คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2530

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างประจำ แต่หาใช่ลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่ เพราะนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างเสียได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าเหตุผลที่การทดลองปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจเกิดแต่เหตุอันใด พฤติการณ์เป็นอย่างใด มีความจำเป็นแท้จริง และเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง มีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาในประเด็นนี้ใหม่.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการขององค์การจำเลยที่ 1จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยที่1 ต่อมาวันที่ 30 ธันวาคม 2528 จำเลยทั้งสองแจ้งแก่โจทก์ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 โดยจำเลยทั้งสองมิได้แจ้งเหตุผลใด ๆ และโจทก์ก็มิได้มีความผิดสาเหตุเลิกจ้างที่แท้จริงเนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่พอใจที่โจทก์ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์จึงกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรวมกันชำระค่าเสียหายเงินกองทุนสงเคราะห์สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และเงินโบนัสพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้จ้างโจทก์เป็นเพียงพนักงานทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 6 เดือนโจทก์ทดลองปฏิบัติงานแล้วผลงานไม่เป็นที่พอใจคณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลจึงมีมติให้โจทก์ทดลองปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอีกโจทก์ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จบรรลุผลตามเป้าหมายและตามนโยบายได้ขาดประสิทธิภาพและเบิกเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.) ซ้ำซ้อนจากจำเลยและกระทรวงกลาโหมวางตนไม่เหมาะสมจนเป็นเหตุให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร้องเรียนต่อคณธกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลและมีพฤติการส่อไปในทางไม่ซื้อสัตย์สุจริตอันอาจทำความเสียหายแก่จำเลยคณะกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลจึงมีมติไม่อนุมัติให้บรรจุโจทก์เป็นพนักงาน การเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่สาเหตุที่เกิดแต่การร้องเรียนขอเลื่อนเงินเดือนของโจทก์หรือเหตุอื่นใดจำเลยจึงไม่ต้องชำระเงินทุกจำนวนแก่โจทก์
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่าโจทก์อุทธรณ์เป็นข้อแรกว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์ยังอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่แต่หาได้วินิจฉัยต่อไปไม่ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำหรือไม่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2 มีบทนิยามเฉพาะคำว่า ‘ลูกจ้างประจำ’ กับ’ลูกจ้างชั่วคราว’ เท่านั้น ‘ลูกจ้างทอลองปฏิบัติงาน’ เป็นลูกจ้างประจำหรือลูกจ้างชั่วคราวไม่มีบทนิยามไว้ในกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือแม้แต่ข้อบังคับฉบับใด ๆ ของจำเลยเพราะฉะนั้นตามคำสั่งเอกสารหมายเลข1 ท้ายคำให้การโจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยพิเคราะห์แล้วเห็นว่าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46วรรคท้ายที่ว่า ‘….ลูกจ้างประจำที่นายจ้างแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่าให้ทดลองปฏิบัติงาน…’ ด้วยข้อกำหนดดังกล่าวลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานจึงอาจเป็นลูกจ้างประจำได้แต่ก็ยังหาใช่เป็นลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเสียทีเดียวเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่โจทก์คงเป็น ‘ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงาน’ ซึ่งนายจ้างอาจมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างเสียได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่้วงหน้าตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่493/2525 คดีระหว่างนายสุธรรม เอี้ยวสกุลโจทก์บริษัทเอ็มไพร์เอ็ม.ทีจำกัดกับพวกจำเลยและตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 46 วรรคท้ายนั้นเองที่ว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาที่แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่าให้ทดลองปฏิบัติงาน…..และยังอยู่ในเวลานั้นซึ่งความที่ว่ามาแล้วนั้นสนับสนุนให้เห็นว่าลูกจ้างประจำที่ทดลองปฏิบัติบัติงานมิใช่ ‘ลูกจ้างประจำ’ ทีสมบูรณ์เสียทีเดียวตามข้อบังคับ ฯ เอกสารหมายเลข 4 ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับฉบับก่อน ๆ อันมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่พิพาทกันนี้ข้อ 6 ทวิมีความว่าการบรรจุบุคคลเข้าทำงานเป็นพนักงานตามข้อ6 (ซึ่งรวมถึงรองผู้อำนวยการด้วย) ต้องมีการทดลองปฏิบัติหน้าที่การงานเป็นเวลาหกเดือนก่อนตามวรรคสองหลังจากทดลองปฏิบัติหน้าที่การงานหกเดือนแล้ว ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุอาจสั่งให้ออกจากงานได้หรืออาจสั่งบรรจุได้หรืออาจสั่งให้ทดลองปฏิบัติการงานต่อไปอีกไม่เกินสามเดือนก็ได้ผุ้ทดลองปฏิบัติงานในตำแหน่งระดับ 7 หรือเทียบเท่าขึ้นไป (โจทก์ทดลองปฏิบัติงานในระดับ 9) คณะกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลอาจมีมติเกี่ยวกับการสั่งบรรจุการสั่งให้ออกจากงานหรือการทดลองปฏิบัติหน้าที่การงานต่อไปอีกระยะหนึ่งเป็นการเฉพาะรายก็ได้และตามข้อ 6 การบรรจุและการแต่งตั้งพนักงานตำแหน่งรองผู้อำนวยการเช่นโจทก์นี้ต้องได้รับความหเห็นชอบของคณะกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วผู้อำนวยการจึงจะสั่งบรรจุได้จากข้อ 6 ทวิวรรคแรกประกอบกับรายงานการประชุม ฯ เอกสารหมายเลข6 ท้ายคำให้การระเบียบวาระที่ 3 ตามที่ศาลแรงงานกลางยกขึ้นวินิจฉัยศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มิใช่ ‘พนักงาน’ ตามบทนิยามของข้อบังคับ ฯ เอกสารหมายเลข 2 ท้ายคำให้การข้อ 1 อันจะถือได้ว่าโจทก์เป็น’ลูกจ้างประจำ’ จึงกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรวมกันชำระค่าเสียหายเงินกองทุนสงเคราะห์สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชยและเงินโบนัสพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้จ้างโจทก์เป็นเพียงพนักงานทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 6 เดือนโจทก์ทดลองปฏิบัติงานแล้วผลงานไม่เป็นที่พอใจคณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลจึงมีมติให้โจทก์ทดลองปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอีกโจทก์ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จบรรลุผลตามเป้าหมายและตามนโยบายได้ขาดประสิทธิภาพและเบิกเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.) ซ้ำซ้อนจากจำเลยและกระทรวงกลาโหมวางคนไม่เหมาะสมจนเป็นเหตุให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร้องเรียนต่อคณะกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลแลมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่ซื้อสัตย์สุจริตอันอาจทำความเสียหายแก่จำเลยคณะกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลจึงมีมิติไม่อนุมัติให้บรรจุโจทก์เป็นพนักงานการเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่สาเหตุที่เกิดแต่การร้องเรียนขอเลื่อนเงินเพิ่มของโจทก์หรือเหตุอื่นใดจำเลยจึงไม่ต้องชำระเงินทุกจำนวนแก่โจทก์
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่าโจทก์อุทธรณ์เป็นข้อแรกว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแต่เพียงว่าโจทก์ยังอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่แต่หาได้วินิจฉัยต่อไปไม่ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำหรือไม่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2 มีบทนิยามเฉพาะคำว่า ‘ลูกจ้างประจำ’ กับ’ลูกจ้างชั่วคราว’ เท่านั้น ‘ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน’ เป็นลูกจ้างประจำหรือลูกจ้างชั่วคราวไม่มีบทนิยามไว้ในกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือแม้แต่ข้อบังคับฉบับใด ๆ ของจำเลยเพราะฉะนั้นตามคำสั่งเอกสารหมายเลข 1 ท้ายคำให้การโจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยพิเคราะห์แล้วเห็นว่าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคท้ายที่ว่า ‘ลูกจ้างประจำที่นายจ้างให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่าให้ทดลองปฏิบัติงาน…’ ด้วยข้อกำหนดดังกล่าวลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานจึงอาจเป็นลูกจ้างประจำได้แต่ก็ยังหาใช่เป็นลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเสียทีเดียวเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่โจทก์คงเป็น ‘ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงาน’ ซึ่งนายจ้างอาจมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างเสียได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2525 คดีระหว่างนายสุธรรม เอี้ยงสกุลโจทก์บริษัทเอ็มไพร์เอ็ม.ที.จำกัดกับพวก จำเลยและตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 46 วรรคท้ายนั้นเองที่ว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาที่แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่าให้ทดลองปฏิบัติงาน….และยังอยู่ในเวลานั้นซึ่งความที่ว่ามาแล้วนั้นสนับสนุนให้เห็นว่าลูกจ้างประจำที่ทดลองปฏิบหัติงานมิใช่ ‘ลูกจ้างประจำ’ ที่สมบูรณ์เสียทีเดียวตามข้อบังคับ ฯ เอกสารหมายเลข 4 ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับฉบับก่อน ๆ อันมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่พิพาทกันนี้ข้อ 6 ทวิมีความว่าการบรรจุบุคคลเข้าทำงานเป็นพนักงานตามข้อ 6(ซึ่งรวมถึงรองผู้อำนวยการด้วย) ต้องมีการทดลองปฏิบัติหน้าที่การงานเป็นเวลาหกเดือนก่อนตามวรรคสองหลังจากทดลองปฏิบัติหน้าที่การงานหกเดือนแล้วผู้มีอำนาจสั่งบรรจุอาจสั่งให้ออกจากงานได้หรืออาจสั่งบรรจุได้หรืออาจสั่งให้ทดลองปฏิบัติการงานต่อไปอีกไม่เกินสามเดือนก็ได้ผู้ทดลองปฏิบัติงานในตำแหน่งระดับ 7 หรือเทียบเท่าขึ้นไป (โจทก์ทดลองปฏิบัติงานในระดับ 9)คณะกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลอาจมีมติเกี่ยวกับการสั่งบรรจุการสั่งให้ออกจากงานหรือการทดลองปฏิบัติหน้าที่การงานต่อไปอีกระยะหนึ่งเป็นการเฉพาะรายก็ได้และตามข้อ 6 การบรรจุและการแต่งตั้งพนักงานตำแหน่งรองผู้อำนวยการเช่นโจทก์นี้ต้องได้รับความเห็นชอบของคณธกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วผู้อำนวยการจึงจะสั่งบรรจุได้จากข้อ6 ทวิวรรคแรกประกอบกับรายงานการประชุม ฯ เอกสารหมาย 6 ท้ายคำให้การระเบียบวาระที่ 3 ตามที่ศาลแรงงานกลางยกขึ้นวินิจฉัยศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มิใช่ ‘พนักงาน’ ตามบทนิยามของข้อบังคับ ฯเอกสารหมายเลข 2 ท้ายคำให้การข้อ 1 อันจะหถือได้ว่าโจทก์เป็น’ลูกจ้างประจำ’ ตามความหมายที่โจทก์อุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์เป็นข้อที่สองว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุ โจทก์มีความสามารถความริเริ่มความอุตสาหะความรับผิดชอบคุณภาพปริมาณงานตลอดจนความประพฤติและสมรรถภาพดีแม้จำเลยที่ 2 ก็รับรองว่าโจทก์ปฏิบัติงานด้วยความเรียบร้อยดังปรากฏตามบันทึกข้อความสารบาญอันดับ 29 ในสำนวนที่จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีความรู้ความสามารถความประพฤติไม่ดีทำงานไม่สำเร็จบรรลุผลตามเป้าหมายและตามนโยบายของคณะกรรมการองค์การเหมืองแร่ในทะเลมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่ซื้อสัตย์สุจริตนั้นไม่เป็นความจริง เป็นการอ้างลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานเป็นการกลั่นแกล้งกันตามรายงานการประชุมเอกสารหมายเลข 6 ท้ายคำให้การระเบียบวาระที่ 3 ก็มิได้บอกเหตุผลหรือสาเหตุในการเลิกจ้างประการใดมีพิรุธไม่ชอบด้วยข้อบังคับและไม่สุจริตเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ศาลแรงงานกลางหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเป็นการไม่ถูกต้อง พิเคราะห์แล้วเห็นว่าสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการใดเป็นไปตามคำฟ้องหรือเป็นไปตามคำให้การศาลแรงงานหาได้วินิจฉัยประการใดไม่เหตุผลที่ศาลแรงงานพิพากษามีอยู่สองประการคือโจทก์ยังอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่กับการทดลองปฏิบัติของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจของจำเลยสำหรับเหตุผลที่ไม่เป็นที่พอใจเกิดแต่เหตุอันใดพฤติการณ์เป็นอย่างใดมีความจำเป็นแท้จริงและเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยประการใดคงอ้างแต่รายงานการประชุม ฯ เอกสารหมายเลข 6ท้ายคำให้การระเบียบวาระที่ 3 ข้อ 1) ข้อ 2) และข้อ 3) ซึ่งก็หาปรากฏเหตุตรงกับที่จำเลยอ้างในคำให้การไม่ คดีจึงปรากฏเหตุที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาประเด็นข้อ 2 เสียใหม่แล้วพิพากษาตามรูปคดีเว้นแต่สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยไว้แล้วในอุทธรณ์ข้อแรกแล้ว
พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาตามนัยที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ข้างต้น นอกจากสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.

Share