คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ความยินยอมให้ทำนิติกรรมไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายจะให้ความยินยอมเป็นการล่วงหน้าและตลอดไปไม่ได้ทั้งโดยสภาพผู้ให้ความยินยอมสามารถให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือตลอดไปก็ได้หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่าจำเลยที่2ยินยอมให้ จ. สามีทำนิติกรรมในการกู้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีค้ำประกันฯลฯหรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยที่2ตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2มีเจตนาให้ความยินยอมในการที่ จ. ทำนิติกรรมที่ระบุในหนังสือให้ความยินยอมและนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ได้ตลอดไปดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่ จ. ทำกับโจทก์เพื่อ ค้ำประกันหนี้ของ ว. ที่มีต่อโจทก์ย่อมมีผลใช้บังคับโดยชอบ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น สามี โดยชอบ ด้วยกฎหมาย และ เป็น ผู้ปกครอง ทรัพย์ ของ นาง วิไล บุญยานุตร จำเลย ที่ 2เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย และ เป็น ผู้ปกครอง ทรัพย์ ของนาย จิตดี สุวัชระกุลธร เมื่อ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2527นาง วิไล ได้ ทำ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี จาก โจทก์ ใน วงเงิน 60,000 บาท โดย มี นาย จิตดี และ จำเลย ที่ 3 ทำ สัญญาค้ำประกัน ยอมรับ ผิด อย่าง ลูกหนี้ ร่วม ต่อมา โจทก์ บอกกล่าว ให้ จำเลย ทั้ง สามชำระหนี้ ให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 56,875.06 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า หนังสือ ให้ ความ ยินยอมฉบับ ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2526 ที่ โจทก์ อ้าง ประกอบ สัญญาค้ำประกันนั้น เป็น หนังสือ ให้ ความ ยินยอม ใน การ ทำ สัญญา ราย อื่น โจทก์ จะ นำ มาประกอบ เป็น ความ ยินยอม ใน การ ค้ำประกัน หนี้ คดี นี้ หาได้ไม่ จำเลย ที่ 2จึง มีอำนาจ ขอให้ เพิกถอน สัญญาค้ำประกัน ที่ โจทก์ ทำ กับ นาย จิตดี ฉบับ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2527 ขอให้ ยกฟ้อง และ ให้ เพิกถอนสัญญาค้ำประกัน ระหว่าง โจทก์ กับ นาย จิตดี ฉบับ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2527
โจทก์ ขาดนัด ยื่นคำให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ที่ 2
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์ และ ยกฟ้อง แย้งของ จำเลย ที่ 2
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน แต่ ไม่ ตัด สิทธิ โจทก์ ที่ จะฟ้อง ใหม่ ภายใน อายุความ
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ใน ส่วน ของ ฟ้องแย้งใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า ตาม หนังสือ ให้ ความ ยินยอม เอกสาร หมาย จ. 15มี ข้อความ ว่า “ข้าพเจ้า นาง เจียมจิต สุวัชระกุลธร ขอให้ ความ ยินยอม ใน การ ที่นาย จิตดี สุวัชระกุลธร ซึ่ง เป็น สามี ของ ข้าพเจ้า ทำนิติกรรม ใด ๆ กับ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด สาขา เลย ใน การ กู้เงิน กู้ เบิกเงินเกินบัญชี ค้ำประกัน ต่อ อายุ สัญญา ต่าง ๆ ดังกล่าวตลอด ทั้ง การ เพิ่ม วงเงิน กู้ โดย ยกเลิก สัญญากู้ เดิม และ สัญญากู้ ใหม่ขอ เปิด เล็ตเตอร์ออฟเครดิต ทำ สัญญา ทรัสรีซีท จำนำ ทำ สัญญาขาย ลด ตั๋วเงิน หรือ ทำนิติกรรม อื่น ใด ที่ เกี่ยวข้อง โดย ข้าพเจ้าตกลง ให้ ความ ยินยอม ใน การกระทำ นั้น ตลอด ไป ” นั้น มี ความหมาย ว่าจำเลย ที่ 2 ได้ ให้ ความ ยินยอม ให้ นาย จิตดี สามี ทำนิติกรรม เพียง ครั้งหนึ่ง คราว เดียว และ เป็น การ ให้ ความ ยินยอม เฉพาะ เรื่อง เฉพาะ รายเท่านั้น เพราะ การ ให้ ความ ยินยอม จะ ให้ เป็น การ ล่วงหน้า และ ตลอด ไปสำหรับ กระทำ นิติกรรม ใด ๆ ย่อม ไม่อาจ กระทำ ได้ และ นิติกรรม อื่น ใดซึ่ง เกี่ยวข้อง ที่ จำเลย ให้ ความ ยินยอม ไว้ ย่อม หมายถึง นิติกรรมที่ เกี่ยวข้อง กับ การ ทำ สัญญา ระหว่าง นาย จิตดี กับ โจทก์ ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน เอกสาร หมาย จ. 15 ไม่มี ความหมาย รวม ไป ถึง สัญญาค้ำประกัน หนี้ที่นาย จิตดี ทำ สัญญาค้ำประกัน หนี้ นาง วิไล ต่อ โจทก์ ด้วย นั้น เห็นว่า ความ ยินยอม ให้ ทำนิติกรรม ไม่มี กฎหมาย บังคับ ว่า ต้อง ให้ ความ ยินยอมเฉพาะ เรื่อง เฉพาะ ราย จะ ให้ ความ ยินยอม เป็น การ ล่วงหน้า และ ตลอด ไปไม่ได้ ทั้ง โดยสภาพ แล้ว ความ ยินยอม ให้ ทำนิติกรรม นั้น ผู้ ให้ ความยินยอม สามารถ ให้ ความ ยินยอม เฉพาะ เรื่อง เฉพาะ ราย หรือ ตลอด ไป ได้เมื่อ ตาม หนังสือ ให้ ความ ยินยอม เอกสาร หมาย จ. 15 มี ข้อความ ว่าจำเลย ที่ 2 ยินยอม ให้ นาย จิตดี สามี ทำนิติกรรม ใน การ กู้เงิน กู้ เบิกเงินเกินบัญชี ค้ำประกัน ฯลฯ และ มี ข้อความ ต่อไป อีก ว่าหรือ ทำนิติกรรม อื่น ใด ที่ เกี่ยวข้อง ได้ โดย จำเลย ที่ 2 ตกลง ให้ ความยินยอม ใน การกระทำ นั้น ตลอด ไป จึง เห็น ได้ว่า จำเลย ที่ 2 มี เจตนาให้ ความ ยินยอม ใน การ ที่นาย จิตดี สามี ทำนิติกรรม ที่ ระบุ ไว้ ใน หนังสือ ให้ ความ ยินยอม และ นิติกรรม อื่น ใด ที่ เกี่ยวข้อง กับ โจทก์ได้ ตลอด ไป สัญญาค้ำประกัน ที่นาย จิตดี ทำ กับ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 4จึง มีผล ใช้ บังคับ โดยชอบ จำเลย ที่ 2 ไม่มี อำนาจ ขอให้ เพิกถอน
พิพากษายืน

Share