คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การชำระหนี้ของเจ้ามรดกซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในการจัดการมรดกด้วยเป็นการจัดการรวมกันไปและเกี่ยวเนื่องกันไม่อาจแยกออกจากกันได้เมื่อฟังได้ว่าการใช้หนี้ของเจ้ามรดกนั้นเป็นหนี้ร่วมจึงต้องนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เป็นค่าใช้จ่ายจริงไปหักจากจำนวนเงินที่จำหน่ายทรัพย์ทั้งหมดก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1362ส่วนที่เหลือจึงนำมาแบ่งครึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกแล้วจึงนำส่วนของเจ้ามรดกมาแบ่งแก่ทายาท

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ใน ฐานะ ส่วนตัว และ ผู้จัดการมรดก ของร้อยโท ฉลอง เปี่ยมญาติ แบ่ง ทรัพย์มรดก แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ใน ฐานะ ทายาท ของ ร้อยโท ฉลอง เป็น เงิน คน ละ 345,323.54 บาท และ ใน ฐานะ ส่วนตัว ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เป็น เงิน คน ละ 514,431.62 บาท(ที่ ถูก น่า จะ เป็น 514,431.33 บาท ) พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ15 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ดอกเบี้ย ร้อยละ13 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 345,323.54 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า การ แบ่ง ทรัพย์มรดก จะ ต้อง แบ่ง ให้ แก่ จำเลยกึ่งหนึ่ง ก่อน ใน ฐานะ เจ้าของร่วม อีก กึ่งหนึ่ง จึง แบ่ง แก่ ทายาทรวมทั้ง โจทก์ ทั้ง สอง ด้วย การ จัดการ มรดก มีค่า ใช้ จ่าย มาก จึง ต้อง นำ มาหัก ค่าใช้จ่าย ดังนั้น ทรัพย์มรดก ของ ร้อยโท ฉลอง จึง เหลือ ไม่ เท่าที่ โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ซึ่ง จำเลย ได้ แบ่ง แก่ โจทก์ ทั้ง สอง แล้ว แต่ โจทก์ทั้ง สอง ไม่ยอม รับ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกชำระ เงิน แก่ โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ 246,531.15 บาท และ ให้ จำเลย ใน ฐานะส่วนตัว ชำระ เงิน แก่ โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ 171,044.90 บาท ให้ จำเลยใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม แทน โจทก์ ทั้ง สอง โดย กำหนด ค่า ทนายความ 20,000 บาทเฉพาะ ค่าธรรมเนียมศาล ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ได้รับ ยกเว้น ให้ ฟ้องคดีอย่าง คนอนาถา นั้น ให้ จำเลย ชำระ ต่อ ศาล ใน นาม ของ โจทก์ ทั้ง สองคำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกชำระ เงิน แก่ โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ 143,376.20 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี และ ให้ จำเลย ใน ฐานะ ส่วนตัว ชำระ เงิน แก่โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ 100,363.34 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ15 ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่ง มรดก เพียงใด และ จะ เรียก ค่าเสียหาย ได้ หรือไม่ เพียงใด นั้นสำหรับ ประเด็น เรื่อง ส่วนแบ่ง มรดก ของ โจทก์ ทั้ง สอง นั้น เป็น ประเด็นตาม ฎีกา ของ โจทก์ ทั้ง สอง ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ แล้ว ว่า ทรัพย์สินที่ จำเลย จำหน่าย ทั้ง สอง ครั้ง นั้น เป็น สินสมรส ระหว่าง จำเลย กับร้อยโท ฉลอง ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ใน ชั้น นี้ มี เพียง ว่า วิธีการ นำ ค่าใช้จ่าย ไป หัก นั้น จะ ต้อง แบ่ง ครึ่ง เงิน ที่ ได้ จาก การ จำหน่ายทรัพย์ อันเป็น สินสมรส ระหว่าง จำเลย กับ เจ้ามรดก เสีย ก่อน แล้ว จึงหัก ค่าใช้จ่าย จาก ส่วน ที่ เป็น ทรัพย์มรดก และ นำ ส่วน ที่ เหลือ มา แบ่ง แก่ทายาท ตาม วิธี ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย หรือ จะ ต้อง นำ ค่าใช้จ่าย ไป หักจาก เงิน ที่ จำหน่าย ทรัพย์ ทั้งหมด ก่อน ที่ เหลือ จึง นำ มา แบ่ง ครึ่งอันเป็น การ แบ่ง สินสมรส ระหว่าง จำเลย กับ เจ้ามรดก แล้ว จึง นำ ส่วน ของเจ้ามรดก มา แบ่ง แก่ ทายาท ตาม วิธี ที่ โจทก์ ทั้ง สอง กล่าวอ้าง เห็นว่าการ ดำเนินการ ของ จำเลย ใน คดี นี้ เป็น เรื่อง รวบรวม ทรัพย์สิน ที่ เป็นสินสมรส ระหว่าง จำเลย กับ เจ้ามรดก ซึ่ง อาจจะ เป็น การ ฟ้อง เรียกร้องการ รับโอน ตลอดจน เป็น การ ชำระหนี้ ของ เจ้ามรดก และ รวม ค่าใช้จ่ายใน การ จัดการ มรดก โดย แท้ ด้วย เป็น การ จัดการ รวมกัน ไป และ เกี่ยวเนื่อง กันไม่อาจ จะ แยก ออกจาก กัน ได้ ส่วน ที่ เป็น การ ใช้ หนี้ ของ เจ้ามรดก นั้นก็ เป็น หนี้ จำนวน มาก ไม่มี ข้อเท็จจริง แสดง ว่า เป็น หนี้ ส่วนตัวพฤติการณ์ น่าเชื่อ ว่า เป็น หนี้ ร่วม ฉะนั้น จึง ต้อง นำ ค่าใช้จ่าย ทั้งหมดที่ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว ว่า เป็น ค่าใช้จ่าย จริง ไป หัก จาก จำนวนเงิน ที่จำหน่าย ทรัพย์ ทั้งหมด ก่อน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1362แล้ว ส่วน ที่ เหลือ จึง นำ มา แบ่ง ครึ่ง อันเป็น การ แบ่ง สินสมรส ระหว่างจำเลย กับ เจ้ามรดก แล้ว จึง นำ ส่วน ของ เจ้ามรดก มา แบ่ง แก่ ทายาท ตาม วิธีที่ โจทก์ ทั้ง สอง อ้าง ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ฟังขึ้น
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ชำระ เงินแก่ โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ 242,671.57 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี และ ให้ จำเลย ใน ฐานะ ส่วนตัว ชำระ เงิน แก่ โจทก์ ทั้ง สองคน ละ 168,343.20 บาท พร้อม ทั้ง ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีโดย ดอกเบี้ย ทั้ง สอง จำนวน นับ ตั้งแต่ วันที่ ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษาเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ

Share