คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

สัญญา ซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจาก สัญญาจะซื้อขายซึ่งมีการ วางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนแล้วต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดงเมื่อมีปัญหาว่าจำเลยที่1และที่2ชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94อีกทั้งสัญญาดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่1และที่2กับบริษัท บ.ซึ่งเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาเดิมในการจองซื้อขอให้โอนให้แก่จำเลยที่1และที่2ฉะนั้นผู้ที่จำเลยที่1และที่2จะยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างได้ก็เฉพาะกรณีที่ต่อสู้กับบริษัท บ.เท่านั้น โจทก์ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่1และที่2อีกฝ่ายหนึ่งทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินซึ่งกันและกันแต่ที่ดินและบ้านของจำเลยที่1และที่2นั้นจำเลยที่1และที่2ได้นำไปขายฝากไว้กับจำเลยที่3เมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา497(2)จำเลยที่3ต้องรับการไถ่เมื่อโจทก์มีเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่แต่จำเลยที่3ไม่ยอมรับโจทก์ได้นำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก่อนพ้นกำหนดไถ่จำเลยที่3จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้

ย่อยาว

คดี ทั้ง สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ รวม พิจารณา พิพากษาเข้า ด้วยกัน โดย เรียก นางสาว ศิริอร หวังปรีชาชาญ ว่า โจทก์ เรียก นาย ประมวลหรือกิตติพัฒน์ รื่นพรต นางสาวเอมอรหรือนางเอมอร ว่องรัตนพิทักษ์ และนายเพชร กลั่นหอม ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง จำเลย ที่ 3ตามลำดับ
สำนวน แรก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 33888-90 ตำบล คูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัด ปทุมธานี พร้อม สิ่งปลูกสร้าง บน ที่ดิน บ้าน เลขที่ 600/1361ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ทำการ โอน กรรมสิทธิ์ ใน การ เช่า โทรศัพท์ หมายเลข5239145 และ สิทธิ ใน มิเตอร์ น้ำประปา ไฟฟ้า สำหรับ บ้าน ดังกล่าวกับ ชำระ ค่าเสียหาย จำนวน 1,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 1,000,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ หาก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ให้ จำเลย ที่ 3 รับ เงิน ที่ โจทก์ วางศาลเพื่อ ชำระหนี้ ไถ่ถอน การ ขายฝาก แทน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 และ ให้จำเลย ที่ 3 ไป ดำเนินการ จดทะเบียน ไถ่ถอน การ ขายฝาก หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ไถ่ถอน การ ขายฝาก หาก ไม่สามารถดำเนินการ ได้ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน7,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน7,000,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จะ ชำระเงิน ให้ แก่ โจทก์ เสร็จสิ้น
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ และ ฟ้องแย้ง ขอให้ ยกฟ้อง บังคับ ให้โจทก์ ชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 2,600,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง แย้ง จนกว่า โจทก์ จะ ได้ ชำระ ให้ แก่จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 แล้ว เสร็จ
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2
จำเลย ที่ 3 ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
สำนวน หลัง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฟ้อง ขอให้ โจทก์ ชดใช้ ค่าเสียหายจำนวน 2,600,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 33888-90 ตำบล คูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัด ปทุมธานี พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เลขที่ 600/1361 ให้ แก่ โจทก์และ ให้ จำเลย ที่ 3 จดทะเบียน ไถ่ถอน การ ขายฝาก ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง บ้าน ดังกล่าว หาก จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ไม่ปฏิบัติ ตามให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา แทน กับ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ทำการ โอนสิทธิ การ เช่า เครื่องโทรศัพท์ หมายเลข 5239145 สิทธิ ในมิเตอร์ น้ำประปา ไฟฟ้า สำหรับ บ้าน พิพาท ให้ แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 มีสิทธิ รับ เงิน จาก สำนักงาน วางทรัพย์ ไป จำนวน 600,000 บาทจำเลย ที่ 3 มีสิทธิ รับ ไป 2,480,000 บาท คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยกและ ให้ยก ฟ้องคดี สำนวน หลัง
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์ ทั้ง สอง สำนวน
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ทั้ง สอง สำนวน
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ตาม ที่ คู่ความ นำสืบ รับ กัน ว่า เมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน 2533 โจทก์ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดิน พร้อม บ้าน เลขที่ 600/1361 ตำบล คูคต อำเภอ ลำลูกกา จังหวัด ปทุมธานี จาก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 พร้อม เฟอร์นิเจอร์ รวม ราคา 6,000,000 บาท และ โต๊ะ อาหาร แกะสลัก1 ชุด ราคา 50,000 บาท ตาม สัญญาจะซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 8และ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน และ บ้าน เลขที่229/13 ซอย เฉลิมสุข เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จาก โจทก์ ราคา 2,400,000 บาท ตาม สัญญาจะซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 9 ที่ดิน และบ้าน เลขที่ 600/1361 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 นำ ไป ขายฝาก ไว้ แก่จำเลย ที่ 3 เมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2532 กำหนด ระยะเวลา 1 ปี จำนวนเงิน 2,480,000 บาท ส่วน ที่ดิน พร้อม บ้าน เลขที่ 229/13 เป็น ขอบริษัท บ้านทิพย์รัตน์ จำกัด สัญญาจะซื้อขาย ทั้ง สอง ฉบับ ดังกล่าว กำหนด วัน จดทะเบียน และ ชำระ ราคา ที่ เหลือ ใน วันเดียว กันคือ วันที่ 30 สิงหาคม 2533 ต่อมา วันที่ 10 สิงหาคม 2533บริษัท บ้านทิพย์รัตน์ จำกัด จดทะเบียน โอน ที่ดิน พร้อม บ้าน เลขที่ 229/13 ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ตาม เอกสาร หมาย จ. 11 และ จ. 12ครั้น วันที่ 30 สิงหาคม 2533 โจทก์ กับพวก ไป พบ ผู้รับมอบอำนาจจาก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 พร้อม กับ จำเลย ที่ 3 ที่ สำนักงาน ที่ดินจังหวัด ปทุมธานี สาขา ธัญบุรี แต่ ไม่อาจ ตกลง กัน ได้ โดย ฝ่าย จำเลย จะ ให้ โจทก์ ชำระ เงิน 5,080,000 บาท ส่วน โจทก์ อ้างว่า ฝ่าย จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ยัง ค้างชำระ เงิน ค่าที่ดิน พร้อม บ้าน เลขที่ 229/13 อยู่1,900,000 บาท จึง ต้อง หักเงิน ดังกล่าว ออกจาก จำนวนเงินที่ โจทก์ จะ ต้อง ชำระ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ทั้ง สอง ฝ่าย ได้ ทำ บันทึกให้ แก่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ไว้ คน ละ 1 ฉบับ ตาม เอกสาร หมาย จ. 24 และ ล. 2ต่อมา วันที่ 31 สิงหาคม 2533 โจทก์ นำ เงิน ไป วาง ที่ สำนักงาน วางทรัพย์ศาลจังหวัด ธัญบุรี ตาม เอกสาร หมาย จ. 18 ถึง จ. 21
ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ใน ลำดับ แรก ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ที่ เป็นข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ มีสิทธิ นำพยาน บุคคล มา สืบ หักล้าง เอกสาร หมาย จ. 11ซึ่ง เป็น สัญญาซื้อขาย ที่ดิน พร้อม บ้าน เลขที่ 229/13 หรือไม่ เห็นว่าสัญญาซื้อขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 11 เกิดขึ้น สืบเนื่อง มาจาก สัญญาจะซื้อขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 9 ซึ่ง ตาม สัญญาจะซื้อขาย มี การวาง มัดจำ หรือ ชำระ ราคา บางส่วน ไว้ แล้ว เข้า กรณีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่ง อาจ ฟ้องร้องให้ บังคับคดี ได้ แม้ ไม่มี เอกสาร แสดง เมื่อ มี ปัญหา ว่า จำเลย ที่ 1 และที่ 2 ชำระ เงิน ตาม สัญญาซื้อขาย ครบถ้วน แล้ว หรือไม่ โจทก์ จึง มีสิทธินำพยาน บุคคล มา สืบ ได้ มิใช่ เป็น การ สืบพยาน เพื่อ หักล้าง เอกสารตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 และ เอกสาร จ. 11เป็น เอกสาร ที่ ทำ ขึ้น ระหว่าง บริษัท บ้านทิพย์รัตน์ จำกัด กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ผู้ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จะ ยก ข้อกฎหมาย ดังกล่าวขึ้น อ้าง ก็ เฉพาะ กรณี ที่ ใช้ ต่อสู้ กับ บริษัท บ้านทิพย์รัตน์ จำกัด เท่านั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าการ ที่ โจทก์ นำพยาน บุคคล มา สืบ ว่ายัง ไม่ได้ รับ ชำระ ราคา ตาม สัญญาจะซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 9เพราะ จะ นำ ไป หักกลบลบหนี้ กับ จำนวนเงิน ที่ โจทก์ จะ ต้อง ชำระให้ จำเลย ตาม สัญญาจะซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 8 นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ข้อ ต่อไป คือ โจทก์ หรือ จำเลย เป็นฝ่าย ผิดสัญญา ซึ่ง มี ข้อ ที่ ต้อง พิจารณา ใน เบื้องต้น ว่า โจทก์ ได้รับชำระ เงิน ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จะ ต้อง ชำระ ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพร้อม บ้าน เลขที่ 229/13 หรือ ยัง โจทก์ มี ตัว โจทก์ กับ นาย คมกฤช เบิกความ ว่า เนื่องจาก บริษัท บ้านทิพย์รัตน์ จำกัด เร่งให้ โจทก์ รับโอน ที่ดิน และ บ้าน ดังกล่าว แต่ เนื่องจาก โจทก์ ได้ ขาย ให้ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ไป แล้ว จึง ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รับโอน จาก บริษัท บ้านทิพย์รัตน์ จำกัด โดย ไม่ต้อง ผ่าน โจทก์ และ นัด จดทะเบียน โอน ใน วันที่ 10 สิงหาคม 2533 แต่ เนื่องจาก โจทก์ ได้ ชำระ ค่าที่ดินและ บ้าน ครบถ้วน แล้ว ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 การ โอน ตรง ไป ยังจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จึง เป็น เพียง เพื่อ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2เป็น ผู้มีชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ ส่วน การ ชำระ เงิน คง เป็น ไป ตาม สัญญาแต่ เนื่องจาก ว่า โจทก์ ต้อง ชำระ ค่าที่ดิน และ บ้าน เลขที่ 600/1361จึง ตกลง ว่า จะ หักเงิน ดังกล่าว ออกจาก เงิน ที่ โจทก์ จะ ต้อง ชำระ ให้จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ซึ่ง จะ ถึง กำหนด ชำระ ใน อีก 20 วัน ต่อมาส่วน จำเลย นำสืบ ว่า โจทก์ เร่ง ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 รับโอนโดย จะ ลดราคา ให้ 100,000 บาท จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ตกลง ได้ ไป ขอ ยืมเงินจาก นาย ชนะ จำนวน 1,800,000 บาท ให้ ผลประโยชน์ ตอบแทน 200,000 บาท โดย ออก เช็ค ลงวันที่ ล่วงหน้า ให้ แก่ นาย ชนะ จำนวน 2,000,000 บาท ตาม เอกสาร หมาย ล. 5 ข้อเท็จจริง จะ เป็น ดังที่ ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด นำสืบ จะ ได้ พิจารณา ต่อไป ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ฎีกา ว่า ข้อ ตำหนิ ของ ศาลอุทธรณ์ เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 เบิกความ แตกต่างกับ นาย ชนะ ใน เรื่อง จำนวนเงิน ที่ ยืม มา ชำระ ให้ โจทก์ และ เมื่อ เช็ค ถูก ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน นาย ชนะ ก็ มิได้ ดำเนินคดี อาญา กับ จำเลย ที่ 1 มิใช่ เป็น เรื่อง ผิดปกติ แต่อย่างใด นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า นอกจาก ข้อแตกต่าง ดัง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย แล้วเมื่อ พิเคราะห์ ถึง เหตุผล ที่ ว่า โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ทำ สัญญาจะซื้อขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 8 และ จ. 9 ใน วันเดียว กัน กำหนดวัน ถึง กำหนด ชำระ เงิน ที่ เหลือ ใน วัน จดทะเบียน โอน ไว้ ใน วันเดียว กันแสดง ว่า คู่กรณี มี เจตนา จะ ให้ สัญญา ทั้ง สอง ฉบับ มี ความ เกี่ยวเนื่อง กันดัง จะ เห็น ได้ว่า เงินมัดจำ ตาม สัญญาจะซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 9ก็ นำ ไป หัก จาก เงินมัดจำ ตาม สัญญาจะซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 8โดย บันทึก ไว้ ใน เอกสาร หมาย จ. 8 ว่า โจทก์ ชำระ เป็น เช็คให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น เงิน 550,000 บาท ซึ่ง ตรง กับ ผล ต่างของ เงินมัดจำ ตาม สัญญา ทั้ง สอง ฉบับ กับ ค่า โต๊ะ อาหาร แกะสลักทางนำสืบ ของ โจทก์ จึง น่าเชื่อ ว่า เงิน จำนวน 1,900,000 บาท ที่ จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 จะ ต้อง ชำระ ให้ โจทก์ นั้น มี การ ตกลง ให้ หัก กับ เงินที่ โจทก์ จะ ต้อง ชำระ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ใน ตอน ที่ โจทก์ จะ รับโอนที่ดิน และ บ้าน จาก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 และ อีก ประการ หนึ่ง สัญญาจะซื้อขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 9 เป็น สัญญา ที่ มี เงื่อนเวลา ซึ่ง จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ประโยชน์ จาก เงื่อนเวลา นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191 และ 192 หาก โจทก์ เร่งให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ปฏิบัติ ก่อน กำหนด จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ย่อม มีสิทธิ ปฏิเสธ ได้ อีก ทั้ง ระยะเวลา เหลือ อีก เพียง 20 วันจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ก็ จะ ได้รับ ชำระ เงิน ตาม สัญญาจะซื้อขายเอกสาร หมาย จ. 8 แล้ว เหตุใด จึง ยอม เสีย ผลประโยชน์ จาก การ ไป ยืมเงินนาย ชนะ ถึง 200,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ จำเลย อ้างว่า โจทก์ ลดราคา ให้ เพียง 100,000 บาท เท่านั้น เป็น การ ผิด วิสัย ที่ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 จะ ยอม เสียประโยชน์ 100,000 บาท โดย ที่ มีสิทธิ ได้ประโยชน์ จาก เงื่อนเวลา ดัง ที่ กล่าว มา แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ยัง ไม่ได้ชำระ ราคา ให้ โจทก์ ใน การ รับโอนที่ดิน และ บ้าน เลขที่ 229/13 เนื่องจาก มี การ ตกลง ว่า จะ นำ มา หักจาก จำนวนเงิน ที่ โจทก์ จะ ชำระ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ในวันที่ 30 สิงหาคม 2533
เมื่อ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ยัง มิได้ ชำระ เงิน ให้ โจทก์1,900,000 บาท โจทก์ จึง มีสิทธิ นำ มา หักกลบลบหนี้ ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 ดังนั้น แม้ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 จะ มี หนังสือ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แจ้ง ให้ โจทก์ ปฏิบัติและ โจทก์ จะ ได้รับ หนังสือ นั้น แล้ว โจทก์ ก็ ไม่จำเป็น ต้อง ปฏิบัติ ตามคง ปฏิบัติ เฉพาะ ใน ข้อ ที่ จะ ต้อง แยก จำนวนเงิน ไป ชำระ ให้ จำเลย ที่ 3ผู้รับ ซื้อ ฝาก เท่านั้น และ เมื่อ ถึง วันนัด โจทก์ กับพวก ก็ ไป ยังสำนักงาน ที่ดิน เพื่อ รับโอน ที่ดิน และ บ้าน ตาม สัญญา แต่ ที่ ตกลง กันไม่ได้ เพราะ ฝ่าย จำเลย ไม่ยอม รับ ว่า ยัง ค้างชำระ เงิน โจทก์ อยู่1,900,000 บาท ที่ โจทก์ ขอ หักกลบลบหนี้ กัน นั้น แม้ ผู้รับมอบอำนาจจาก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 มีสิทธิ จะ กระทำ แทน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ได้ แต่เมื่อ ไม่ยอม ให้ โจทก์ หักกลบลบหนี้ ทั้ง ๆ ที่ โจทก์ มีสิทธิจะ ทำได้ ก็ ถือว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น ผู้ผิดสัญญา ส่วน กรณีที่ มี บันทึก ตาม เอกสาร หมาย จ. 24 และ ล. 2 ไม่ว่า ฝ่ายใด จะ นำ ยื่นต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ก่อน ก็ ไม่มี ผล ทำให้ คำวินิจฉัย เปลี่ยนแปลง ไปฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ใน ประเด็น นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา อีก ข้อ หนึ่ง คือ โจทก์ มีสิทธิ ไถ่ถอนการ ขายฝาก จาก จำเลย ที่ 3 หรือไม่ ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความ นำสืบ รับ กันคือ ที่ดิน พร้อม บ้าน เลขที่ 600/1361 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 นำ ไปขายฝาก ไว้ แก่ จำเลย ที่ 3 เมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2532 กำหนด เวลาไถ่ถอน 1 ปี จำนวนเงิน ที่ เป็น สินไถ่ คือ 2,480,000 บาท และ โจทก์ได้ นำ แคชเชียร์เช็ค สำหรับ เงิน จำนวน ดังกล่าว ไป ที่ สำนักงาน ที่ดินใน วันที่ 30 สิงหาคม 2533 ด้วย โดย จำเลย ที่ 3 ทราบ ว่า ฝ่าย โจทก์มี เงิน จำนวน นั้น ต่อมา วันที่ 30 สิงหาคม 2533 โจทก์ ได้ นำ แคชเชียร์เช็ค ฉบับ ดังกล่าว ไป วาง ที่ สำนักงาน วางทรัพย์ ศาลจังหวัด ธัญบุรีระบุ ว่า เพื่อ ชำระ ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 เป็น ค่าไถ่ ถอน การ ขายฝากและ เหตุ ที่ จำเลย ที่ 3 ไม่ยอม รับ ชำระ เงิน ใน วันที่ 30 สิงหาคม 2533เพราะ โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ตกลง กัน ไม่ได้ เห็นว่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 กำหนด บุคคล ที่ จะ ใช้สิทธิ ไถ่ ทรัพย์สิน ที่ ขายฝาก และ ใน (2) กำหนด ให้ ผู้รับโอน สิทธิ นั้นมีสิทธิ ไถ่ ทรัพย์สิน นั้น ได้ ด้วย เมื่อ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ดัง ที่ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว โจทก์ จึง อยู่ ใน ฐานะผู้รับโอน สิทธิ ตาม บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว จำเลย ที่ 3 มี หน้าที่ต้อง รับ การ ไถ่ แม้ ว่า จะ มิใช่ คู่สัญญา ขายฝาก ก็ ตาม เมื่อ โจทก์มี เงิน จำนวน ที่ เป็น สินไถ่ ใน วันที่ 30 สิงหาคม 2533 แต่ จำเลย ที่ 3ไม่ยอม รับ โจทก์ จึง นำ เงิน ไป วาง ที่ สำนักงาน วางทรัพย์ ใน วันที่31 สิงหาคม 2533 ซึ่ง เป็น เวลา ก่อน พ้น กำหนด ไถ่ ทรัพย์สิน ตาม สัญญาขายฝาก จำเลย ที่ 3 จึง ปฏิเสธ ไม่ยอม รับ การ ไถ่ถอน การ ขายฝาก ไม่ได้ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สาม ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น อีก เช่นกัน ”
พิพากษายืน

Share