่รับ อุทธรณ์โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา โดยขออนุญาต ต่อ ศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า กรณี ไม่ต้อง ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ แต่เมื่อ โจทก์อุทธรณ์ โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา จึง ให้ ส่ง ไป ศาลฎีกา
ศาลฎีกา มี คำสั่ง ว่า คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ สั่ง ให้ โจทก์ซึ่ง เสีย ค่าขึ้นศาล มา อย่าง คดี ไม่มี ทุนทรัพย์ เสีย ค่าขึ้นศาลใหม่ อย่าง คดีมีทุนทรัพย์ ตาม จำนวน ทุนทรัพย์ ที่ โจทก์ ฟ้อง ภายใน 15 วันมิฉะนั้น ถือว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง นั้น เป็น คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 วรรคหนึ่ง แม้ โจทก์จะ โต้แย้ง เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า การ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งดังกล่าว เป็น การ ที่ มิได้ กำหนด หรือ คำนวณ ค่าฤชาธรรมเนียม ให้ ถูกต้องกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168 ก็ ต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ คำสั่ง นั้น ใน ระหว่าง พิจารณา ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 226 วรรคหนึ่ง และ เมื่อ ศาลชั้นต้น ยัง มิได้ มีคำพิพากษา หรือ คำสั่ง ชี้ขาด ตัดสิน คดี นี้ โจทก์ ยัง ไม่อาจ อุทธรณ์คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ต่อ ศาลฎีกา โดยตรง ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 223 ทวิ ได้ ให้ยก คำร้อง ศาลชั้นต้น อ่าน คำสั่งศาลฎีกา ให้ คู่ความ ฟัง และ มี คำสั่ง ใน วันเดียว กัน นั้น ว่า ศาลฎีกา มีคำสั่ง ให้ยก คำร้องขอ งโจทก์ ฉะนั้น โจทก์ จึง ต้อง นำ ค่าขึ้นศาล ตาม จำนวนทุนทรัพย์ ที่ โจทก์ ฟ้อง มา วาง ต่อ ศาล ภายใน 15 วัน นับแต่ วันที่ 28กันยายน 2537 มิฉะนั้น ถือว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง วันที่ 29 กันยายน 2537โจทก์ ยื่น คำแถลง โต้แย้ง คัดค้าน ว่า คำสั่งศาล ฎีกา ยัง ไม่ได้วินิจฉัย เนื้อหา ว่า คดี โจทก์ เป็น คดีมีทุนทรัพย์ หรือไม่ และ รับฟังว่า เป็น คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา และ คำสั่ง ของ ศาล ที่ สั่ง ให้ โจทก์เสีย ค่าขึ้นศาล ให้ ถูกต้อง ภายใน 15 วัน นั้น ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่เพราะ เลย ขั้นตอน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แล้วปัญหา เรื่อง นี้ ยัง ไม่ ยุติ ซึ่ง โจทก์ จะ ได้ อุทธรณ์ ฎีกา ต่อไปใน ชั้น นี้ โจทก์ จึง ขออนุญาต ไม่เสีย ค่าฤชาธรรมเนียม เพิ่ม ตาม คำสั่งศาลไว้ ก่อน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า คำแถลง โต้แย้ง คัดค้าน ให้ รวม เรื่อง ไว้ส่วน เรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียม ไม่อนุญาต
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง ให้ โจทก์ เสีย ค่าฤชาธรรมเนียม ขอให้ศาลอุทธรณ์ กลับ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ให้ โจทก์ ได้ งด เสีย ค่า ฤชาธรรมเนียม ประเภท คดีมีทุนทรัพย์ จนกว่า จะ ได้ มี คำพิพากษา หรือคำสั่ง ชี้ขาด ตัดสิน คดี ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2537ว่า โจทก์ กลับมา ยื่น อุทธรณ์ เรื่อง ที่ ศาล สั่ง ให้ เสีย ค่าฤชาธรรมเนียมอีก จึง เป็น การ ประวิง เพื่อ ที่ จะ ไม่เสีย ค่าฤชาธรรมเนียม ตาม คำสั่งศาลทั้ง เป็น อุทธรณ์ คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 วรรคหนึ่งจึง ไม่รับ อุทธรณ์
วันที่ 17 ตุลาคม 2537 เจ้าหน้าที่ศาล รายงาน ต่อ ศาลชั้นต้น ว่าศาล มี คำสั่ง ให้ โจทก์ นำ เงิน ค่าขึ้นศาล ตาม จำนวน ทุนทรัพย์ ที่ โจทก์ฟ้อง มา วางศาล ภายใน 15 วัน นับแต่ วันที่ 28 กันยายน 2537 มิฉะนั้นถือว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง จน บัดนี้ โจทก์ ยัง ไม่ ดำเนินการ แต่อย่างใดศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2537 ว่า โจทก์ เพิกเฉยไม่ ดำเนินการ ตาม ที่ ศาล กำหนด ถือว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 174(2) ให้ จำหน่ายคดี เสีย จาก สารบบความ
วันที่ 26 ตุลาคม 2537 โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง ไม่รับ อุทธรณ์ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2537 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ศาล สั่ง จำหน่ายคดี แล้ว จึง ไม่รับ อุทธรณ์
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง จำหน่ายคดี ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2537 โดยยื่น คำร้องขอ อนุญาต ยื่น อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อศาลฎีกา พร้อม คำฟ้อง อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์ และ สำเนา คำฟ้องอุทธรณ์ และ คำร้อง แก่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ จำเลย ที่ 6 ถึง ที่ 10แล้ว จำเลย ทั้งหมด มิได้ คัดค้าน คำร้อง ดังกล่าว ภายใน กำหนด ระยะเวลายื่น คำแก้อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น จึง สั่ง อนุญาต ให้ โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ โดยตรงต่อ ศาลฎีกา ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ ข้อ แรก ว่าหลังจาก ศาลชั้นต้น ได้ อ่าน คำสั่งศาล ฎีกา เมื่อ วันที่ 28 กันยายน 2537แล้ว ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใหม่ อีก ว่า ให้ โจทก์ เสีย ค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่ม ภายใน 15 วัน มิฉะนั้น ถือว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง นั้น เป็น การ ดำเนินกระบวนพิจารณา ซ้ำ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144เห็นว่า การ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ โจทก์ ซึ่ง เสีย ค่าขึ้นศาล มา อย่างคดี ไม่มี ทุนทรัพย์ เสีย ค่าขึ้นศาล ใหม่ อย่าง คดีมีทุนทรัพย์ ตาม จำนวนทุนทรัพย์ ที่ โจทก์ ฟ้อง ภายใน 15 วัน โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่ง เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา ศาลฎีกา มี คำสั่ง ว่า คำสั่งของ ศาลชั้นต้น เป็น คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ให้ยก คำร้องขอ งโจทก์ ศาลชั้นต้น จึง มี คำสั่ง ว่า เมื่อ ศาลฎีกามี คำสั่ง ยกคำร้อง ของ โจทก์ จึง ให้ โจทก์ นำ เงิน ค่าขึ้นศาล ตามจำนวน ทุนทรัพย์ ที่ โจทก์ ฟ้อง มา วางศาล ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง นั้น เป็น กรณี ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด เวลา ใหม่ให้ โจทก์ นำ เงิน ค่าขึ้นศาล มา ชำระ เพื่อ ที่ จะ ให้การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา เป็น ไป โดยชอบ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น เช่นนี้ มิใช่ คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาด คดี กรณี ไม่ต้อง ด้วย การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ดัง ที่ โจทก์ อุทธรณ์ส่วน ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ข้อ สุดท้าย ว่า โจทก์ มิได้ เพิกเฉย ไม่ ดำเนินการตาม ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด นั้น ได้ความ ว่า ศาลชั้นต้น ได้ สั่ง ให้ โจทก์เสีย ค่าขึ้นศาล ตาม จำนวน ทุนทรัพย์ ที่ โจทก์ ฟ้อง ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ 28 กันยายน 2537 โจทก์ กลับ แถลง ขออนุญาต ไม่เสีย ค่าขึ้นศาลก่อน โดย อ้างว่า จะ อุทธรณ์ ฎีกา ต่อไป ใน ภายหลัง ซึ่ง ศาลชั้นต้น ไม่อนุญาต จน เมื่อ ล่วงพ้น ระยะเวลา ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดี ภายใน เวลา ที่ ศาลชั้นต้น เห็นสมควร กำหนดเพราะ คำสั่ง ของ ศาล ดังกล่าว เป็น คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา แม้ โจทก์ จะเห็นว่า เป็น คำสั่ง ที่ ไม่ชอบ หรือไม่ ถูกต้อง อย่างไร โจทก์ กระทำได้ แต่เพียง โต้แย้ง คำสั่ง นั้น เพื่อ ใช้ สิทธิ อุทธรณ์ ฎีกา ใน โอกาสต่อไป เท่านั้น การ ที่ โจทก์ มี ข้อโต้แย้ง หรือ เห็นว่า คำสั่ง ระหว่างพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น ไม่ถูกต้อง ไม่ ก่อ ให้ เกิด สิทธิ ที่ ไม่ต้องปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ของ ศาล แต่อย่างใด มิฉะนั้น การ ดำเนิน กระบวนพิจารณา จะ เป็น ไป โดย ไม่ สะดวก และ เรียบร้อย การกระทำ ของ โจทก์จึง เป็น การ ทิ้งฟ้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ ของ โจทก์ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share