แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คำร้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ระบุโดยชัดแจ้งถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งจะขอให้มีการบังคับคดีและวิธีการบังคับคดีซึ่งขอให้ออกหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา275(1)(3)การที่ศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบส่วนมาตรา272เป็นเรื่องขอให้ศาลมี คำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเป็นคนละขั้นตอนกับการ ขอให้ออกหมายบังคับคดีในคดีนี้ซึ่งศาลได้มี คำพิพากษาตามยอม และมีคำบังคับกับกำหนดวิธีที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับไว้แล้ว
ย่อยาว
กรณี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ตามยอม ให้ จำเลยโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 41035, 41031, 41036 และ 41042พร้อม บ้าน เลขที่ 288/107, 288/111, 288/106 และ เลขที่ 288/94ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 5 ตามลำดับ กับ ให้ โจทก์ ทั้ง ห้า ชำระ เงินค่าที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ด้วย ต่อมา จำเลย ผิดนัด ไม่ชำระ หนี้ โจทก์ ทั้ง ห้าจึง ขอให้ บังคับคดี และ ศาล ได้ ตั้ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี เพื่อ ดำเนินการตาม คำพิพากษา ตามยอม ปรากฏว่า บ้าน เลขที่ 288/107, 288/111 และ 288/94มี ผู้อื่น อยู่อาศัย โดย อ้างว่า ซื้อ ขาย ทั้งที่ ดิน และ บ้าน จาก จำเลยเจ้าพนักงาน บังคับคดี จึง ไม่สามารถ ดำเนินการ ต่อไป ได้
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า จำเลย ได้ ถึงแก่กรรม แล้ว ผู้ร้อง เป็นภรรยา ของ จำเลย มี ส่วนได้เสีย ใน การ บังคับคดี ที่ ศาลชั้นต้น ตั้งเจ้าพนักงาน บังคับคดี ให้ โจทก์ ทั้ง ห้า เป็น การ ฝ่าฝืน บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275 เพราะ คำขอ ของโจทก์ ทั้ง ห้า มิได้ ระบุ คำพิพากษา ซึ่ง จะ ขอให้ มี การ บังคับคดี และวิธีการ บังคับคดี ซึ่ง ขอให้ ออกหมาย นั้น ขอให้ ไต่สวน และ มี คำสั่งยกเลิก หมาย บังคับคดี
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ศาล ออกหมาย บังคับคดี โดย ถือว่า กรณี ตามคำร้องขอ งโจทก์ ทั้ง ห้า ถือได้ว่า โจทก์ ทั้ง ห้า ขอให้ ศาล ออกหมายบังคับคดี ไม่มี เหตุ ที่ จะ ยกเลิก หมาย บังคับคดี ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก เลิก หมาย ตั้ง เจ้าพนักงาน บังคับคดีฉบับ ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2535
โจทก์ ทั้ง ห้า ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของโจทก์ ทั้ง ห้า ว่า คำร้องขอ ให้ ศาล ออกหมาย ตั้ง เจ้าพนักงาน บังคับคดีเมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2535 ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ ศาลฎีกา ได้ พิจารณาคำร้อง ดังกล่าว ซึ่ง มี ข้อความ ว่า ตาม ที่ ศาล ได้ มี คำสั่ง ใน รายงานกระบวนพิจารณา คดี เมื่อ วันที่ 30 มีนาคม 2535 ให้ โจทก์ ไป ดำเนินการทาง เจ้าพนักงาน บังคับคดี และ ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ทำ รายงานเสนอ ศาล เพื่อ จะ ได้ มี คำสั่ง ต่อไป โจทก์ ทั้ง ห้า ได้ ไป ดำเนินการ ทางเจ้าพนักงาน บังคับคดี แล้ว และ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ไป ตรวจสอบข้อเท็จจริง และ ได้ ทำ รายงาน เสนอ ต่อ ศาล ตาม สำเนา รายงาน ของเจ้าพนักงาน บังคับคดี ท้าย คำร้อง ที่ ได้ แนบ มา นี้ ขอให้ ศาล มี คำสั่งให้ จำเลย ผิดสัญญา ประนีประนอม ยอมความ เพื่อ โจทก์ ทั้ง ห้า จัก ได้ดำเนินการ ทาง เจ้าพนักงาน บังคับคดี ต่อไป เห็นว่า คำร้องขอ งโจทก์ทั้ง ห้า มิได้ ระบุ โดยชัดแจ้ง ถึง คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ซึ่ง จะ ขอให้มี การ บังคับคดี ตาม นั้น และ วิธีการ บังคับคดี ซึ่ง ขอให้ ออกหมาย นั้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275(1) และ (3)จึง เป็น คำร้อง ที่ ไม่ชอบ ด้วย บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว การ ที่ศาลชั้นต้น ออกหมาย ตั้ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี จึง เป็น การ ฝ่าฝืนต่อ บทบัญญัติ แห่ง ลักษณะ นี้ ที่ โจทก์ ทั้ง ห้า ฎีกา ว่า เป็น เรื่องดำเนินการ ทาง เจ้าพนักงาน บังคับคดี ตาม คำสั่งศาล จะ ต้อง นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 มา ใช้ บังคับ มิใช่นำ มาตรา 275 มา ใช้ นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า มาตรา 272 เป็น เรื่อง ขอให้ศาล มี คำบังคับ กำหนด วิธี ที่ จะ ปฏิบัติ ตาม คำบังคับ ซึ่ง คดี นี้ ศาล ได้ มีคำพิพากษา ตามยอม และ มี คำบังคับ กับ กำหนด วิธี ที่ จะ ต้อง ปฏิบัติ ตามคำบังคับ ไว้ แล้ว จึง เป็น คน ละ กรณี และ คน ละ ขั้นตอน กับ การ ขอให้ ศาลออกหมาย บังคับคดี และ คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ โจทก์ ทั้ง ห้า อ้าง ข้อเท็จจริงก็ ไม่ ตรง กับ คดี นี้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก เลิก หมาย ตั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดี ฉบับ ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2535 ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ทั้ง ห้า ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน