แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เจ้าอธิบดีการวัดฟ้องขับไล่โจทก์กับพวกออกจากที่พิพาทจนศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของวัด ให่ขับไล่
โจทก์กับพวกออกจากทีพิพาท คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องเจ้าอธิการวัด เป็นจำเลยอีก ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และให้เพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนนั้นเสีย ดังนี้ ย่อมเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 148
การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในกรณีที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้น จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณามนคดีที่ศาลพิจารณาโดยถือว่าขาดนัดนั้นเอง จะมาฟ้องเป็นคดีใหม่ ไม่ได้
ย่อยาว
ทางพิจาณาคดีได้ความว่า ในคดีก่อนจำเลยในคดีนี้ได้ฟ้องขับไล่โจทก์ในคดีนี้กับพวกออกจากที่พิพาท ๓ แปลงนี้ โดยอ้างว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดมณีโชติ โจทก์กับพวกขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลนัดพิจารณาไปฝ่ายเดียว ก่อนสืบพยานโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลไม่อนุญาต เมื่อศาลสืบพยานจำเลยโดยตัวโจทก์มาศาลแต่งทนายซักถามเสร็จสิ้นแล้ว พิพากษาขับไล่
โจทก์กับพวกออกจากทีพิพาททั้ง ๓ แปลง และคืนที่ดินให้วัดมณีโชติ คดีถึงที่สุดโดยโจทก์ไม่อุทธรณ์ เมื่อศาลพิพากษาแล้ว ๘ วัน โจทก์ก็มาฟ้องเป็นคดีนี้ขึ้นว่าที่พิพาท ๑ แปลงดังกล่าวแล้วเป็นของโจทก์ ขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาท ๓ แปลงนี้เป็นของโจทก์ และสั่งเพิกถอนคำพิพากษาคดีก่อนเสีย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า การทีโจทกกลับมาฟ้องคดีนี้อ้างว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นการรื้อฟ้องในประเด็นที่ได้วินิฉัจมาโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันต้องห้ามตามมาตรา ๑๔๘ แห่ง ป.ม.วิ.แพ่ง ที่โจทก์อ้างว่า ใช้สิทธิตามมาตรา ๒๐๗, ๒๐๘, ๒๐๙ นั้น การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ เช่นนี้ จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใด คดีที่ศาลพิจารณาโดยถือว่า ขาดนัดนั้นเอง จะมาฟ้องคดีขึ้นใหม่ ดังนี้หาได้ไม่
จึงพิพากษายืน