คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2471

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

กักขังโดยไม่มีอำนาจแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานทำให้ผู้อื่นเสียหายรอการลงอาญาลักษณพยาน พยานบุคคลจะหักล่างพยานเอกสารไม่ได้ ( พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ยกโทษ การลงอาญาจำคุก )

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ ซึ่งเปนผู้บัญชาการได้สมคบกันกักขังโจทก์ผู้เปนสมุหบัญชีโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ขอให้ลงโทษตามประมวลอาญา ม. ๖๔ – ๑๔๕ – ๒๖๘ – ๒๗๐ – ๒๗๑ – ๓๐๓ และประมวลอาญาทหาร ม. ๕๐ – ๓๒ – ๓๐
กรรมการศาลรับสั่งตัดสินทับสัจจ์ศาลทหารบกกลาง ให้ยกฟ้องโจทก์
ทางพิจารณาได้ความว่ามีคำสั่งทหารบกให้โจทก์ออกจากประจำการ และให้ ย. เข้ารับหน้าที่แทน ในการส่งมอบหน้าที่นี้ประจำการ และ ให้ ย. เข้ารับหน้าที่แทน ในการส่งมอบหน้าที่นี้ปรากฏว่ามีใบยืมของทหารในกรณีซึ่งได้ยืมเงินไปจ่ายทดรองในราชการ ๔๑ บาทเศษ จำเลยทั้ง ๒ จึงบังคับให้โจทก์ใช้เงินแทนใบยืมนั้นและให้ส่งเงินเดือนของโจทก์ที่ได้รับไปแล้วคืนมาด้วย แต่โจทก์ไม่ยอม จำเลยจึงกักขังโจทก์ไว้ โจทก์จึงร้องทุกข์ไปยังแม่ทัพกองทัพน้อยที่ ๑ ขอให้ปล่อย โจทก์ แม่ทัพจึงสั่งให้ จำเลยที่ ๑ ชี้แจงเหตุจำเลยที่ ๑ กลับทำรายงานเท็จเสนอแม่ทัพว่าได้กักขังโจทก์เพราะได้ถอนประกันเสียแล้ว ( ซึ่งความจริงหาได้มีประกันตัวโจทก์ในคดีเรื่องนี้ไม่ แต่จำเลยยกเอาการประกันในคดีอื่นขึ้นกล่าวอันเปนความเท็จ )
ได้ความดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามข้อหา เพราะการที่โจทก์ผู้เปนสมุหบัญชีจะต้องรับผิดใช้เงินตามใบยืมนั้นเปนความรับผิดในทางแพ่งเท่านั้น จำเลยไม่มีอำนาจจะกักขัง โจทก์ได้ แลพยานบุคคลที่จำเลยอ้างมานั้นจะยกขึ้นหักล้างพยานเอกสารไม่ได้ และการที่จำเลย+ความเท็จแจ้งต่อเจ้าพนักงานเปนการทำให้ โจทก์เสียหาย จึงให้ลงโทษจำเลยที่ ๑ , ๒ กะทง คือตาม ม. ๒๗๐ กับ กฎหมายอาญาทหาร ม. ๕๐ อีกกะทงหนึ่ง ให้ปรับ ๒๐๐ บาท แต่ให้รอการลงอาญาไว้ตาม ม. ๔๑ – ๔๒
ส่วนจำเลยที่ ๒ นั้นได้ทำไปโดยเชื่อว่าตนทำตามคำสั่งของจำเลยที่ ๑ ผู้เปนผู้บังคับบัญชาโดยมีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าชอบด้วยกฎหมายจึงให้ยกโทษเสียตาม ม. ๕๒

Share