คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา97โจทก์จึงมีสิทธิอ้างจำเลยที่2เป็นพยานฝ่ายโจทก์และจะให้นำสืบเมื่อใดก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรการที่โจทก์อ้างจำเลยที่2ให้เบิกความเป็นพยานโจทก์ก่อนพยานอื่นจึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ขณะซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท ย. โจทก์เป็นคนต่างด้าวนิติกรรมการซื้อขายเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)แต่ไม่ทำให้นิติกรรมเสียเปล่าไปซึ่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา94ให้อำนาจที่จะจำหน่ายที่ดินนั้นได้และการบังคับให้จำหน่ายหมายความเฉพาะกับที่ดินพิพาทเท่านั้นไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างพิพาทด้วยเพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า ขณะที่ โจทก์ เป็น คนต่างด้าว โจทก์ ซื้อ ที่ดินโฉนด เลขที่ 2892 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง โดย ตกลง กับ จำเลย ทั้ง สอง ว่าให้ จำเลย ที่ 2 ภริยา จำเลย ที่ 1 ซึ่ง มี สัญชาติ ไทย เป็น ผู้มีชื่อถือ กรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ที่ดิน แทน ต่อมา โจทก์ ได้รับ อนุญาต ให้ แปลงสัญชาติ เป็น สัญชาติ ไทย โจทก์ แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง โอน ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าว ให้ โจทก์ แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตามขอ ศาล พิพากษา แสดง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่2892 ตำบล วังบูรพาภิรมย์ (พาหุรัด) อำเภอพระนคร (ในพระนคร) กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าว ให้ โจทก์ หาก จำเลยทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม ขอให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนาหาก ไม่อาจ บังคับ ได้ ขอให้ จำหน่าย ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าวแก่ บุคคลภายนอก โดย โจทก์ เป็น ผู้จัดการ จำหน่าย และ ให้ โจทก์มีสิทธิ ใน เงิน ที่ จำหน่าย โดย ให้ ถือว่า เป็น การ ขอให้ จำหน่าย ที่ดินตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94, 96หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตาม ขอให้ ถือเอา คำพิพากษา ของศาล แทน การแสดง เจตนา หาก ไม่อาจ บังคับ ได้ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ ราคา ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็น เงิน 3,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ไม่เคย ถือ กรรมสิทธิ์แทน โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง พิพาท เป็น ของโจทก์ โดย ให้ จำเลย ที่ 2 ลงชื่อ ใน โฉนด แทน โจทก์ โจทก์ เป็น คนต่างด้าวให้ จำเลย ที่ 2 รับโอน ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง แทน เป็น การกระทำ ที่ฝ่าฝืน กฎหมาย โดยชัดแจ้ง จึง ตกเป็น โมฆะ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ มิได้ อยู่ ใน ฐานะ ที่ จะ บังคับ ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง ได้ ส่วน การ ที่โจทก์ ได้รับ สัญชาติ ไทย มา ใน ภายหลัง หาก มี จริง ก็ หา ทำให้ การ อันเป็นโมฆะ แต่ เริ่มแรก กลับ ฟื้น คืน ดี ขึ้น มา ไม่ พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ประการ ที่ สอง จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า โจทก์ใช้ สิทธิ ไม่สุจริต โดย ใช้ สิทธิ อ้าง จำเลย ที่ 2 เป็น พยานโจทก์ ให้เบิกความ เป็น พยานโจทก์ ก่อน พยาน อื่น หรือไม่ เห็นว่า ประเด็น ข้อ นี้ศาลอุทธรณ์ ไม่ได้ วินิจฉัย แต่ ศาลฎีกา เห็นควร วินิจฉัย ไป เสีย เลยโดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย อีก เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 97 บัญญัติ ว่า “คู่ความฝ่ายหนึ่ง จะ อ้าง คู่ความ อีกฝ่าย หนึ่ง เป็น พยาน ของ ตน หรือ จะ อ้าง ตนเองเป็น พยาน ก็ ได้ ” เมื่อ กฎหมาย บัญญัติ ให้สิทธิ ไว้ เช่นนี้ ดังนั้นการ ที่ โจทก์ อ้าง จำเลย ที่ 2 เบิกความ เป็น พยาน ฝ่าย โจทก์ และ จะ นำสืบเมื่อใด ก็ ได้ แล้วแต่ โจทก์ จะ เห็นสมควร ไม่เป็น การ ใช้ สิทธิ โดยไม่สุจริต ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น
ประการ สุดท้าย โจทก์ ฎีกา ว่า การ ได้ มา ซึ่ง ที่ดิน ของ คนต่างด้าวตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน หมวด 8 มาตรา 86 ต้อง อาศัย สนธิสัญญา และตาม มาตรา 84 ซึ่ง ต้อง เป็น ไป ตาม เงื่อนไข และ วิธีการ ซึ่ง กำหนด โดยกฎกระทรวง แต่ ไม่มี บท มาตรา ใด บัญญัติ ให้ เป็น โมฆะ จึง ไม่เป็น โมฆะและ โจทก์ มีอำนาจ จำหน่าย ที่ดินพิพาท ได้ ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน ได้หรือไม่ นั้น เห็นว่า ใน ขณะที่ โจทก์ ซื้อ ที่ดินพิพาท จาก บริษัท ยงสิน (ประเทศไทย) จำกัด โจทก์ เป็น บุคคล ต่างด้าว นิติกรรม การ ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท จึง เป็น การ ต้องห้าม ชัดแจ้ง โดย ประมวล กฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และ ตกเป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่ แก้ไข ใหม่ ) เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ไม่มีสิทธิ ถือ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท ซึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา94 บัญญัติ ให้ คนต่างด้าว นั้น จัดการ จำหน่าย ภายใน เวลา ที่ อธิบดีกรมที่ดิน กำหนด ให้ ซึ่ง ไม่ น้อยกว่า 180 วัน แต่ ไม่เกิน 1 ปีถ้า คนต่างด้าว ไม่ จำหน่าย ที่ดิน ภายใน กำหนด ให้ อธิบดี กรมที่ดิน มีอำนาจ จำหน่าย ที่ดิน นั้น ผล ของ การ ที่ นิติกรรม เป็น โมฆะ ดังกล่าว จะไม่ทำ ให้ นิติกรรม เสีย เปล่า ไป ยัง คง มีผล ตาม กฎหมาย อยู่ แต่ประมวลกฎหมายที่ดิน ให้ อำนาจ ที่ จะ จำหน่าย ที่ดิน นั้น ได้ และ การบังคับ ให้ จำหน่าย ดังกล่าว หมายความ เฉพาะ กับ ที่ดินพิพาท เท่านั้น ไม่รวมถึง สิ่งปลูกสร้าง พิพาท ด้วย เพราะ คนต่างด้าว ไม่ต้องห้าม มิให้ ถือกรรมสิทธิ์ สิ่งปลูกสร้าง แต่ ประการใด ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา อ้าง เหตุว่า เมื่อ นิติกรรม เป็น โมฆะ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้องจึง ไม่ชอบ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยบางส่วน ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ จำหน่าย เฉพาะ ที่ดิน โฉนด เลขที่2892 ตำบล วังบูรพาภิรมย์ (พาหุรัต) อำเภอพระนคร (ในพระนคร) กรุงเทพมหานคร ภายใน เวลา ที่ อธิบดี กรมที่ดิน กำหนด โดย ให้ จำเลย ที่ 2ผู้มีชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ แทน โจทก์ ไป จดทะเบียน โอน จำหน่าย ให้ หากไม่ไป ให้ ถือ คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา และ ให้ โจทก์ มีสิทธิใน เงิน ที่ จำหน่าย หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ อธิบดี กรมที่ดิน มีอำนาจจำหน่าย ที่ดิน นั้น ได้ ตาม กฎหมาย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และ ให้ ศาลชั้นต้น แจ้ง คำพิพากษา ศาลฎีกา ให้ อธิบดีกรมที่ดิน ทราบ

Share