คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2494

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์โดยบรรยายฟ้องในตอนต้นกล่าวหาว่า จำเลยรับมอบทรัพย์แล้ยักยอกทรัพย์ แต่ตอนหลังกลับกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์แล้วอ้างบทมาตราขอให้ลงโทษทั้งความผิดฐานลักทรัพย์แลยักยอก ดังนี้ เป็นฟ้องที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัว ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องเป็นอย่างไรแน่ และจำเลยต้องหาว่าได้กระทำการอย่างใดแน่ อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์ คำฟ้องเช่นนี้จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158( 5 ) วรรคแรก ศาลจะรับไว้พิจารณาเอาโทษจำเลยมิได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องว่า ” นายชิต ดำรงรัตน์ได้มอบหมายให้นายพรจำเลยเป็นผู้ดูแลรักษรหนังโค ๖ ผืน…ครั้นจำเลยทั้งหมดบังอาจสมคบกันเอาหนังโคดังกล่าวไปโดยการทุจริต ทั้งนี้โดยจำเลยที่ ๒ – ๓ – ๔ สมคบกับจำเลยที่ ๑ มีเจตนาทุจริต เบียดบังเอาทรัพย์ที่จำเลยที่ ๑ ได้รับมอบหมายดังกล่าวข้างต้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียหรือมิฉะนั้น จำเลยที่ ๒ – ๓ ๔ ได้บังอาจสมคบกับจำเลยที่ ๑ เอาทรัพย์รายนี้ไป โดยเจ้าทรัพย์ได้อนุญาตและโดยการทุจริต…” ขอให้ลงโทษตาม ก.ม. ลักษณะอาญามาตรา ๓๑๔, ๒๘๘, ๒๙๓,
จำเลยปฎิเสธแลต่อสู้ว่า ฟ้องเคลือบคลุม
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม พิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทย์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ฟ้องตอนแรกกล่าวหาเป็นลักษณ ๓๗ ผิดฐานยักยอกตามมาตรา ๓๑๔ และอ้างมาตรา ๓๑๔ มาลงโทษ+ ลงโทษ แต่ฟ้องตอนหลังกลับกล่าวเป็นลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา ๒๘๘ และอ้างมาตรา ๒๘๘ มาเป็นบทลงโทษฟ้องดังนี้จึงขัดแย้งกันในตัวเองทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องเป็นอย่างไรแน่ และจำเลยต้องหาว่าได้กระทำการอย่างไรแน่ อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา ๑๕๘ ( ๕ ) วรรคแรก จะรับไว้พิจารณาเอาโทษจำเลยมิได้
จึงพิพากษายืน

Share