คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คดีแรกโจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คที่จำเลยที่1สั่งจ่ายมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่จำเลยที่1เก็บมาจากลูกค้าของโจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้บังคับจำเลยที่1ใช้เงินตามเช็คส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นตัวแทนเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากลูกค้าของโจทก์แล้วไม่นำส่งให้โจทก์เป็นการฟ้องว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาตัวแทนไม่นำส่งเบี้ยประกันภัยที่เรียกเก็บจากลูกค้าให้โจทก์ซึ่งแม้มูลหนี้จะสืบเนื่องมาจากเบี้ยประกันภัยเช่นเดียวกันแต่สภาพแห่งข้อหาของทั้งสองคดีต่างกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ตัวแทน ของ โจทก์ ใน การ หาลูกค้า เพื่อ เอา ประกันภัย รถยนต์ กับ โจทก์ โดย มีอำนาจ รับ เงินค่า เบี้ยประกัน ภัย รถยนต์ จาก ลูกค้า และ มี หน้าที่ ส่งมอบ เงินค่า เบี้ยประกัน ภัย ที่ รับ ไว้ แก่ โจทก์ มี จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ค้ำประกันจำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ได้ ติดต่อ หา ลูกค้า นำ รถยนต์ มา เอา ประกันภัยกับ โจทก์ รวม 59 คัน เป็น ค่า เบี้ยประกัน ภัย ทั้งสิ้น 867,938 บาทเมื่อ หัก ค่า นายหน้า ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ได้รับ แล้ว จำเลย ที่ 1มี หน้าที่ จะ ต้อง ส่งมอบ เงิน ค่า เบี้ยประกัน ภัย ให้ โจทก์ เป็น เงิน658,769 บาท แต่ จำเลย ที่ 1 ไม่ส่ง เบี้ยประกัน ภัย ดังกล่าวให้ โจทก์ อันเป็น การ ผิดสัญญา ตัวแทน โจทก์ ทวงถาม จำเลย ทั้ง สอง แล้วแต่ จำเลย ทั้ง สอง เพิกเฉย ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย คิด ดอกเบี้ยถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 95,515 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันหรือ แทน กัน ชำระ เงิน จำนวน 754,284 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 658,769 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้นไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้แสดง มาใน คำฟ้อง ว่า รถยนต์ ทั้ง 59 คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ติดต่อ ให้ เอา ประกันภัยกับ โจทก์ เป็น รถ อะไร แต่ละ คัน ราคา เท่าไร ฟ้อง ของ โจทก์ จึง เป็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลย ทั้ง สอง ไม่สามารถ ที่ จะ เข้าใจ และ ต่อสู้ คดีใน ประเด็น ดังกล่าว ได้ ฟ้องโจทก์ เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 590/2534 ของ ศาลชั้นต้น ซึ่ง กำลัง อยู่ ระหว่าง พิจารณา เพราะ โจทก์นำ หนี้ ตาม ฟ้องคดี ดังกล่าว มา รวมกับ หนี้ อื่น ฟ้อง เป็น คดี นี้ อีกจำเลย ที่ 1 ส่ง เบี้ยประกัน ภัย ให้ โจทก์ เรื่อย มา ไม่เคย ค้างชำระหาก ค้างชำระ ก็ ไม่เกิน 50,000 บาท โจทก์ มีสิทธิ เรียก ดอกเบี้ยไม่เกิน ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี และ จำเลย ที่ 2 ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ตาม สัญญาค้ำประกัน ไม่เกิน 500,000 บาท เท่านั้น ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน 635,346.60 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 31กรกฎาคม 2533 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ทั้งนี้ จำนวน ดอกเบี้ยนับ ถึง วันฟ้อง (วันที่ 22 กรกฎาคม 2534) ต้อง ไม่เกิน 95,515 บาทตาม ที่ โจทก์ ขอ มา ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วมรับผิด ด้วย ใน วงเงิน ไม่เกิน500,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วันที่31 กรกฎาคม 2533 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ข้อกฎหมาย ของ จำเลยทั้ง สอง ต่อไป ว่า ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1 เป็น ฟ้องซ้อน กับ คดีหมายเลขดำ ที่ 590/2534 ของ ศาลชั้นต้น หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นว่าตาม สำเนา คำฟ้อง คดี หมายเลขดำ ที่ 590/2534 ของ ศาลชั้นต้น เอกสารหมาย ล. 4 โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ทรงเช็ค 2 ฉบับที่ จำเลย ที่ 1 ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย มอบ ให้ โจทก์ เพื่อ ชำระหนี้ค่า เบี้ยประกัน ภัย ที่ จำเลย ที่ 1 เก็บ มาจาก ลูกค้า ของ โจทก์ เมื่อ เช็คทั้ง สอง ฉบับ ถึง กำหนด ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงินขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 ใช้ เงิน ตามเช็ค ทั้ง สอง ฉบับ ให้ แก่ โจทก์ประเด็น มี ว่า จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ใช้ เงิน ตามเช็ค ต่อ โจทก์หรือไม่คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ตัวแทน เรียกเก็บ เบี้ยประกัน ภัยจาก ลูกค้า ของ โจทก์ แล้ว ไม่นำ ส่ง ให้ โจทก์ เป็น กรณี ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1ผิดสัญญา ตัวแทน ไม่นำ ส่ง เบี้ยประกัน ภัย ที่ เรียกเก็บ จาก ลูกค้า ให้ โจทก์ประเด็น มี ว่า จำเลย ที่ 1 ผิดสัญญา ตัวแทน ค้าง ส่ง เบี้ยประกัน ภัยแก่ โจทก์ หรือไม่ ดังนั้น สิทธิ ใน การ ฟ้อง มี สภาพแห่งข้อหา ของ โจทก์ทั้ง สอง คดี จึง ต่างกัน แม้ มูลหนี้ จะ สืบเนื่อง มาจาก เบี้ยประกัน ภัยเช่นเดียวกัน ก็ ตาม ฟ้อง ของ โจทก์ คดี นี้ จึง ไม่เป็น ฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)”
พิพากษายืน

Share