คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงิน100,000บาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยได้บันทึกด้วยว่าได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่จำเลยได้กู้ยืมจากโจทก์โดยทำบันทึกดังกล่าวภายหลังที่ออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์แล้วแม้กระทำในวันเดียวกันก็ตามดังนี้แม้จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริงแต่หนี้นั้นไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า การกระทำ ของ จำเลยไม่เป็น ความผิด พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3อนุญาต ให้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ว่าการกระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 หรือไม่ เห็นว่าตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 บัญญัติ ว่า “ผู้ใด ออก เช็ค ที่ ชำระหนี้ ที่ มี อยู่ จริง และบังคับ ได้ ตาม กฎหมาย โดย มี ลักษณะ หรือ มี การกระทำ อย่างใด อย่างหนึ่งดัง ต่อไป นี้ (1) เจตนา ที่ จะ ไม่ให้ มี การ ใช้ เงิน ตามเช็ค ฯลฯ ” เห็นว่าการกระทำ ใด จะ มีมูล ความผิด ตาม กฎหมาย ดังกล่าว จะ ต้อง พิจารณา ได้ความ ว่ามี หนี้ ที่ จะ ต้อง ชำระ ก่อน และ หนี้ นั้น จะ ต้อง บังคับ ได้ ตาม กฎหมายเช่น กู้เงิน กัน เกินกว่า 50 บาท ขึ้น ไป ถ้า มิได้ มี หลักฐาน แห่ง การกู้ยืม เป็น หนังสือ อย่างใด อย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ผู้ ยืม เป็น สำคัญจะ ฟ้องร้อง ให้ บังคับคดี หาได้ไม่ ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง และ ได้ มี การ ออก เช็ค เพื่อชำระหนี้ ดังกล่าว นั้น สำหรับ กรณี ของ โจทก์ ได้ความ ว่า จำเลย ได้ ยืมเงินโจทก์ ไป จำนวน 100,000 บาท โดย ไม่มี หลักฐาน แห่ง การ กู้ยืม เป็น หนังสือแต่อย่างใด ต่อมา วันที่ 27 พฤศจิกายน 2535 จำเลย ได้ ออก เช็ค สั่งจ่ายเงิน 100,000 บาท ลงวันที่ ล่วงหน้า เป็น วันที่ 27 มกราคม 2536เพื่อ ชำระหนี้ ให้ แก่ โจทก์ โดย ใน วันออกเช็ค จำเลย ได้ บันทึก ไว้ ด้วย ว่าจำเลย ได้ ออก เช็ค เพื่อ ชำระหนี้ ที่ จำเลย ได้ กู้ยืม จาก โจทก์ ไว้ แล้วปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 ซึ่ง โจทก์ มี เฉพาะ เอกสาร หมาย จ. 2ฉบับ เดียว ที่ อ้าง เป็น หลักฐาน ว่า จำเลย ได้ กู้เงิน โจทก์ ไป จำนวน100,000 บาท เห็น ได้ว่า เอกสาร หมาย จ. 2 ได้ กระทำ ขึ้น ภายหลัง ที่ออก เช็ค แล้ว แม้ จะ ได้ กระทำ ใน วันเดียว กัน ก็ ตาม ถือได้ว่า ขณะที่จำเลย ออก เช็ค ให้ โจทก์ นั้น แม้ จะ ฟัง ว่า จำเลย เป็น หนี้ โจทก์ อยู่ จริงแต่ หนี้ นั้น ก็ ไม่อาจ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย การกระทำ ของ จำเลย จึง ขาดองค์ประกอบ ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย ความผิด อัน เกิดจาก การใช้ เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 การกระทำ ของ จำเลย จึง ไม่เป็น ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษาต้อง กัน มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share