แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายโจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาทในฐานะเจ้าของรวมและมีสิทธิจัดการทรัพย์สินนั้นได้การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายใส่ชื่อตนในโฉนดที่พิพาทเป็นการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางจัดการตามธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1358เมื่อไม่มีข้อตกลงระหว่างเจ้าของรวมเป็นอย่างอื่นแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยได้แม้ผู้ตายจะได้ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินซึ่งเป็นหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์สินรวมและเป็นหนี้ร่วมระหว่างโจทก์กับผู้ตายก็เป็นคนละกรณีกันเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมจึงไม่อาจนำมาใช้ยันหรือปฏิเสธมิให้โจทก์ใส่ชื่อในโฉนดที่พิพาทได้เป็นเรื่องที่จำเลยต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งในเวลาที่แบ่งทรัพย์สินรวม
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์ จดทะเบียนสมรส กับ นาย ขวัญไชย หลังจาก นั้น ได้ ร่วมกัน ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 42375 เนื้อที่ 65 ตารางวา โดย จดทะเบียน โอน ใส่ ชื่อ นาย ขวัญไชย ผู้เดียว เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่ ถือ เป็น สินสมรส โจทก์ จดทะเบียน หย่ากับ นาย ขวัญไชย ใน วันที่ 27 มีนาคม 2528 ต่อมา ใน วันที่ 17 มกราคม 2532 นาย ขวัญไชย ถูก คนร้าย ยิง ถึงแก่ความตาย นาง มาริษา มารดา จำเลย ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาลชั้นต้น ให้ มี คำสั่ง ตั้ง จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก ซึ่ง ศาลชั้นต้น ก็ ได้ มี คำสั่ง ตั้ง จำเลย เป็น ผู้จัดการมรดก ของนาย ขวัญไชย แล้ว ตั้งแต่ วันที่ 8 พฤษภาคม 2532 แต่ จำเลย ไม่ จัดการ แบ่ง ที่ดิน สินสมรส ดังกล่าว ให้ โจทก์ ครึ่ง หนึ่ง ขอให้ บังคับ จำเลยโอน ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ครึ่ง หนึ่ง ของ ที่ดิน โฉนดเลขที่ 42375
จำเลย ให้การ ว่า นาย ขวัญไชย ได้ กู้เงิน จาก ธนาคาร มา ซื้อ ที่ พิพาท แล้ว ได้ จดทะเบียน จำนอง เป็น ประกัน ไว้ ต่อ ธนาคาร ขณะที่นาย ขวัญไชย จดทะเบียน หย่า กับ โจทก์ ยัง เป็น หนี้ ธนาคาร อยู่ จำนวน 246,756.83 บาท หลังจาก นั้น นาย ขวัญไชย ได้ ชำระหนี้ ให้ ธนาคาร เพียง ลำพัง ผู้เดียว แต่ กรณี ก็ ต้อง ถือว่า ได้ ชำระหนี้ แทน โจทก์อันเป็น ค่าใช้จ่าย เพื่อ ประโยชน์ ร่วมกัน ระหว่าง นาย ขวัญไชย กับ โจทก์ กอง มรดก ของ นาย ขวัญไชย จึง มีสิทธิ ยึด หน่วง ทรัพย์พิพาท ไว้ หาก โจทก์ จะ ขอ แบ่ง ที่ดิน ก็ ต้อง ใช้ เงิน จำนวน 123,378.41 บาทแก่ กอง มรดก ของ นาย ขวัญไชย เสีย ก่อน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ไป ขอ จดทะเบียน ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม ครึ่ง หนึ่ง ใน ที่ดิน โฉนด ที่ 42375 ตำบล พระโขนง (ที่ 11 พระโขนงฝั่งเหนือ ) อำเภอ พระโขนง กรุงเทพมหานคร หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของจำเลย ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ดำเนินการ จดทะเบียน ได้
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นดำเนิน กระบวนพิจารณา สืบพยานโจทก์ จำเลย ต่อไป แล้ว พิพากษา ใหม่ ตามรูปคดี
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ แต่เพียง ว่าโจทก์ มีสิทธิ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาย ขวัญไชย ชูชาญ จดทะเบียน ใส่ ชื่อ โจทก์ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น สินสมรส ระหว่าง โจทก์ กับ นาย ขวัญไชย ได้ หรือไม่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ไม่มี สิทธิ อ้าง สิทธิยึดหน่วง โดย ให้ โจทก์ ชำระหนี้ ที่นาย ขวัญไชย ได้ ไถ่ถอน จำนอง ไป แล้ว เพราะ มิใช่ เป็น ค่าใช้จ่าย เพื่อ ประโยชน์ ร่วมกัน ศาลฎีกา เห็นว่า แม้ ตาม คำฟ้อง โจทก์ จะ อ้างว่า ที่พิพาท เป็น สินสมรส ระหว่าง โจทก์ กับ นาย ขวัญไชย โจทก์ มีสิทธิ ได้รับ ส่วนแบ่ง กรรมสิทธิ์ ครึ่ง หนึ่ง จำเลย จึง มี หน้าที่ ต้อง แบ่ง ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ก็ ตาม เมื่อ ทางพิจารณา ข้อเท็จจริง ฟัง เป็นที่ ยุติ ได้ว่า ที่ดินพิพาท เป็น สินสมรส ระหว่าง โจทก์ และ นาย ขวัญไชย แล้ว โจทก์ ย่อม มี กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดินพิพาท กับ นาย ขวัญไชย ใน ฐานะ เจ้าของรวม การ ที่ โจทก์ ยก ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหาว่า ที่พิพาท เป็น สินสมรส ก็ เพื่อ แสดง ให้ เห็นว่า โจทก์ มี ส่วน ใน ที่ดินพิพาท ร่วม กับ นาย ขวัญไชย อันเป็น เหตุ แห่ง การ ได้ มา ซึ่ง ที่ดิน ที่พิพาท ร่วม กับ นาย ขวัญไชย เท่านั้น ทั้ง โจทก์ ไม่ได้ ฟ้อง โดย อาศัย บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 เป็นข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา โดยตรง ดังนั้น โจทก์ ใน ฐานะผู้เป็น เจ้าของรวม ใน ที่ดินพิพาท คนหนึ่ง ย่อม มีสิทธิ จัดการ ทรัพย์สินที่ ตน เป็น เจ้าของรวม นั้น ได้ การ ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ใส่ ชื่อ ตนใน โฉนด ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น หนังสือสำคัญ แสดง กรรมสิทธิ์ ที่ดิน จึงนับ ได้ว่า เป็น การ ขอให้ บังคับ จำเลย ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของนาย ขวัญไชย ทำ สิ่ง ใด สิ่ง หนึ่ง ใน ทาง จัดการ ตาม ธรรมดา ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 เมื่อ ไม่มี ข้อตกลง ในระหว่าง เจ้าของรวม เป็น อย่างอื่น แล้ว โจทก์ ย่อม มีสิทธิ ฟ้องบังคับ จำเลยใส่ ชื่อ โจทก์ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท ได้ ที่ จำเลย ต่อสู้ ว่า นาย ขวัญไชย ได้ ชำระหนี้ ไถ่ถอน จำนอง ซึ่ง เป็น หนี้ ร่วม ระหว่าง โจทก์ กับ นาย ขวัญไชย ให้ แก่ บุคคลภายนอก ไป จึง มีสิทธิ ยึด หน่วง ที่ดินพิพาท ไว้ และ ถือ เป็น บุริมสิทธิ เหนือ ที่พิพาท เนื่องจาก มีค่า ใช้ จ่าย อันเป็นประโยชน์ ร่วมกัน โจทก์ จึง ต้อง ชดใช้ เงิน พร้อม ดอกเบี้ย ใน ส่วน ของโจทก์ แก่ นาย ขวัญไชย ครึ่ง หนึ่ง เสีย ก่อน จึง จะ ขอให้ แบ่งแยก ที่ดิน พิพาท แก่ โจทก์ ได้ เห็นว่า โจทก์ เพียงแต่ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ใน ฐานะผู้จัดการมรดก ของ นาย ขวัญไชย ใส่ ชื่อ โจทก์ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท ใน ฐานะ ที่ โจทก์ เป็น เจ้าของรวม กับ นาย ขวัญไชย เท่านั้น มิได้ ฟ้อง ขอให้ แบ่ง ทรัพย์สิน ใน ระหว่าง เจ้าของรวม ด้วยกัน แม้ นาย ขวัญไชย จะ ได้ ชำระหนี้ ไถ่ถอน ที่ดิน ซึ่ง เป็น หนี้ อัน เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน รวมและ เป็น หนี้ ร่วม ระหว่าง โจทก์ กับ นาย ขวัญไชย ก็ ตาม ก็ เป็น คน ละ กรณี กับ ที่ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ใส่ ชื่อ ใน โฉนด ที่ดินพิพาท ไม่ว่า นาย ขวัญไชย จะ มีสิทธิ ยึด หน่วง หรือ มี บุริมสิทธิ ใน ที่พิพาท หรือไม่ ก็ ตาม จึงไม่อาจ นำ มา ใช้ ยัน หรือ ปฏิเสธ มิให้ โจทก์ ขอให้ ใส่ ชื่อ โจทก์ ใน โฉนดที่ดินพิพาท ได้ เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ต้อง ไป ว่ากล่าว เป็น อีก เรื่อง หนึ่งใน เวลา ที่ แบ่ง ทรัพย์สิน รวม นั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้นไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น