แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้บิดาโจทก์จะ เบิกค่ารักษาพยาบาลจาก ทางราชการและจ่ายแทนโจทก์ไปแล้วก็เป็น สิทธิเฉพาะตัวของบิดาโจทก์โจทก์จึงยังคงมี สิทธิเรียกร้องเอา ค่ารักษาพยาบาลจากผู้ก่อเหตุละเมิดต่อโจทก์ได้และเป็นคนละเรื่องกับการที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกเอา ค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินในกรณีถูกทำละเมิดจนได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์เป็นนักเรียนถูกจำเลยที่1ลูกจ้างของจำเลยที่2ขับรถยนต์ชนโดยละเมิดจนบาดเจ็บสาหัสต้องผ่าตัดรักษาตัวหลายครั้งอยู่ที่โรงพยาบาลนานถึง129วันและต้องรักษาตัวที่บ้านอีกหลายเดือนได้รับความทุกข์ทรมานเพราะบาดแผลที่ได้รับเป็นเวลานานทั้งต้องขาดเรียนและเรียนซ้ำชั้นเป็นความทุกข์ทรมานทางกายและจิตใจย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินและไม่ใช่เป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินเหตุ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน564,696 บาท ฐาน ละเมิด แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ จาก วันฟ้อง จนกว่า ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ขาด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน414,696 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับ จาก วันฟ้อง จนกว่า ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ใน เบื้องต้นฟังได้ ว่า เมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็นลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ได้ ขับ รถยนต์โดยสาร ประจำทาง หมายเลข ทะเบียน10-2782 กรุงเทพมหานคร ของ จำเลย ที่ 2 ไป ใน ทางการที่จ้าง ของ จำเลยที่ 2 ด้วย ความประมาท เลินเล่อ ฝ่า สัญญาณไฟ แดง ตรง ทางแยก เข้า หมู่บ้าน เมืองทองธานี เป็นเหตุ ให้ ชน กับ รถยนต์ ที่ แล่น ออก มาจาก หมู่บ้าน เมืองทองธานี เสีย หลัก ตกลง ข้างทาง โจทก์ ซึ่ง โดยสาร มา ใน รถยนต์ โดยสาร ประจำทาง ถูก รถยนต์โดยสาร ประจำทาง ทับ กระดูก ขา หัก หลาย แห่งต้อง รักษา อยู่ ที่ โรงพยาบาล ภูมิพลอดุลยเดช นาน 129 วัน แพทย์ ต้อง ผ่าตัด ถึง 2 ครั้ง คดี มี ปัญหา ตาม ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า จำเลยที่ 2 จะ ต้อง ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ เพียงใด ที่ จำเลย ที่ 2ฎีกา ว่า บิดา โจทก์ มี สวัสดิการ ของ ทางราชการ ช่วยเหลือ หรือบุคคล ใด บุคคล หนึ่ง ชำระ ค่ารักษาพยาบาล แทน โจทก์ ค่าเสียหาย ใน ส่วนที่ เกี่ยวกับ ค่ารักษาพยาบาล ที่ โจทก์ จะ เรียกร้อง ได้ ต้อง เป็นค่ารักษาพยาบาล ที่ โจทก์ ได้เสีย ไป ตาม ความ เป็น จริง เท่านั้น ไม่ว่าประการใด ก็ ตาม เนื่องจาก โจทก์ สามารถ คิด ค่าเสียหาย ใน ส่วนค่าสินไหมทดแทน อัน มิใช่ ตัว เงิน ใน กรณี ถูก ทำละเมิด จน ได้รับ อันตรายแก่ กาย หรือ ถึง แก่ ชีวิต ได้ อยู่ แล้ว จึง เรียก ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้อีก ไม่ได้ นั้น เห็นว่า ค่ารักษาพยาบาล เป็น ค่าเสียหาย ฐาน ละเมิดแม้ บิดา โจทก์ จะ เบิก จาก ทางราชการ และ ทางราชการ ได้ จ่าย ค่าเสียหายใน ส่วน นี้ แทน โจทก์ ไป แล้ว ก็ ตาม ก็ เป็น สิทธิ เฉพาะตัว ของ บิดา โจทก์ไม่เกี่ยวกับ ความรับผิด ของ จำเลย ที่ 2 โจทก์ จึง ยัง มีสิทธิ เรียกร้องเอา ค่ารักษาพยาบาล จาก จำเลย ที่ 2 ผู้ต้องรับผิด ฐาน ละเมิด ได้และ กรณี เป็น คน ละ เรื่อง กับ การ ที่ โจทก์ มีสิทธิ ที่ จะ เรียก เอา ค่าเสียหายอัน มิใช่ ตัว เงิน ใน กรณี ถูก ทำละเมิด จน ได้รับ อันตรายแก่กาย หรือถึง แก่ ชีวิต ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย อัน มิใช่ ตัว เงิน เพราะ เป็นความเสียหาย ที่ ไกล เกิน เหตุ นั้น เห็นว่า ขณะ เกิดเหตุ โจทก์ เป็นนักเรียน กำลัง เรียน อยู่ ชั้น มัธยม ปี ที่ 6 จำเลย ที่ 1 ลูกจ้าง ของจำเลย ที่ 2 ทำละเมิด ต่อ โจทก์ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ขา หัก หลาย แห่งต้อง รักษา โดย การ ผ่าตัด หลาย ครั้ง และ รักษา ตัว อยู่ ที่ โรงพยาบาลนาน ถึง 129 วัน ออกจาก โรงพยาบาล แล้ว ก็ ต้อง มา รักษา ตัว ที่ บ้านอีก หลาย เดือน โจทก์ ได้รับ อันตรายแก่กาย ถึง สาหัส ต้อง ทน ทุกข์ ทรมานเพราะ บาดแผล ที่ ได้รับ เป็น เวลา นาน ต้อง ขาด เรียน และ เรียน ซ้ำ ชั้นเห็น ได้ว่า โจทก์ ได้รับ ความ ทุกข์ ทรมาน ทาง กาย และ จิตใจ มาก โจทก์ย่อม มีสิทธิ เรียก ค่าเสียหาย อัน มิใช่ ตัว เงิน ใน ส่วน นี้ ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ไม่ใช่ เป็น ค่าเสียหายที่ ไกล เกิน เหตุ ตาม ข้ออ้าง ของ จำเลย ที่ 2 ตาม พฤติการณ์ และความ ร้ายแรง แห่ง ละเมิด กับ ความ ทุกข์ ทรมาน ทาง กาย และ ใจ ที่ โจทก์ได้รับ แล้ว การ ที่ ศาลอุทธรณ์ กำหนด ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ ให้ โจทก์เป็น เงิน 200,000 บาท นั้น เป็น การ เหมาะสม แล้ว ฎีกา ข้อ นี้ของ จำเลย ที่ 2 ก็ ฟังไม่ขึ้น ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา ชอบแล้ว ฎีกาทุก ข้อ ของ จำเลย ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน