คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดสิทธิเอาคืนซึ่งการครอบครองไว้เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375อันเป็นบทบัญญัติในเรื่องระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองแม้โจทก์จะอ้างว่ากรณีเป็นเรื่องการเรียกทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งสิทธิครอบครองซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4ลักษณะ3และประเด็นดังกล่าวนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้กำหนดประเด็นไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5) เมื่อที่ดินของจำเลยที่6มีการออกโฉนดซึ่งที่ดินทั้งแปลงแล้วน.ส.3ของที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นอันยกเลิกไปโฉนดที่ดินเลขที่13130ซึ่งจำเลยที่6รังวัดออกมาจากที่ดินน.ส.3ดังกล่าวนั้นอีกจึงเป็นโฉนดที่ดินที่ออกมาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสามเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาการที่จำเลยที่6ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่13130ทับที่ดินน.ส.3ของโจทก์ทั้งสามและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์สืบต่อกันมาจนถึงจำเลยที่4โดยมิได้เข้าครอบครองที่พิพาทกรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกิน1ปีนับแต่วันที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่6

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็น เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ใน การ ออก โฉนด ที่ดิน ยกเลิก เพิกถอน โฉนด ที่ดิน และจดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม เกี่ยวกับ ที่ดิน มี โฉนด ใน เขต จังหวัด ระยองตาม พระราชบัญญัติ ให้ ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน จำเลย ที่ 4 เป็น นิติบุคคล ตาม พระราชบัญญัติการ ปิโตรเลียม แห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2521 และ มีอำนาจ ใน การ ถือกรรมสิทธิ์ ที่ดิน โจทก์ ทั้ง สาม เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 267 ซึ่ง โจทก์ ทั้ง สามได้ ยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ มา โดย ตลอด ตั้งแต่ ปี 2509 จน ถึง ปัจจุบันโดย ไม่มี ผู้ใด โต้แย้ง ต่อมา โจทก์ ทั้ง สาม ยื่น คำร้องขอ ออก โฉนด ที่ดินแปลง ดังกล่าว และ ฟ้องคดี เมื่อ มี ผู้ มา ออก โฉนด ทับ ที่ดิน โจทก์ ทั้ง สามและ เมื่อ วันที่ 11 กรกฎาคม 2527 มี การ รังวัด ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สามโจทก์ ทั้ง สาม จึง ได้ ทราบ ว่า ที่ดิน แปลง ดังกล่าว บางส่วน เนื้อที่12 ไร่ นั้น เป็น ที่ดิน โฉนด เลขที่ 13130 ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3ได้ ร่วมกัน รังวัด ออก โฉนด ที่ดิน ให้ ผู้อื่น แล้ว ผู้อื่น ได้ จดทะเบียนโอน ขาย ให้ จำเลย ที่ 4 การ ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกัน รังวัดออก โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130 ดังกล่าว เป็น การ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผู้ขอ ให้ ออก โฉนด ไม่ใช่ ผู้มีสิทธิ ใน ที่ดิน และ ไม่ได้ ยึดถือ ครอบครองที่ดิน การ ยื่น คำขอ ออก โฉนด การ ประกาศ เป็น ไป โดย ไม่ชอบ ไม่มี การ ระวังแนวเขต ไม่มี การ รังวัด ทำให้ โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130 ทับ ที่ดิน ของโจทก์ บางส่วน เป็น เนื้อที่ 12 ไร่ เศษ ราคา ประมาณ 1,000,000 บาทจำเลย ที่ 4 ได้ ห้าม โจทก์ ทั้ง สาม เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ เป็นการ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ขอให้ พิพากษา ว่า ที่ดินพิพาท ตาม ฟ้อง เป็น ของโจทก์ ทั้ง สาม ห้าม จำเลย ทั้ง สี่ เข้า เกี่ยวข้อง ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2ที่ 3 ร่วมกัน เพิกถอน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130 ซึ่ง มี ชื่อ จำเลย ที่ 4และ ให้ ใส่ ชื่อ โจทก์ ทั้ง สาม เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ แทน หาก จำเลย ที่ 1ที่ 2 ที่ 3 ไม่ เพิกถอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา
จำเลย ทั้ง หก ให้การ ว่า จำเลย ที่ 6 ซึ่ง เป็น เจ้าของ ที่ดิน ได้ ยื่นคำขอ ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน รังวัด ออก โฉนด ที่ดิน ซึ่ง มี ที่ดินพิพาทรวม อยู่ ด้วย มี นาง สงวน แต่เพียง ผู้เดียว คัดค้าน เจ้าพนักงาน ที่ดิน เรียก คู่กรณี มา เปรียบเทียบ ผล ที่สุด ตกลง กัน ได้ เจ้าพนักงาน ที่ดินได้ ออก โฉนด ที่ดิน ให้ ใน นาม ของ จำเลย ที่ 6 เป็น โฉนด เลขที่ 13130ต่อมา จำเลย ที่ 6 แบ่งแยก ที่ดิน ให้ แก่ ทายาท ของ นาง สงวน จำนวน 5 ไร่ เป็น ที่ดิน โฉนด เลขที่ 15193 คงเหลือ เนื้อที่ อยู่ เพียง 6 ไร่3 งาน 67 ตารางวา เศษ ซึ่ง เป็น ที่พิพาท จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3ซึ่ง เป็น เจ้าพนักงาน ได้ ทำการ ออก โฉนด ตาม ระเบียบ ปฏิบัติ โดยชอบ ด้วยกฎหมาย แล้ว เหตุ ที่ โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้องคดี นี้ เนื่องจาก โจทก์ ทั้ง สามฟ้อง จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ต่อ ศาลชั้นต้น ใน คดีแพ่ง หมายเลขดำ ที่553/2526 และ 554/2526 โดย อ้างว่า จำเลย ทั้ง สาม ออก โฉนด ที่ดินเลขที่ 15193, 9892 และ 2858 โดยมิชอบ แต่ โจทก์ นำ ชี้ ที่ดิน ใน คดีดังกล่าว รุกล้ำ เข้า มา ใน ที่ดินพิพาท นี้ ด้วย โดย ไม่ทราบ ว่า ที่ดินของ โจทก์ ทั้ง สาม อยู่ ที่ ใด แสดง ว่า โจทก์ ทั้ง สาม ไม่เคย ครอบครอง และทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ฟ้องคดี นี้ เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดี หมายเลขดำที่ 553/2526 จำเลย ที่ 6 ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 5 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2522 จำเลย ที่ 5 ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลยที่ 4 เมื่อ วันที่ 25 เมษายน 2523 จำเลย ที่ 4 และ ที่ 5 ซึ่ง เป็นผู้ซื้อ จดทะเบียน รับโอน อัน มีค่า ตอบแทน และ กระทำการ โดยสุจริตจึง ได้รับ ความคุ้มครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300โจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง เรียก ที่ดิน คืน เกินกว่า 1 ปี จึง ไม่มี อำนาจฟ้องที่ดินพิพาท มี ราคา ไม่ถึง 1,000,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฎีกา ว่า ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์นำ เอา ระยะเวลา ฟ้อง เรียกคืน ซึ่ง การ ครอบครอง ซึ่ง เป็น เรื่อง อำนาจฟ้อง มา วินิจฉัย เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น และ คดี นี้ เป็น เรื่องฟ้อง เรียก ทรัพย์ คืน เพราะ เป็น การ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ออก โฉนดจะ เอา ระยะเวลา ใน เรื่อง แย่ง การ ครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มา วินิจฉัย หาได้ไม่ นั้นเห็นว่า ศาลชั้นต้น ได้ กำหนด ประเด็น ข้อพิพาท ใน เรื่อง ฟ้องโจทก์ขาด สิทธิ เอาคืน ซึ่ง การ ครอบครอง ไว้ เพราะ จำเลย ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6ให้การ ต่อสู้ ว่าคดี โจทก์ ขาดอายุความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 อันเป็น บทบัญญัติ ใน เรื่อง ระยะเวลา ใน การ ใช้ สิทธิ ฟ้องคดีเพื่อ เอาคืน ซึ่ง การ ครอบครอง โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สามเป็น เจ้าของ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3)เลขที่ 267 โจทก์ ทั้ง สาม จึง มี แต่เพียง สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดินดังกล่าว เท่านั้น แม้ โจทก์ จะ อ้างว่า กรณี เป็น เรื่อง การ เรียก ทรัพย์ คืนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ก็ เป็น การ ฟ้องคดี เพื่อ เรียกคืน ซึ่ง สิทธิ ครอบครองต้อง อยู่ ภายใต้ บังคับ แห่งกฎหมาย ว่าด้วย การ ครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 3 และ สิทธิ ฟ้องคดีดังกล่าว นี้ เป็น ข้อกฎหมาย เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนแม้ มิได้ กำหนด ประเด็น ไว้ ศาล ก็ มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ดังนั้น ที่ ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์ หยิบยก ปัญหา ดังกล่าว ขึ้น มา วินิจฉัย จึง หาใช่ เป็นการ วินิจฉัย นอกประเด็น ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา ไม่
มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา ต่อไป ว่า โจทก์ ทั้ง สามครอบครอง และ ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท หรือไม่ ใน ปัญหา นี้ โจทก์ มีพยาน เบิกความ สนับสนุน ว่า หลังจาก โจทก์ ทั้ง สาม ซื้อ ที่ดิน น.ส. 3เลขที่ 267 แล้ว ได้ เข้า ปลูก มัน สำปะหลัง และ มะพร้าว ตลอดมา โดย โจทก์มอบ ให้ นาย ฉัตรชัย เป็น ผู้ดูแล และ เสีย ภาษีบำรุงท้องที่ แทน ตั้งแต่ ต้น จน ถึง ปี 2526 นาย ฉัตรชัย สั่ง ให้ นาย น้อง เป็น ผู้ ไป ปลูก มัน สำปะหลัง และ ปลูก ต้นมะพร้าว ซ่อมแซม ใน ที่ดิน ส่วน ฝ่าย จำเลย ที่ 1ถึง ที่ 6 มี จำเลย ที่ 6 นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 6 ซื้อ ที่ดิน มา เมื่อ ปี2508 แล้ว จำเลย ที่ 6 มอบ ให้ นาย ชุ่ม กับ นาง สงวน เป็น ผู้ดูแล ปลูก มัน สำปะหลัง และ มะพร้าว ลง ใน ที่ดินพิพาท และ ต่อมา จำเลย ที่ 1นำ ที่ดิน ที่ เหลือ จาก การ ออก โฉนด ที่ดิน ครั้งแรก ไป ขอ ออก โฉนด ที่ดิน อีกทางราชการ ออก โฉนด ที่ดิน ให้ คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 13130 อันเป็นที่ดินพิพาท ใน คดี นี้ ปี 2522 จำเลย ที่ 6 โอน ขาย ต่อ ให้ จำเลย ที่ 5ซึ่ง ข้อเท็จจริง ต่อมา จำเลย ที่ 5 นำสืบ ว่า เมื่อ ซื้อ ที่ดินดังกล่าว แล้ว ได้ มอบ ให้ นาง ประเพลิน เป็น ผู้ดูแล ที่ดิน นี้ แทน เป็น การ เบิกความ ลอย ๆ ที่ จำเลย ที่ 5 อ้างว่า จำเลย ที่ 5 มอบ ให้นาง ประเพลิน เป็น ผู้ ผู้ดูแล นั้น ก็ ไม่ปรากฏ ลักษณะ ของ การ เข้า ครอบครอง ของ นาง ประเพลิน ว่า เป็น อย่างไร ทั้งที่ ที่ดินพิพาท เป็น ที่ว่างเปล่า ส่วน ที่ จำเลย ที่ 4 นำ นาย อภิสิทธิ์ เบิกความ ว่า หลังจาก จำเลย ที่ 4 ซื้อ ที่ดินพิพาท มาจาก จำเลย ที่ 5 แล้ว ได้ เข้าครอบครอง ที่ดิน ดังกล่าว โดย เข้า ไป ก่อสร้าง วาง ท่อ ส่ง ก๊าซ ธรรมชาติสถานี ควบคุม และ สถานีวิทยุ นั้น ก็ ปรากฏว่า พยาน ปาก นี้ ไม่ ระบุ ยืนยันชัดเจน ว่า จำเลย ที่ 4 เข้า ไป ก่อสร้าง วาง ท่อ ส่ง ก๊าซ และ อาคาร ต่าง ๆใน ที่ดิน แปลง ใด และ จะ ถือว่า จำเลย ที่ 4 เข้า ไป ก่อสร้าง ใน ที่ดินทุก แปลง ย่อม เป็น ไป ไม่ได้ เพราะ จำเลย ที่ 4 ซื้อ ที่ดิน มา รวมทั้งสิ้น5 แปลง มี เนื้อที่ รวมกัน ประมาณ 45 ไร่ เห็นว่า พยานหลักฐาน ของโจทก์ มี น้ำหนัก ดีกว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 6 ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า โจทก์ ทั้ง สาม ได้ ครอบครอง และ ทำประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาทสืบต่อ กัน ตลอดมา
โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา ต่อไป ว่า การ ออก โฉนด ที่ดินพิพาท ของจำเลย ที่ 6 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใน ปัญหา นี้ เห็นว่า การ ที่ จำเลย ที่ 6นำ น.ส. 3 เลขที่ 43 ไป ขอ ออก โฉนด เลขที่ 2912 และ 2913 นั้นปรากฏว่า จำนวน เนื้อที่ ของ ที่ดิน ทั้ง 2 โฉนด ดังกล่าว เมื่อ รวมกัน แล้วใกล้เคียง กับ เนื้อที่ ของ ที่ดิน ตาม น.ส. 3 เดิม ดังนั้น จึง ไม่มีเหตุผล อัน ใด ที่ จำเลย ที่ 6 จะ นำ น.ส. 3 ดังกล่าว ไป ขอ รังวัด ออกโฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130 (ก่อน แบ่งแยก เป็น โฉนด เลขที่ 15193)ได้ เนื้อที่ อีก ประมาณ 12 ไร่ จำเลย ที่ 6 เบิกความ ว่า เมื่อ ออก โฉนดใน ครั้งแรก ได้ ที่ดิน 2 แปลง แล้ว ยัง ปรากฏว่า เนื้อที่ดิน ใน น.ส. 3เดิม เกิน มา อีก ประมาณ 12 ไร่ จำเลย ที่ 6 จึง ได้ ขอ ออก โฉนด อีก เป็นฉบับที่ สาม นั้น ขัด ต่อ ความ เป็น จริง เพราะ เมื่อ จำเลย ที่ 6 ไม่มีที่ดิน เหลือ อยู่ อีก แล้ว จำเลย ที่ 6 จะ นำ น.ส. 3 ฉบับ เดิม ไป ขอ ออกโฉนด ที่ดิน ใหม่ ได้ เนื้อที่ เกือบ ประมาณ 12 ไร่ ได้ อย่างไร เมื่อข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 6 มี การ ออก โฉนด ที่ดินทั้ง แปลง แล้ว น.ส. 3 เลขที่ 43 ของ ที่ดิน แปลง นั้น ย่อม เป็น อันยกเลิก ไป โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130 ซึ่ง จำเลย ที่ 6 รังวัด ออก มาจากที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 43 จึง เป็น โฉนด ที่ดิน ที่ ออก มา โดย ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61
ส่วน ประเด็น ตาม ฎีกา โจทก์ ทั้ง สาม ที่ ว่า โจทก์ นำ คดี มา ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่ เวลา ถูก แย่ง การ ครอบครอง หรือไม่ นั้น เห็นว่าเมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ ทั้ง สาม เป็น ฝ่าย ครอบครอง ที่ดินพิพาท ตลอดมา การ ที่ จำเลย ที่ 6 ขอ ออก โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130ทับ ที่ดิน น.ส. 3 เลขที่ 267 ของ โจทก์ ทั้ง สาม และ จดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ สืบต่อ กัน มา จน ถึง จำเลย ที่ 4 โดย มิได้ เข้า ครอบครองที่ดินพิพาท กรณี จึง ยัง ถือไม่ได้ว่า จำเลย แย่ง การ ครอบครอง ที่ดินพิพาท จาก โจทก์ โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้องคดี ได้ แม้ จะ เกิน 1 ปี นับแต่ วันที่ ทางราชการ ออก โฉนด ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 6
พิพากษากลับ ว่า โจทก์ ทั้ง สาม เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินพิพาท ให้ เพิกถอน โฉนด ที่ดิน เลขที่ 13130

Share