คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2บุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์แล้วล้อมรั้วไม้ไผ่และได้โต้แย้งคัดค้านการรังวัดที่ดินของโจทก์เพื่อออกโฉนดที่ดินขอเรียกค่าเสียหายและให้รื้อถอนรั้วส่วนที่รุกล้ำออกไปจำเลยที่1และที่2ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ค.กับ ห. ครอบครองมาแล้วยกให้แก่จำเลยที่1และที่2ครอบครองต่อมาเป็นเวลากว่า20ปีแล้วเป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน 3 แปลงติดต่อ กัน ตาม หลักฐาน แบบ แจ้ง การ ครอบครอง ที่ดิน หรือ ส.ค.1เลขที่ 75, 76 และ 84 ตำบล โคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัด ลพบุรี อยู่ ติดกับ ที่ดิน ของ นาง หมา โพธิ์ทอง ตาม หนังสือ รับรอง การ ทำ ประโยชน์ หรือ น.ส. 3 เลขที่ 9 เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวาปี 2510 นาง หมา แบ่งแยก ที่ดิน ออก เป็น 3 แปลง คือ ที่ดิน น.ส. 3เลขที่ 9 เนื้อที่ 1 ไร่ 84 ตารางวา เป็น ชื่อ ของ นาง หมา ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 90/9 เนื้อที่ 1 ไร่ , 1 งาน 99 ตารางวา เป็น ชื่อ ของนาย พวงกับนางอ่อน เชื้อนุ่ม และ ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 89/9เนื้อที่ 1 ไร่ 89 ตารางวา เป็น ชื่อ ของ จำเลย ที่ 1 กับ นาง ช่วย สุขสอาด ประมาณ ปี 2514 จำเลย ที่ 1 ขอ ออก หลักฐาน ที่ดิน รุกล้ำ เข้า ไป ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ทาง ด้าน ทิศตะวันออก คือ ที่ดิน น.ส. 3เลขที่ 92/90 เนื้อที่ ประมาณ 59 ตารางวา แล้ว จำเลย ที่ 1จดทะเบียน ยกให้ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น บุตร และ ที่ดิน น.ส. 3 ซึ่ง ติด กันเนื้อที่ 51 ตารางวา แล้ว จำเลย ที่ 1 จดทะเบียน ยกให้ จำเลย ที่ 2ต่อมา จำเลย ที่ 2 ได้ ขอ ออก เป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 2313 และ วันที่22 พฤศจิกายน 2532 จำเลย ที่ 2 จดทะเบียน จำนอง แก่ จำเลย ที่ 3เดือน ตุลาคม 2532 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ล้อม รั้ว ไม้ไผ่ ที่ดินทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว และ เดือน มกราคม 2533 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2บุกรุก ล้อม รั้ว เพิ่ม จาก ที่ดิน เดิม อีก รวมเป็น เนื้อที่ ประมาณ 1 ไร่ตาม แผนที่ สังเขป แนบท้าย ฟ้อง โจทก์ แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2รื้อถอน รั้ว ออกจาก ที่ดินพิพาท และ เพิกถอน น.ส. 3 เลขที่ 92/90 และน.ส.3 ก. เลขที่ 2313 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 อ้างว่า จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง เดือน ธันวาคม 2533 โจทก์ นำเจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด ลพบุรี รังวัด ที่ดิน ของ โจทก์ เพื่อ ออกโฉนด ที่ดิน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 โต้แย้ง คัดค้าน ที่ดิน ดังกล่าวโจทก์ ให้ เช่า จะ ได้ ค่าเช่า ไร่ ละ ประมาณ 4,000 บาท ต่อ เดือน ขอให้บังคับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รื้อถอน รั้ว ออกจาก ที่ดินพิพาท และปรับ ที่ดิน ให้ อยู่ ใน สภาพ ที่ เรียบร้อย หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้บุคคลภายนอก เป็น ผู้ปฏิบัติ โดย ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็นผู้ ออก ค่าใช้จ่าย ให้ เพิกถอน นิติกรรม การ จดทะเบียน ยกให้ ที่ดินพิพาทและ จดทะเบียน จำนอง และ เพิกถอน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินพิพาทให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย เดือน ละ 2,000 บาทนับแต่ เดือน ตุลาคม 2532 ถึง เดือน ธันวาคม 2533 เป็น ระยะเวลา 14 เดือนเป็น เงิน 28,000 บาท และ เดือน ละ 4,000 บาท ตั้งแต่ เดือน มกราคม 2534ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 4,000 บาท รวมเป็น เงิน 32,000 บาท และ ให้ชำระ ค่าเสียหาย เดือน ละ 4,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จะ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ออกจาก ที่ดินพิพาท
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ ที่ดิน ของ โจทก์ แต่ เป็น ที่ดิน ของ นาย คำพากับนางหมา ครอบครอง มาก ว่า 90 ปี ต่อมา ได้ ยกให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ซึ่ง เป็น บุตรเขยและ หลาน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ครอบครอง ต่อมา เป็น เวลา กว่า 20 ปีได้ มี การ ออก หลักฐาน น.ส. 3 และ น.ส.3 ก. และ ทำนิติกรรม โดยชอบ ด้วยกฎหมาย จึง ไม่ต้อง ชดใช้ ค่าเสียหาย ที่ดินพิพาท หาก ให้ เช่า จะ ได้ค่าเช่า ไม่เกิน เดือน ละ 500 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ยื่น คำบอกกล่าว ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 3 ศาลชั้นต้น อนุญาตและ จำหน่ายคดี สำหรับ จำเลย ที่ 3
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รื้อถอน รั้ว และออกจาก ที่ดินพิพาท นอกเหนือ จาก บริเวณ ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 92/90และ น.ส.3 ก. เลขที่ 2313 ห้าม เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาท กับ ให้จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน 8,000 บาทและ อีก เดือน ละ 500 บาท นับแต่ วันฟ้อง (วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534)จนกว่า จะ รื้อถอน รั้ว และ ออกจาก ที่ดินพิพาท
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำขอ ของ โจทก์ ใน ส่วน ที่ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รื้อถอน รั้ว ออกจาก ที่ดินพิพาทนอกเหนือ จาก บริเวณ ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 92/90 และ น.ส.3 ก.เลขที่ 2313 และ ห้าม จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาทดังกล่าว ตลอดจน คำขอ ที่ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ใช้ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ เสีย ด้วย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ระบุ ว่า จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ได้ บุกรุก เข้า ไป ใน ที่ดิน ของ โจทก์ แล้ว ล้อม รั้ว ไม้ไผ่และ ได้ โต้แย้ง คัดค้าน การ รังวัด ที่ดิน ของ โจทก์ เพื่อ ออก โฉนด ที่ดินขอ เรียก ค่าเสียหาย และ ให้ รื้อถอน รั้ว ส่วน ที่ รุกล้ำ ออก ไป จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ให้การ ว่า ที่ดินพิพาท ไม่ใช่ ที่ดิน ของ โจทก์ แต่ เป็น ที่ดินของ นาย คำพากับนางหมา ครอบครอง มา แล้ว ยกให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ครอบครอง ต่อมา เป็น เวลา กว่า 20 ปี แล้ว ฉะนั้น ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์จึง เป็น การ ฟ้อง เรียก กรรมสิทธิ์ ที่ดิน อันเป็น คดีมีทุนทรัพย์เมื่อ ราคา ทรัพย์สิน ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท คู่ความจึง ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย โดย นำเอา ที่ดิน ของ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 มา รวมกัน แล้ว หัก ออก ปรากฏว่าที่ดิน ของ โจทก์ มี มาก กว่า ตาม หลักฐาน ใน ส.ค.1 ส่วน ของ จำเลย ยัง ขาด อยู่โดย ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 มิได้ ล้อม รั้ว รุกแนวเขตที่ดิน ของ โจทก์ เป็น การ วินิจฉัย นอกเหนือ คำอุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 เป็น ทำนอง ปัญหาข้อกฎหมาย นั้น เห็นว่า แท้จริง แล้ว เป็น กรณีที่ ศาลอุทธรณ์ ใช้ ดุลพินิจ ใน การ วินิจฉัย พยานหลักฐาน ใน สำนวน ว่าฝ่าย โจทก์ หรือ จำเลย มี น้ำหนัก ดีกว่า เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน แล้ว เชื่อ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 มิได้ บุกรุก ล้อม รั้วและ ปัก หลัก รุกล้ำ แนวเขต ที่ดิน ของ โจทก์ จึง ไม่เป็น การ วินิจฉัยข้อเท็จจริง นอกเหนือ คำอุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 แต่อย่างใดและ ไม่ทำ ให้ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ส่วน ฎีกา ของ โจทก์ อีก ข้อ ที่ ว่าคำ กล่าวอ้าง ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ที่ ว่า สระ น้ำ ที่ โจทก์ ทำการ ถมเป็น ของ นาย คำพาและนางหมา ไม่น่าเชื่อถือ หาก ตรวจ ดู แผนที่ พิพาท ท้ายฟ้อง จะ เห็นว่า สระ น้ำ เป็น ของ โจทก์ เห็นว่า ฎีกา ของ โจทก์ ดังกล่าวเป็น การ โต้เถียง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง เช่นกัน จึง ต้องห้าม ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าวที่ ศาลชั้นต้น รับ ฎีกา ของ โจทก์ มา นั้น ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก ฎีกา ของ โจทก์

Share