คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2531

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มโทษของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 มาตรา 339 ทวิ มาตรา 340 หรือมาตรา 340 ทวิ ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7และมาตรา 8 ทวิ นั้น เป็นความผิดต่างกรรมกัน ซึ่งประมวลกฎมายอาญามาตรา 91 บัญญัติให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทง

ย่อยาว

ความผิดไป.
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 มีอาวุธปืนคนละ 1 กระบอกไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาอาวุธปืนที่มีอยู่ติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับอนุญาต กับจำเลยทั้งสามโดยจำเลยที่ 1 ที่ 3 มีอาวุธปืนดังกล่าวร่วมกันปล้นเอาทรัพย์ของนางสาวสายนิตย์ ชัยทาผู้เสียหายไปโดยทุจริตทั้งได้ใช้รถจักรยานยนต์ 2 คัน เป็นพาหนะในการกระทำผิดและพาทรัพย์หลบหนีไป ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 340, 340 ตรี พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7, 8, ทวิ, 72, 72 ทวิ
จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 379 (ที่ถูกต้องมาตรา 339 วรรคสอง)340 ตรี จำคุกคนละ 18 ปี กับมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 7, 72 จำคุกคนละ 1 ปี และความผิดตามพระราชบัญญติอาวุธปืน ฯมาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ อีกกระทงหนึ่งจำคุกคนละ 1 ปีรวมจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 คนละ 20 ปี รับสารภาพชั้นสอบสวนลดโทษให้ 1 ใน 3คงจำคัดคนละ 13 ปี 4 เดือน ริรถจักรยานยนต์ที่ยึดจากบ้านจำเลยที่ 3 ยกฟ้องจำเลยที่ 2 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 3กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 คงจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 6 ปี 8 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ว่า เมื่อศาลได้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีแล้วศาลไม่น่าจะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ อีกเพราะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันข้อนี้เห็นว่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีนั้น เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มโทษของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 มาตรา 339 ทวิ มาตรา 340 หรือมาตรา 340ทวิ ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ นั้นเป็นความผิดต่างกรรมกัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยเรียงกระทงลงโทษมานั้นชอบแล้วฎีกาข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน.

Share