คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์โดยปลอดจำนองภายใน90วันนับแต่คดีถึงที่สุดและให้โจทก์ชำระเงินให้จำเลยในวันโอนกรรมสิทธิ์แสดงว่าเป็นการบังคับทั้งโจทก์และจำเลยการที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าเมื่อโจทก์ไม่ชำระเงินให้จำเลยภายใน90วันนับแต่คดีถึงที่สุดจำเลยก็ไม่ต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยยังไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปลอดจำนองได้เท่ากับเป็นการบังคับเอาแก่โจทก์ฝ่ายเดียวจำเลยจึงยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องโอนที่ดินพิพาทหาได้ไม่โจทก์จำเลยจึงมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีต่อกันได้ต่อไป

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย โอน กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 20027 และ 20031 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ตามสัญญาจะซื้อจะขาย แก่ โจทก์ โดย ปลอด การ จำนอง ศาลชั้นต้น พิพากษา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2535 ให้ จำเลย โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทพร้อม สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าว ให้ โจทก์ โดย ปลอด การ จำนอง ภายใน 90 วันนับแต่ คดีถึงที่สุด โดย ให้ โจทก์ ชำระ เงิน ให้ จำเลย จำนวน 12,800,000บาท ใน วัน โอน กรรมสิทธิ์ คดีถึงที่สุด โดย ไม่มี อุทธรณ์ ต่อมา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2536 จำเลย ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้น ว่าเมื่อ คดีถึงที่สุด แล้ว จำเลย ได้ ขอให้ โจทก์ มา รับโอน กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ตาม เวลา ที่ ศาลชั้นต้น กำหนดแต่ โจทก์ มิได้ ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา ขอให้ ศาล ออก หนังสือ แจ้ง ผล คดีถึงที่สุด และ แจ้ง ยกเลิก การ อายัด ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ ศาลชั้นต้นสั่ง นัด พร้อม ใน วันนัด พร้อม โจทก์ ยื่น คำคัดค้าน ว่า เมื่อ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ ได้ นำ ใบ สำคัญ คดีถึงที่สุด และ คำพิพากษา ไป แจ้ง ให้เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด สมุทรสาคร ทราบ แล้ว ทั้ง จำเลย ก็ มิได้ไถ่ถอน การ จำนอง ภายใน 90 วัน จน กระทั่ง บัดนี้ โจทก์ พยายาม ติดต่อธนาคาร และ บุคคลอื่น เพื่อ ให้ ได้ เงิน มา ชำระ ราคา ที่ดิน โดย ขอ เข้า ไปตรวจสอบ ดู หลักทรัพย์ แต่ จำเลย ไม่ยอม ให้ เข้า ไป บัดนี้ ธนาคาร ยินดีให้การ สนับสนุน เงิน ที่ โจทก์ จะซื้อ ที่ดินพิพาท ขอให้ ศาล กำหนดวัน โอน ที่ แน่นอน ใหม่ โดย โจทก์ ขอ เวลา 60 วัน หรือ 90 วัน นับแต่วัน ยื่น คำคัดค้าน เพื่อ โจทก์ จะ ได้ แจ้ง ให้ ธนาคาร ทราบ และ จำเลยจะ ต้อง ไม่ ขัดขวาง ใน การ ที่ โจทก์ จะ นำ ผู้ ร่วม ทุน หรือ พนักงาน ของธนาคาร ไป ตรวจ ดู ที่ดินพิพาท หาก ศาล ต้องการ ไต่สวน โจทก์ พร้อม ที่ จะ นำพยาน มา ศาล ใน เวลา อัน รวดเร็ว
ศาลชั้นต้น สั่ง ใน รายงาน นัด พร้อม ว่า เมื่อ ฝ่าย โจทก์ ไม่ชำระ เงินให้ จำเลย 12,800,000 บาท ภายใน 90 วัน นับแต่ วัน พิพากษา(ที่ ถูก นับแต่ คดีถึงที่สุด ) จำเลย ก็ ไม่ต้อง โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่โจทก์ ตาม สัญญาต่างตอบแทน แต่อย่างใด ให้ มี หนังสือ แจ้ง ผล คดีถึงที่สุด ตาม คำร้อง จำเลย ส่วน ที่ จำเลย ขอให้ แจ้ง ยกเลิก การ อายัดของ โจทก์ นั้น เมื่อ โจทก์ เป็น ฝ่าย อายัด ที่ดิน จำเลย ต้อง แจ้ง ผลคำพิพากษา และ รายงาน ฉบับนี้ ให้ แก่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ต่อไป
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เมื่อ ศาลชั้นต้น พิพากษา บังคับ ให้ จำเลยไป โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ให้ โจทก์ ตาม สัญญาจะซื้อขาย โดย ปลอด จำนอง ภายใน 90 วัน นับแต่ คดีถึงที่สุด โดย ให้โจทก์ ชำระ เงิน ให้ จำเลย จำนวน 12,800,000 บาท ใน วัน โอน กรรมสิทธิ์เมื่อ วันที่ 17 กันยายน 2535 จำเลย มีสิทธิ อุทธรณ์ ภายใน กำหนด1 เดือน นับแต่ วันที่ ได้ อ่าน คำพิพากษา คือ ต้อง อุทธรณ์ ภายใน วันที่ 17ตุลาคม 2535 เมื่อ จำเลย ไม่ อุทธรณ์ คำพิพากษา ศาลชั้นต้น จึง ถึงที่สุดใน วันที่ 17 ตุลาคม 2535 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 147 วรรคสอง ดังนั้น จำเลย จะ ต้อง ไถ่ถอน จำนอง แล้ว จัดการโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ให้ แก่ โจทก์ ภายใน วันที่15 มกราคม 2536 โดย โจทก์ ต้อง ชำระ เงิน จำนวน 12,800,000 บาทใน วัน โอน กรรมสิทธิ์ แต่ แล้ว ไม่มี การ โอน กรรมสิทธิ์ ภายใน 90 วันตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น การ ที่ จำเลย เพิ่ง มา ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้นเมื่อ วันที่ 11 มิถุนายน 2536 ซึ่ง พ้น เวลา ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ตามคำพิพากษา ประมาณ 5 เดือน และ โจทก์ ยื่น คำคัดค้าน เมื่อ วันที่ 30สิงหาคม 2536 ซึ่ง เป็น วันนัด พร้อม แสดง ว่า โจทก์ จำเลย ต่าง ไม่ พร้อมที่ จะ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท โดย ปลอด การ จำนอง และ ชำระ เงิน กันตาม กำหนด 90 วัน นับแต่ คดีถึงที่สุด เฉพาะอย่าง ยิ่ง ใน วันนัด พร้อมตาม รายงาน กระบวนพิจารณา ฉบับ ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2536 ฝ่าย โจทก์ต้องการ เวลา อีก ระยะ หนึ่ง เพื่อ นำ เจ้าหน้าที่ ธนาคาร ไป ดู ทรัพย์และ จะ ขอ กู้เงิน อันเป็น การแสดง ว่า โจทก์ ยัง ไม่มี เงิน พร้อม ที่ จะชำระ ราคา แก่ จำเลย หาก จำเลย พร้อม จะ โอน ให้ และ การ ที่ จำเลย จะ อยู่ใน ฐานะ ที่ พร้อม จะ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ก็ ต่อเมื่อจำเลย ได้ จัดการ ไถ่ถอน จำนอง แล้ว ซึ่ง โจทก์ ได้ กล่าว ใน คำคัดค้าน ว่าจำเลย ยัง ไม่ได้ ไถ่ถอน การ จำนอง ทั้ง จำเลย ก็ ยอมรับ ใน คำแถลงคัดค้าน คำร้องขอ คุ้มครอง ประโยชน์ ของ โจทก์ ใน ชั้น นี้ ว่า จำเลยต้อง นำ เงิน ที่ โจทก์ จะ จ่าย ให้ ไป ชำระหนี้ ไถ่ถอน จำนอง เพื่อ ขายให้ แก่ โจทก์ แสดง ว่า จำเลย ยัง ไม่มี เงิน ไป จัดการ ไถ่ถอน จำนองเมื่อ ผล ของ คำพิพากษา เป็น การ บังคับ ทั้ง โจทก์ และ จำเลย เช่นนี้การ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ว่า เมื่อ ฝ่าย โจทก์ ไม่ชำระ เงิน ให้ จำเลย12,800,000 บาท ภายใน 90 วัน นับแต่ วัน พิพากษา (ที่ ถูก นับแต่ คดีถึงที่สุด ) จำเลย ก็ ไม่ต้อง โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ตาม สัญญาต่างตอบแทน แต่อย่างใด ก็ เท่ากับ เป็น การ บังคับ เอา แก่ โจทก์ ฝ่ายเดียวทั้งที่ จำเลย ยัง ไม่สามารถ โอน ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ โดย ปลอด การ จำนองได้ แม้ กำหนด ระยะเวลา 90 วัน ตาม คำพิพากษา ได้ ผ่านพ้น ไป แล้วก็ มีเหตุ ที่ โจทก์ จะ ไม่ชำระ เงิน แก่ จำเลย เพราะ จำเลย ยัง ไม่ ไถ่ถอนจำนอง ที่ดินพิพาท เพื่อ โอน ให้ แก่ โจทก์ โดย ปลอด การ จำนอง ได้ ดังนั้นจำเลย จะ ยก เหตุ ดังกล่าว ขึ้น เป็น ข้ออ้าง ไม่ต้อง โอน ที่ดินพิพาท แก่ โจทก์ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น หาได้ไม่ เมื่อ หนี้ ตาม คำพิพากษา ดังกล่าวเป็น กรณี ที่ ต่าง ฝ่าย ต่าง มี หนี้ ต่อ กัน แล้ว เช่นนั้น โจทก์ จำเลยก็ มีสิทธิ ร้องขอ ให้ บังคับคดี ต่อ กัน ได้ ต่อไป ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งและ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา ต้อง ตาม กัน มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้องด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก คำร้องขอ งจำเลย

Share