คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากบ้านเลขที่405-14-15แต่ไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยว่ามีบ้านเลขที่405-14-15ตั้งอยู่ในท้องที่อื่นใดการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าบ้านพิพาทเลขที่405-14-15ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์หมายถึงบ้านเลขที่405/14-15เพียงแต่โจทก์บรรยายฟ้องรายละเอียดผิดพลาดแม้โจทก์จะไม่ได้ขอแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้องก็เป็นเพียงผิดพลาดเล็กน้อยเท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากบ้านเลขที่405/14-15จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง การที่จำเลยยอมให้ใส่ชื่อ บ. ในโฉนดที่ดินแทนจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้ บ. ผู้เป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวจำเลยจึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อ บ. ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้กรรมสิทธิ์มาก่อนที่จะรู้ว่า บ. เป็นตัวแทนของจำเลยได้ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ บ้าน เลขที่ 405-14-15และ บ้าน เลขที่ 350 โดย ซื้อ จาก นาย บาง แท่งทอง ต่อมา โจทก์ จะ เข้า อาศัย ทำประโยชน์ แต่ ไม่สามารถ เข้า ไป ได้ เพราะ จำเลย และ บริวาร ได้อาศัย อยู่ และ ไม่ยอม ออก ขอให้ บังคับ จำเลย และ บริวาร ออกจาก บ้านดังกล่าว ห้าม ไม่ให้ จำเลย และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง อีก ต่อไป กับ ให้จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 10,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน บ้าน เลขที่405-14-15 และ บ้าน เลขที่ 350 พร้อม ทั้งที่ ดิน ที่ปลูกบ้าน แต่ จำเลยเป็น คนต่างด้าว ไม่สามารถ ถือ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ได้ จึง ใส่ ชื่อนาย บางหรือสุเทพ แท่งทอง เป็น เจ้าของ แทน นิติกรรม ใด ๆ เกี่ยวกับ บ้าน ดังกล่าว ระหว่าง โจทก์ กับ นาย บางหรือสุเทพ เป็น นิติกรรม ที่ ไม่สมบูรณ์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นาย บางหรือสุเทพ และ โจทก์ ได้ แจ้ง ข้อความเท็จ ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ว่า จดทะเบียน โอน ขาย เฉพาะที่ดิน โฉนด เลขที่ 14180 โดย ไม่มี สิ่งปลูกสร้าง เพื่อ หลบเลี่ยง ภาษีการกระทำ ดังกล่าว เป็น การกระทำ ที่ มี วัตถุประสงค์ ที่ เป็น การ ต้องห้ามชัดแจ้ง โดย กฎหมาย และ ขัด ต่อ ความสงบ เรียบร้อย ย่อม เป็น โมฆะ โจทก์รับโอน กรรมสิทธิ์ ใน บ้าน และ ที่ดิน จาก นาย บางหรือสุเทพ ซึ่ง เป็น ตัวแทน จำเลย ที่ ทำ ไป โดย ไม่มี อำนาจ และ ไม่ได้ รับ ความ ยินยอม จาก จำเลยโจทก์ ผู้รับโอน ย่อม ไม่มี สิทธิ ดีกว่า ผู้โอน โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องโจทก์ เสียหาย ไม่เกิน เดือน ละ 1,300 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย และ บริวาร ออกจากบ้าน เลขที่ 405-14-15 (405/14-15) ถนน อภิบาลบัญชา และ บ้าน เลขที่ 350 ซอย ถนนบำรุงเมือง ตำบล ใน เมือง อำเภอ เมือง นครพนม จังหวัด นครพนม ห้าม ไม่ให้ จำเลย และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง อีกให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 10,000 บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จำเลย และ บริวาร จะ ออกจาก บ้าน พิพาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติตาม ที่ คู่ความ มิได้ ฎีกา โต้แย้ง ว่า เดิม ที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 14180และ เลขที่ 1567 เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย โดย จำเลย ให้ นาย บาง แท่งทอง มี ชื่อ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ แทน ใน โฉนด ที่ดิน ต่อมา นาย บาง ได้ จดทะเบียน โอน ขาย ให้ แก่ โจทก์ มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยใน ประการ แรก ว่า ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย และ บริวาร ออกจาก บ้านพิพาท เลขที่ 405-14-15 (405/14-15) นั้น เป็น การ พิพากษา เกิน ไป กว่าหรือ นอกจาก ที่ ปรากฏ ใน คำฟ้อง หรือไม่ แม้ ตาม คำฟ้อง และ คำขอ ท้ายฟ้องโจทก์ ขอให้ ศาล พิพากษา ให้ จำเลย และ บริวาร ออก ไป จาก บ้าน เลขที่ 405-14-15แต่ ไม่ปรากฏ จาก พยานหลักฐาน ของ โจทก์ และ จำเลย ว่า มี บ้าน เลขที่405-14-15 ตั้ง อยู่ ใน ท้องที่ อื่น ใด และ ตาม คำฟ้อง ของ โจทก์ ได้ แนบสัญญาซื้อขาย สังหาริมทรัพย์ มา ท้ายฟ้อง ซึ่ง ถือว่า เป็น ส่วน หนึ่ง ของคำฟ้อง ว่า บ้าน เลขที่ 405-14-15 ตั้ง อยู่ ที่ ถนน อภิบาลบัญชา ตำบล ใน เมือง อำเภอ เมือง นครพนม จังหวัด นครพนม อันเป็น สิ่งปลูกสร้างอาคาร สาม ชั้น จำนวน 2 คู หา สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าว ตั้ง อยู่ บน ที่ดินตาม โฉนด เลขที่ 14180 เลขที่ ดิน 162 หน้า สำรวจ 4065 ตำบล ใน เมืองอำเภอ เมือง นครพนม จังหวัด นครพนม และ จำเลย ก็ ให้การ รับ ว่าอาคารพาณิชย์ คอนกรีตเสริมเหล็ก สาม ชั้น คือ ห้อง เลขที่ 405/14-15ตั้ง อยู่ บน โฉนด เลขที่ 14180 ตำบล ใน เมือง อำเภอ เมือง นครพนมจังหวัด นครพนม เป็น ของ จำเลย แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย ทราบ ดี ว่าบ้าน เลขที่ 405-14-15 และ บ้าน เลขที่ 405/14-15 คือ บ้าน หลัง เดียว กันนั่นเอง ใน ชั้นพิจารณา ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ก็ เบิกความ ว่า บ้าน พิพาทคือ บ้าน เลขที่ 405/14-15 ดังนั้น การ ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่าบ้าน พิพาท เลขที่ 405-14-15 ย่อม เป็น ที่ เข้าใจ ได้ว่า โจทก์ หมายถึงบ้าน เลขที่ 405/14-15 นั่นเอง เพียงแต่ โจทก์ บรรยายฟ้อง รายละเอียดผิดพลาด แม้ โจทก์ จะ ไม่ได้ ขอแก้ไข คำฟ้อง ให้ ถูกต้อง ก็ เป็น เพียงผิดพลาด ไป บ้าง เล็กน้อย เท่านั้น การ ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลยและ บริวาร ออกจาก บ้าน เลขที่ 405/14-15 จึง ไม่เป็น การ พิพากษาเกิน ไป กว่า หรือ นอกเหนือ จาก ที่ ปรากฏ ใน คำฟ้อง ปัญหา ที่ จะ ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ประการ ต่อมา มี ว่า โจทก์ หรือ จำเลย เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท เห็นว่า การ ที่นาย บาง แท่งทอง มี ชื่อ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 และ จ. 3 แทน จำเลยปรากฏว่า นาย บาง ได้ ทำนิติกรรม จำนอง เป็น ประกัน เงินกู้ ให้ แก่ จำเลย โดย จำเลย มิได้ แสดง ให้ เห็นว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ จำเลย โจทก์ ซึ่ง เป็นบุคคลภายนอก ไม่รู้ จัก จำเลย มา ก่อน ทำนิติกรรม ซื้อ ขาย โดย ถูกต้องชอบ ด้วย กฎหมาย และ เสีย ค่าตอบแทน และ ได้ กระทำ โดยสุจริต ไม่ทราบ ว่านาย บาง ลงชื่อ ใน โฉนด ที่ดิน แทน จำเลย ทั้ง ราคา ที่ ซื้อ ขาย ก็ สูง พอสมควร กับ ราคา ที่ดิน การ ที่ จำเลย ยอม ให้ ใส่ ชื่อ นาย บาง ใน โฉนด ที่ดิน แทน ตน ก็ เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ซึ่ง เป็น ตัวการ ไม่เปิดเผย ชื่อ ยอม ให้นาย บาง ผู้เป็น ตัวแทน ทำการ ออก หน้า เป็น ตัวการ ว่า เป็น ผู้ มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ดังกล่าว จำเลย จึง หา อาจ ทำให้ เสื่อมเสีย ถึง สิทธิ ของ โจทก์ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก ที่ มี ต่อ นาย บาง ผู้เป็น ตัวแทน และ ขวนขวาย ได้ กรรมสิทธิ์ มา ก่อน ที่ จะ รู้ ว่า นาย บาง เป็น ตัวแทน ของ จำเลย ได้ไม่ แม้ การ ที่ โจทก์ มิได้ นำ หลาน ชาย ที่ ไป ดู บ้าน พิพาท มา เบิกความ ก็ ไม่ทำ ให้คำเบิกความ ของ ตัว โจทก์ เสีย ไป และ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ และ นาย บาง จดทะเบียน การ โอน กรรมสิทธิ์ เฉพาะ ที่ดิน โดย ไม่มี สิ่งปลูกสร้าง และมา ทำ สัญญาซื้อขาย สิ่งปลูกสร้าง กัน ภายหลัง เพราะ โจทก์ มี เงินค่าธรรมเนียม การ โอน ไม่พอ การกระทำ เช่นนี้ เพื่อ ทำให้ เสีย ภาษี และค่าธรรมเนียม การ โอน ตาม กฎหมาย น้อยลง นิติกรรม เป็น โมฆะ นั้นนาย ศิริชัย จิตตะวนิช เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด นครพนม พยานโจทก์ เบิกความ ว่า การ ซื้อ ขาย ที่ดิน ซึ่ง มี สิ่งปลูกสร้าง หาก คู่สัญญา ยืนยันว่า จะ ทำการ ซื้อ ขาย และ จดทะเบียน เฉพาะ ที่ดิน สามารถ ทำได้ แต่ ถ้าเจ้าพนักงาน ที่ดิน ทราบ ภายหลัง ว่า คู่สัญญา มี เจตนา ที่ จะ ทำการ ซื้อ ขายสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่ บน ที่ดิน ด้วย ก็ จะ ให้ ไป ทำการ จดทะเบียน ใน ภายหลังณ ที่ว่าการ อำเภอ ดังนั้น การกระทำ ของ โจทก์ และ นาย บาง ดังกล่าว จึง ไม่ทำ ให้ นิติกรรม ตกเป็น โมฆะ ดัง ที่ จำเลย ฎีกา ”
พิพากษายืน

Share