แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ที่ดินของโจทก์กับพวกอยู่ติดกับที่ดินของจำเลยทั้งสอง โจทก์กับพวก ซึ่งอยู่ในที่ดินของตนเองได้เดินผ่านเข้าออกตรงกลางที่ดินของจำเลย เมื่อ 7 – 8 ปี ที่ผ่านมาจำเลยที่ 2 ปลูกโรงอิฐทำอิฐขายในที่ดินของจำเลย จึงขอให้ โจทก์ย้ายทางเดินผ่านเข้าออกจากกลางที่ดินมาอยู่ทางทิศใต้ของที่ดินจำเลยซึ่งเป็นทางพิพาท การที่โจทก์ผู้ใช้ทางต้องย้ายทางที่ใช้อยู่เดิมไปใช้ทางใหม่เป็นการย้ายไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 จึงต้องนับอายุความทางภาระจำยอมติดต่อกัน เมื่อโจทก์กับพวกได้ใช้สิทธิเดินผ่านเข้าออกในที่ดินของจำเลยทั้งสองมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาท
ที่ดินที่มีทางออกเป็นภาระจำยอมอยู่แล้ว แม้จะมีทางออกทางอื่นอีก ก็หาทำให้ทางภาระจำยอมที่มีอยู่แล้วสิ้นไปไม่ ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็เฉพาะกรณีที่มิได้ใช้สิบปี หรือภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 และมาตรา 1400
คดีไม่มีประเด็นว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงเปลี่ยนที่ดินกันหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์จำเลยมีการตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน เป็นการสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น จำเลยฎีกาเรื่องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับพวกอีก ๑๒ คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๖๐๘๗ จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๓๗๘ อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออก โจทก์กับพวกและบริวารได้ใช้เดินและใช้รถยนต์บรรทุกอิฐผ่านเข้าออกที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้กว้าง ๓ วา ยาว ๑๕ วา ไปสู่ถนนสาธารณะมาเป็นเวลา ๒๐ ปีเศษแล้ว ทางดังกล่าวจึงตกเป็นภารจำยอม เมื่อประมาณกลางเดือนมีนาคม ๒๕๒๕ จำเลยได้ถมดินกลบทางภารจำยอมทั้งหมด และปลูกโรงอิฐคร่อมทางภารจำยอม ไม่ยอมให้โจทก์และบริวารใช้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าทางเดินกว้าง ๓ วา ยาวประมาณ ๑๕ วา ทางทิศใต้ของที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ ๓๓๗๘เป็นทางภารจำยอม ให้จำเลยไปจดทะเบียนเป็นสิทธิภารจำยอม ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้จำเลยทั้งสองขุดดินที่จำเลยนำมากองกลบทางเดินสูงจากพื้นดิน ๑ เมตร ออกไปกว้าง ๓ วา ยาวตลอดแนวที่ดินของจำเลย ๑๕ วาเศษและให้รื้อถอนโรงอิฐออกไปให้พ้นเขตทางภารจำยอม ถ้าจำเลยไม่กระทำให้จำเลยจ่ายเงินค่าแรงงานเป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาทให้โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินที่ติดกับที่ดินของจำเลยทั้งสองจริง แต่โจทก์กับพวกจะเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๖๐๘๗ หรือไม่ ไม่รับรอง โจทก์และบริวารไม่เคยใช้ที่ดินทางด้านทิศใต้ที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๓๗๘ ของจำเลยทั้งสองเพื่อเดินหรือใช้รถยนต์บรรทุกอิฐเข้าออกทางสาธารณะเป็นทางกว้าง ๓ วา ยาวประมาณ ๑๕ วาเป็นเวลา ๒๐ ปีแต่อย่างใด ทางพิพาทจึงมิใช่เป็นภารจำยอม ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๖๐๘๓ ตามฟ้อง โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นเวลาเพียง ๗ ปีเท่านั้น ที่พิพาทจึงไม่ตกเป็นภารจำยอม พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษากลับว่า ทางเดินกว้าง ๓ วา ยาวประมาณ ๑๕ วาเศษ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของที่ดินจำเลยโฉนดเลขที่ ๓๓๗๘ เป็นทางภารจำยอม ให้จำเลยทั้งสองขุดที่ดินที่จำเลยนำมาถมกลบทางเดินสูงจากพื้นดิน ๑ เมตรออกไป และรื้อโรงอิฐออกไปจากทางภารจำยอมดังกล่าว ถ้าหากจำเลยไม่สามารถจะขุดดินและหรือ (น่าจะเป็นรื้อ) โรงอิฐออกไปด้วยกรณีใด ๆ ให้จำเลยจ่ายเงินค่าแรงเป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อ ๒๐ กว่าปีมาแล้วที่ดินของจำเลยเป็นป่าสะแก ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร โจทก์กับพวกซึ่งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๖๐๘๗ ได้เดินผ่านเข้าออกตรงกลางที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๓๗๘ ของจำเลย ครั้นเมื่อ ๗ – ๘ ปีมานี้จำเลยที่ ๒ มาปลูกโรงอิฐทำอิฐขายในที่ดินของจำเลย จึงขอให้โจทก์ขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ไม่ใช่เรื่องละเมิด จึงไม่มีอายุความในการฟ้องคดี
สำหรับความเสียหายจำนวนที่สองที่โจทก์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าวัสดุที่ขาดหายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยอ้างว่าจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความขอผ่อนชำระและยังค้างชำระอยู่อีก ๒๘,๔๔๐.๐๔ บาท เห็นว่า ความเสียหายดังกล่าวเกิดแต่มูลละเมิด โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วต้องฟ้องร้องภายในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๘ วรรคแรก การที่รองผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวงทำบันทึกให้จำเลยกับนายเฉลิมศักดิ์ร่วมกันชดใช้ราคาของที่หายและจำเลยเซ็นชื่อรับทราบคำสั่งในบันทึกดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับผิดตามบันทึก เพราะจำเลยเพียงแต่เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งของรองผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวงเท่านั้น โจทก์จะฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดตามบันทึกดังกล่าวไม่ได้ และถือไม่ได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับความเสียหายดังกล่าวตั้งหลักฐานขึ้นโดยประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องภายในสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๘ การที่จำเลยผ่อนชำระเงินให้โจทก์เป็นการรับสภาพต่อเจ้าหนี้ด้วยใช้เงินบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง จำเลยผ่อนชำระเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๐ แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๒๔ ซึ่งเกินหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยผ่อนชำระครั้งสุดท้าย สิทธิเรียกร้องของโจทก์สำหรับความเสียหายจำนวนนี้จึงขาดอายุความ
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการจัดหาจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า หรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า มิใช่บุคคลผู้เป็นพ่อค้าน้ำมันเบนซิน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการที่จะเรียกเอาค่าน้ำมันเบนซินที่ค้างชำระจากจำเลยจึงมีอายุความ ๑๐ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๘ ฟ้องโจทก์สำหรับความเสียหายจำนวนนี้ไม่ขาดอายุความ
พิพากษาแก้ เป็นว่าฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยใช้ค่าวัสดุขาดหายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จำนวน ๒๘,๔๔๐.๐๔ บาท ขาดอายุความ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.