คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่นายจ้างให้ลูกจ้างที่ทำงานเป็นพนักงานเสริฟพักอาศัยอยู่ที่ชั้นบนของภัตตาคารและให้ลูกจ้างรับประทานอาหารวันละ2มื้อนั้นมีลักษณะเป็นการให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลืออันเป็นสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างส่วนเงินค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากลูกค้าเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าอาหารโดยมีวัตถุประสงค์จะนำเงินดังกล่าวมาแบ่งปันจ่ายให้เป็นรางวัลแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากการจ่ายค่าจ้างตามปกติในกรณีที่นายจ้างเรียกเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายเงินค่าบริการแก่ลูกจ้างเงินค่าบริการดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ2เช่นกัน. โจทก์เป็นพนักงานเสริฟในภัตตาคารของจำเลยชอบพูดจาหยาบคายกับลูกค้าค่าพนักงานอื่นและเคยด่าผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยกรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดอันจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เสียได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ47แต่พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงเลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน่าแก่โจทก์.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ใน ตำแหน่งพนักงานเสริฟ จ่าย ค่าจ้าง ทุกวัน สิ้นเดือน จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดยอ้าง ว่า โจทก์ จงใจ ทำ ให้ นายจ้าง ได้ รับ ความเสียหาย ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือ ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน และ คำสั่ง อัน ชอบ ด้วยกฎหมาย ของ นายจ้าง กรณี ร้ายแรง ซึ่ง ไม่ เป็น ความจริง ตลอดเวลาที่ทำงาน จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ให้ โจทก์ ต่ำกว่า อัตรา ค่าจ้าง ชั้นต่ำและ สั่ง ให้ โจทก์ ทำงาน เกิน เวลา ทำงาน ปกติ โดย จำเลย ยัง ค้างจ่ายค่าจ้าง ใน การ ทำงาน ล่วงเวลา แก่ โจทก์ ด้วย ขอ ให้ ศาล พิพากษา ให้จำเลย จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าเสียหายจาก การ เลิกจ้าง ไม่ เป็นธรรม ค่าจ้าง ที่ ค้าง ชำระ และ ค่า ล่วงเวลาพร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ มี เวลา ทำงาน กับ จำเลย เพียง 1 ปี 5 เดือนจำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ จงใจ ขัด คำสั่ง ของ นายจ้าง อัน ชอบด้วย กฎหมาย ละเลย ต่อ คำสั่ง เช่นว่า นั้น เป็น อาจิณ ทำ ความผิดร้ายแรง กระทำการ อัน เป็น ปฏิปักษ์ และ ไม่ เหมาะสม แก่ หน้าที่ คือมัก ใช้ วาจา ไม่ สุภาพ และ ใช้ วาจา เสียดสี พนักงาน ด้วยกัน และผู้บังคับบัญชา ใช้ วาจา ไม่ สุภาพ และ ไล่ ลูกค้า ซึ่ง มา ใช้ บริการและ โจทก์ ยัง ขาด งาน เกินกว่า 3 วัน ทำงาน ติดต่อ กัน จำเลย จะ ปลดโจทก์ ออก แต่ โจทก์ ว่า จะ ขอ ลาออก แล้ว ไม่ ลาออก จำเลย จึง ปลดโจทก์ ออก จาก งาน โดย ไม่ จำต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ไม่ ต้อง จ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหาย จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ให้ โจทก์ สูงกว่า อัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำ ตาม กฎหมาย แล้ว เพราะ จำเลย ได้ จ่าย เงินเพิ่ม พิเศษเงิน ค่าบริการ แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย พัก อาศัย อยู่ ชั้น บน และ ให้โจทก์ รับประทาน อาหาร อีก วันละ 2 มือ คิด รวม แล้ว ไม่ ต่ำกว่า เดือนละ 2,200 บาท โจทก์ จึง ไม่ มี สิทธิ เรียกร้อง ค่าจ้าง ค้างชำระจำเลย ไม่ เคย สั่ง ให้ โจทก์ ทำงาน เกินกว่า เวลา ทำงาน ที่ กฎหมายกำหนด จึง ไม่ ต้อง จ่าย ค่า ล่วงเวลา ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า การ ที่ โจทก์ ชอบ พูดจา หยาบคาย กับลูกค้า ด่า พนักงาน อื่น และ เคย ด่า ผู้จัดการ ฝ่าย บุคคล ของ จำเลยยัง ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น ความผิด ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 แต่ เป็น เหตุ ให้ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ได้โดย ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ให้โจทก์ ค่า อาหาร และ ค่า ที่พัก ไม่ ใช่ ค่าจ้าง พิพากษา ให้ จำเลยจ่าย ค่าจ้าง ค้างจ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้าพร้อมด้วย ดอกเบี้ย คำขอ อื่น ให้ ยก
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า การ ที่ จำเลย ให้โจทก์ พัก อาศัย อยู่ ที่ ชั้นบน ของ ภัตตาคาร และ ให้ โจทก์ รับประทานอาหาร วันละ 2 มื้อ นั้น มี ลักษณะ เป็น การ ให้ ความ อนุเคราะห์ช่วยเหลือ อัน เป็น สวัสดิการ ที่ จำเลย จัด ให้ แก่ พนักงาน ซึ่งเป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย เท่านั้น ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น ค่าจ้าง ตามความหมาย ของ ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ส่วนค่า บริการ นั้น เป็น เงิน ที่ จำเลย เรียก เก็บ จาก ลูกค้า เพิ่มขึ้นนอกเหนือ จาก ค่าอาหาร โดย นำ เงิน นั้น มา แบ่งปัน จ่าย เป็น รางวัลแก่ ลูกจ้าง นอกเหนือ จาก ค่าจ้าง ตาม ปกติ ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น เงินของ นายจ้าง ทั้ง ใน กรณี ที่ จำเลย เรียก เก็บ เงิน จาก ลูกค้า ไม่ ได้ จำเลย ก็ ไม่ มี หน้าที่ หรือ ข้อ ผูกพัน ที่ จะ ต้อง จ่าย ค่าบริการให้ แก่ ลูกจ้าง เงิน ค่า บริการ จึง ไม่ ใช่ ค่าจ้าง ตาม ประกาศกระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน อุทธรณ์ ข้อ นี้ ของ จำเลยฟัง ไม่ ขึ้น
ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า การ ที่ โจทก์ ใช้ วาจา ไม่ สุภาพ ต่อ ผู้ มาใช้ บริการ ใช้ วาจา เสียดสี พนักงาน ด้วยกัน และ ด่า ผู้จัดการ ฝ่ายบุคคล ของ จำเลย ถือ ว่า เป็น การ กระทำ อัน ไม่ เหมาะสม แก่ การปฏิบัติ หน้าที่ ของ ตน ให้ ลุล่วง ไป โดย ถูกต้อง และ สุจริต จำเลยจึง เลิกจ้าง โจทก์ ได้ โดย ไม่ ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ไม่ ต้องจ่าย ค่าชดเชย นั้น พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า โจทก์ชอบ พูดจา หยาบคาย กับ ลูกค้า และ ด่า พนักงาน อื่น และ เคย ด่า ทนายจำเลย ซึ่ง เป็น ผู้จัดการ ฝ่าย บุคคล ของ จำเลย เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริง จะ รับ ฟัง ได้ ดังกล่าว มา แล้ว ก็ ตาม กรณี ก็ ยัง ถือไม่ ได้ ว่า เป็น ความผิด อัน จำเลย จะ เลิกจ้าง โจทก์ เสีย ได้ โดยไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย ตาม ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 แต่อย่างไร ก็ ตาม พฤติการณ์ ของ โจทก์ดังกล่าว มา ย่อม เห็น ได้ ว่า เป็น การ กระทำ อัน ไม่ เหมาะสม แก่การ ปฏิบัติ หน้าที่ ของ ตน ให้ ลุล่วง ไป โดย ถูกต้อง และ สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลย จึง เลิกจ้าง โจทก์ ได้โดย มิพัก ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ไม่ จำต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า แก่ โจทก์ อุทธรณ์ ของ จำเลย ฟัง ขึ้น บาง ส่วน
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ค้างจ่าย แก่ โจทก์ เป็นเงิน 15,176.26 บาท และ ไม่ ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า เป็น เงิน 3,570 บาท แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง

Share