คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา182จะให้ศาลกำหนดวันชี้สองสถานโดยแจ้งให้คู่ความทราบแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายนัดโดยสั่งในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งว่าจำเลยที่1ขาดนัดยื่นคำให้การประกอบกับมาตรา70ก็ให้อำนาจศาลที่จะสั่งให้โจทก์มีหน้าที่นำส่งหมายนัดได้จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วศาลไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบอีก จำเลยทั้งหกไม่ทราบวันนัดชี้สองสถานเพราะโจทก์ไม่ได้นำส่งหมายนัดชี้สองสถานตามคำสั่งศาลย่อมทำให้กระบวนพิจารณาเสียไปโดยศาลไม่อาจทำการชี้สองสถานในวันนัดนั้นได้การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าวโดยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา174(2) การทิ้งฟ้องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลเหมือนกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องหรือถอนฟ้องหรือยอมความกันตามมาตรา151การที่ศาลไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์จึงชอบแล้ว

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง จาก โจทก์ ฟ้อง ขอ บังคับ ให้ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 6จดทะเบียน เพิกถอน นิติกรรม ขาย และ ให้ จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 จดทะเบียนเพิกถอน นิติกรรม จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5646, 23567 และ 22957หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา หาก ไม่สามารถดำเนินการ ดังกล่าว ได้ ให้ จำเลย ทั้ง หก ร่วมกัน ชำระ ค่าเสียหาย157,000,000 บาท จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ จำเลย ที่ 2ถึง ที่ 6 ให้การ ต่อสู้ คดี แล้ว ต่อมา โจทก์ ยื่น คำร้อง เมื่อ วันที่ 6พฤศจิกายน 2535 ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ว่า จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การและ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ต่อไป ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า จำเลย ที่ 1ขาดนัด ยื่นคำให้การ นัด ชี้สองสถาน แจ้ง วันนัด ให้ จำเลย ทุกคน ทราบการ นำ ส่ง ไม่มี ผู้รับ โดยชอบ ให้ ปิด ให้ โจทก์ นำ ส่ง ภายใน 7 วัน และนัด ชี้สองสถาน ใน วันที่ 24 ธันวาคม 2535 เมื่อ ถึง วันนัดชี้สองสถานโจทก์ และ ทนายโจทก์ ไม่มา ศาล ส่วน ทนายจำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 6 มา ศาลและ ยื่น คำร้อง ว่า โจทก์ มิได้ ปฏิบัติ ตาม คำสั่งศาล โดย เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี ภายใน เวลา ที่ ศาล กำหนด ไว้ ถือว่า โจทก์ ทิ้งฟ้อง ขอให้จำหน่ายคดี และ เจ้าหน้าที่ศาล ก็ ได้ รายงาน ต่อ ศาล ว่า โจทก์ มิได้ นำ ส่งหมาย ให้ จำเลย
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า ศาล มี คำสั่ง ให้ โจทก์ นำ ส่งหมาย นัดชี้สองสถาน ให้ จำเลย ทั้ง หก ทราบ ภายใน 7 วัน แต่ โจทก์ มิได้ ดำเนินการตาม คำสั่งศาล ถือว่า โจทก์ เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดี ภายใน เวลา ที่ ศาลกำหนด ถือว่า ทิ้งฟ้อง ให้ จำหน่ายคดี ออกจาก สารบบความ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้โจทก์ นำ ส่งหมาย นัด ให้ จำเลย เป็น การ ไม่ชอบ เพราะ เมื่อ ศาล กำหนด วันนัดชี้สองสถาน แล้ว ศาล ต้อง ออกหมาย กำหนด วันนัดชี้สองสถาน ส่ง ให้ แก่คู่ความ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 นั้นเห็นว่า แม้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 จะ บัญญัติให้ ศาล กำหนด วันนัดชี้สองสถาน โดย แจ้ง ให้ คู่ความ ทราบ ก็ ตาม แต่เมื่อศาล มี คำสั่ง ให้ โจทก์ มี หน้าที่ นำ ส่งหมาย และ ได้ สั่ง ใน วันที่ โจทก์ยื่น คำร้องขอ ให้ สั่ง ว่า จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ ซึ่ง ท้ายคำร้อง โจทก์ มี ข้อความ ว่า ข้าพเจ้า รอ ฟัง คำสั่ง อยู่ ถ้า ไม่ รอ ให้ถือว่า ทราบ แล้ว จึง ต้อง ถือว่า โจทก์ ทราบ คำสั่งศาล ดังกล่าว ใน วันยื่น คำร้อง แล้ว ศาล ไม่จำต้อง แจ้ง คำสั่ง ดังกล่าว ให้ โจทก์ ทราบ อีกดัง ที่ โจทก์ ฎีกา ทั้ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70ก็ บัญญัติ ให้ อำนาจศาล ที่ จะ มี คำสั่ง ให้ โจทก์ มี หน้าที่ จัดการ นำ ส่งหมายนัด ได้ ดังนั้น คำสั่งศาล ชั้นต้น จึง ชอบแล้ว
ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า ถึง แม้ โจทก์ จะ มิได้ ปฏิบัติ ตาม คำสั่งศาล ซึ่งมี คำสั่ง ให้ นำ ส่งหมาย นัด ชี้สองสถาน ให้ แก่ จำเลย ทั้ง หก ก็ หา ได้ทำให้ กระบวนพิจารณา เสีย ไป ไม่ นั้น เห็นว่า การ ที่ ศาล ได้ กำหนดนัด ทำการ ชี้สองสถาน ไว้ แล้ว แต่ จำเลย ทั้ง หก ยัง ไม่ทราบ วันนัดชี้สองสถาน เพราะ โจทก์ ไม่ได้ นำ ส่งหมาย นัด ชี้สองสถาน ให้ แก่ จำเลยทั้ง หก ตาม คำสั่งศาล ศาล จึง ไม่อาจ ทำการ ชี้สองสถาน ใน วันนัด ดังกล่าวย่อม ทำให้ กระบวนพิจารณา เสีย ไป และ การ ที่ โจทก์ ไม่ปฏิบัติ ตาม คำสั่งศาล โดย เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดี ภายใน เวลา ที่ ศาล เห็นสมควร กำหนด ย่อม เป็นการ ทิ้งฟ้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ศาลชั้นต้น สั่ง จำหน่ายคดี จึง ชอบแล้ว
ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า ศาล สั่ง จำหน่ายคดี โดย มิได้ มี คำสั่งกำหนด เงื่อนไข เรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียม เป็น การ ไม่ชอบ นั้น เห็นว่ากรณี ทิ้งฟ้อง นั้น ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ ให้ คืน ค่าธรรมเนียมศาล ให้ แก่โจทก์ เหมือน อย่าง กรณี ที่ ศาล ไม่รับ คำฟ้อง หรือ ถอนฟ้อง หรือ ยอมความกัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ฉะนั้น ที่ศาลล่าง ทั้ง สอง ไม่ สั่ง คืน ค่าธรรมเนียมศาล ให้ แก่ โจทก์ จึง เป็น การ ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share