คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ฎีกาของจำเลยที่ว่าในการวินิจฉัยคดีนั้นศาลล่างทั้งสองหยิบยกพยานหลักฐานของจำเลยขึ้นมาพิจารณาแต่เพียงบางส่วนจึงเห็นว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมถ้าพิจารณาให้ครบถ้วนแล้วจะเห็นได้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดการวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา227นั้นเป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลโดยการโต้เถียงข้อเท็จจริงจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นมากล่าวอ้างนั้นเป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องและที่จำเลยให้การรับซึ่งฟังเป็นยุติแล้วศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้. เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้อความที่จำเลยลงโฆษณานั้นเป็นข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมแล้วจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิที่จะนำข้อความหมิ่นประมาทนั้นไปลงประกาศในหนังสือพิมพ์หรือไม่เพราะจำเลยไม่มีสิทธิที่จะกระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายได้ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยมีสิทธิลงประกาศในหนังสือพิมพ์หรือไม่ไม่ได้ทำให้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ก่อน สืบพยาน โจทก์ จำเลย ขอ ถอน คำ ให้การ เดิม ที่ ให้ การ ปฏิเสธโดย ให้การ ใหม่ ว่า ตาม วัน เวลา ที่ โจทก์ กล่าวหา จำเลย ได้ ส่งข้อความ ตาม ที่ ฟ้อง ไป ลง โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์ รวมประชาชาติธุรกิจและ หนังสือพิมพ์ ภาษา จีน ชื่อ ซิงจงเอี๋ยน จริง ตาม ฟ้อง แต่ จำเลยไม่ ต้อง รับ โทษ เพราะ มี สิทธิ ตาม กฎหมาย ที่ จะ กล่าว หรือ ส่งข้อความ ตาม ฟ้อง ไป ลง
ศาลชั้นต้น สั่ง ว่า เมื่อ จำเลย ยอมรับ ว่า ได้ ส่ง ข้อความ ตามฟ้อง ไป ลง หนังสือพิมพ์ จริง ข้อเท็จจริง เป็น อัน ฟัง ยุติ ว่าจำเลย เป็น ผู้ กล่าว ข้อความ และ นำ ข้อความ นั้น ไป ลง โฆษณา ใน หน้าหนังสือพิมพ์ ตาม ฟ้อง ปัญหา คง มี เพียง ว่า จำเลย มี สิทธิ ที่ จะกระทำ เช่นนั้น หรือ ไม่ ศาลชั้นต้น สั่ง งด สืบ พยาน โจทก์ คง ให้จำเลย นำสืบ ตาม ข้อ กล่าวอ้าง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว เห็นว่า ข้อความ ที่ โฆษณา ใน หนังสือพิมพ์รวมประชาติธุรกิจ ถือ ได้ ว่า เป็น การ หมิ่นประมาท ส่วน ที่ โฆษณาใน หนังสือพิมพ์ ภาษา จีน ไม่ เป็น การ หมิ่นประมาท พิพากษา ว่า จำเลยมี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ให้ จำคุก 1 เดือน15 วัน ปรับ 1,500 บาท ลดโทษ หนึ่ง ใน สาม ตาม มาตรา 78 คง จำคุก1 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอ ไว้ 1 ปี
โจทก์ โจทก์ร่วม และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลชั้นต้น เห็นว่า เป็น ฎีกา ใน ปัญหา ข้อ กฎหมาย จึง สั่ง รับ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ใน การ วินิจฉัย คดี นั้นศาลล่าง ทั้ง สอง หยิบ ยก พยาน หลักฐาน ของ จำเลย ขึ้น มา พิจารณาแต่ เพียง บางส่วน จึง เห็นว่า จำเลย กระทำ ผิด ถ้า พิจารณา ให้ ครบถ้วนแล้ว จะ เห็น ได้ ว่า จำเลย ไม่ ได้ กระทำ ความผิด การ วินิจฉัย คดีของ ศาลล่าง ทั้ง สอง ดังกล่าว จึง ไม่ ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 เห็นว่า ฎีกา ของ จำเลยดังกล่าว เป็น ฎีกา โต้แย้ง การ รับฟัง พยาน หลักฐาน ของ ศาล โดย การโต้เถียง ข้อเท็จจริ จึง เป็น ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริง ที่ จำเลย ยก ขึ้น มา กล่าว อ้าง นั้น เป็น ข้อเท็จจริงนอกเหนือ จาก ที่ โจทก์ กล่าว มา ใน ฟ้อง และ ที่ จำเลย ให้การ รับซึ่ง ฟัง เป็น ยุติ แล้ว ศาลฎีกา จึง วินิจฉัย ให้ ไม่ ได้
ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ศาลอุทธรณ์ มิได้ วินิจฉัย ใน ประเด็น ที่ จำเลยได้ อุทธรณ์ ว่า จำเลย มี สิทธิ ลง ประกาศ ใน หนังสือพิมพ์ หรือ ไม่การ วินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ จึง ไม่ ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (2) ซึ่ง ต้อง นำ มา ใช้ใน คดี อาญา คือ ต้อง พิจารณา ตาม ประเด็น ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด และที่ จำเลย อุทธรณ์ นั้น เห็นว่า เมื่อ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ข้อความที่ จำเลย ลง โฆษณา นั้น เป็น ข้อความ ที่ หมิ่นประมาท โจทก์ร่วม แล้วจึง ไม่ มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ว่า จำเลย มี สิทธิ ที่ จะ นำข้อความ หมิ่นประมาท นั้น ไป ลง ประกาศ ใน หนังสือพิมพ์ หรือไม่ เพราะจำเลย ไม่ มี สิทธิ ที่ จะ กระทำ การ อัน เป็น ความผิดต่อ กฎหมาย ได้จึง ไม่ ได้ ทำ ให้ การ วินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมายดัง ที่ จำเลย ฎีกา
พิพากษายืน.

Share