คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ที่พิพาทเป็นที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวแม้จำเลยครอบครองที่พิพาทตลอดมาในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทก็ตามเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน5ปีนับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองหรืออาศัยในที่พิพาท

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ เดือน เมษายน 2530 จำเลย เช่า ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) ของ โจทก์ เลขที่ 1055เพื่อ ปลูก พืช ค่าเช่า ปี ละ 900 บาท โจทก์ จำเลย ไม่ได้ กำหนด เวลา เช่าและ ไม่ได้ ทำ สัญญาเช่า จำเลย ค้าง ค่าเช่า เป็น เวลา 4 ปี เป็น เงิน3,600 บาท โจทก์ บอกเลิก การ เช่า และ แจ้ง ให้ กรรมการ และ เลขานุการคณะกรรมการ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ประจำ ตำบล พุนกยูง มี คำสั่ง ให้ จำเลย ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ แล้ว ขอให้ ขับไล่ จำเลย และ บริวารออก ไป จาก ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )เลขที่ 1055 ห้าม จำเลย และ บริวาร เกี่ยวข้อง ต่อไป ให้ จำเลย ชำระ เงิน3,600 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย ปี ละ 900 บาทนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ส่งมอบ ที่พิพาท ให้ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ที่พิพาท เป็น ของ จำเลย จำเลย ไม่เคย เช่า ที่พิพาทความจริง แล้ว โจทก์ จำเลย มี เจตนา จะซื้อขาย ที่พิพาท ใน ราคา 40,000 บาทแต่ เนื่องจาก ที่พิพาท ต้องห้าม มิให้ โอน การ ครอบครอง ต่อ กัน ตามพระราชบัญญัติ จัด ที่ดินเพื่อการครองชีพ โจทก์ จำเลย จึง ทำ สัญญาจำนองที่พิพาท โดย มิได้ เจตนา ที่ จะ ให้ มีผล ผูกพัน ตาม สัญญาจำนอง โจทก์ สละการ ครอบครอง ที่พิพาท นับแต่ วัน จำนอง และ ส่งมอบ การ ครอบครอง ที่พิพาทให้ แก่ จำเลย ทั้ง ส่งมอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )พร้อม หลักฐาน การ เสีย ภาษีบำรุงท้องที่ และ ใบเสร็จ การ เสีย ภาษีบำรุง ท้องที่ กับ น. ค.3 เลขที่ 358 ซึ่ง โจทก์ ได้รับ มอบ มาจากกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ให้ จำเลย จำเลย เข้า ครอบครองและ ทำประโยชน์ ใน ที่พิพาท โดย เจตนา เป็น เจ้าของ โดย ความสงบ และโดย เปิดเผย นับแต่ วันที่ 26 สิงหาคม 2529 เป็น เวลา เกินกว่า1 ปี แล้ว นิติกรรม จำนอง ที่พิพาท เป็น การ อำพราง นิติกรรม การ ซื้อ ขายที่พิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย โจทก์ จึง ไม่อาจ แสวงหา ประโยชน์จาก สัญญาจำนอง ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ จำเลย และ บริวาร ออก ไป จากที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 1055ให้ จำเลย ใช้ เงิน 3,600 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหายอีก ปี ละ 900 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย จะ ส่งมอบ ที่พิพาท ให้ โจทก์
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นได้รับ รอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ขับไล่จำเลย ออกจาก ที่พิพาท เพราะ ได้ ซื้อ ที่พิพาท จาก โจทก์ แล้ว เห็นว่าที่พิพาท มี พยานหลักฐาน ปรากฏ ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสาร หมาย จ. 6 ออก ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อ แสดง ว่า โจทก์ได้ ครอบครอง และ ได้ ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2529และ โจทก์ จดทะเบียน จำนอง แก่ จำเลย วันที่ 26 สิงหาคม 2529 โดย ไม่มีกำหนด เวลา ไถ่ถอน คิด ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี และ ส่ง ดอกเบี้ยปี ละ ครั้ง โจทก์ เป็น สมาชิก นิคมสร้างตนเอง ของ กรมประชาสงเคราะห์ซึ่ง ตาม พระราชบัญญัติ จัด ที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 12บัญญัติ ว่า ภายใน ห้า ปี นับแต่ วันที่ ได้รับ โฉนด ที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ผู้ ได้ มา ซึ่ง กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินจะ โอน ที่ดิน นั้น ไป ยัง ผู้อื่น ไม่ได้ นอกจาก การ ตกทอด โดย ทาง มรดกหรือ โอน ไป ยัง สหกรณ์ ที่ ตน เป็น สมาชิก อยู่ แล้วแต่ กรณี ด้วย เหตุ ที่ที่พิพาท ตก อยู่ ภายใน บังคับ มาตรา 12 ของ บทบัญญัติ ดังกล่าวแม้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย อยู่ ใน ที่พิพาท ตลอดมา ตั้งแต่ วัน จำนองใน ฐานะ ผู้ซื้อ ที่พิพาท ก็ ตาม เมื่อ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ภายใน ห้า ปี นับแต่วันที่ โจทก์ ได้รับ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลย จึง ไม่มี สิทธิครอบครอง หรือ อาศัย ใน ที่ดิน ภายใน เขต ของ นิคม อนึ่ง ตาม พระราชบัญญัติจัด ที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติ ว่าผู้ใด ไม่มี สิทธิ ครอบครอง หรือ อาศัย ใน ที่ดิน ภายใน เขต ของ นิคม โดยชอบด้วย กฎหมาย ต้อง รื้อถอน ขนย้าย สิ่งปลูกสร้าง และ สิ่ง อื่น ออกจาก นิคมภายใน สามสิบ วัน นับแต่ วันที่ ทราบ คำสั่ง อธิบดี วรรคสอง บัญญัติ ว่าหาก ไม่ปฏิบัติ การ ภายใน กำหนด เวลา ตาม วรรคหนึ่ง ให้ อธิบดี หรือผู้ซึ่ง อธิบดี มอบหมาย มีอำนาจ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง นั้น ออกจาก ที่ดินของ นิคม ได้ โดย ผู้ นั้น จะ เรียก ค่าทดแทน หรือ ค่าเสียหาย อย่างใด มิได้ดังนั้น ข้ออ้าง ของ จำเลย เพื่อ ที่ จะ ได้ มา ซึ่ง ที่พิพาท จึง ไม่มี กฎหมายสนับสนุน จำเลย ไม่มี สิทธิ อยู่ ใน ที่พิพาท ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้นปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ต่อไป มี ว่า จำเลย ต้อง รับผิด ใช้ ค่าเสียหายก่อน วันฟ้อง ให้ โจทก์ เพียงใด หรือไม่ การ ที่ โจทก์ อ้างว่า ให้ จำเลยเช่า ที่พิพาท แล้ว จำเลย ไม่ชำระ ค่าเช่า เป็น เวลา 4 ปี นั้น จำเลย ต่อสู้ว่า จำเลย ไม่ได้ เช่า ที่พิพาท โจทก์ จึง ไม่มี ค่าเสียหาย ข้อเท็จจริงเรื่อง ค่าเสียหาย ถึง วันฟ้อง นั้น ฟังได้ ว่า โจทก์ ตกลง ยินยอม ให้ จำเลยเข้า ทำประโยชน์ ปลูก พืชผล ใน ที่พิพาท ตลอดจน เสีย ภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมา และ จำเลย ได้ ให้ เช่า หา รายได้ โดย ไม่ต้อง ให้ โจทก์ ดังนั้นที่ โจทก์ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย ก่อน วันฟ้อง เป็น เงิน 3,600 บาทพร้อม ดอกเบี้ย จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ใช้ ค่าเสียหาย ใน ส่วน นี้ ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา ไว้ นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ใช้ ค่าเสียหาย ก่อนวันฟ้อง จำนวน 3,600 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2

Share