คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

บิดาจำเลยยกที่ดินพิพาทให้ก็เพื่อให้บิดาโจทก์ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามอันเป็นการยกให้ตามหลักศาสนาอิสลามมิได้มีความประสงค์ที่จะยกที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์เป็นสิทธิส่วนตัวซึ่งบิดาโจทก์ทราบถึงเจตนาของบิดาจำเลยและข้อบัญญัติของศาสนาอิสลามเพราะเป็นครูสอนศาสนาอิสลามแม้โจทก์เองซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามต่อจากบิดาก็ทราบดีว่าที่ดินที่บิดาจำเลยยกให้นั้นมิได้ยกให้เป็นสิทธิส่วนตัวของบิดาโจทก์แต่ยกให้แก่โรงเรียนสอนศาสนาการที่บิดาโจทก์ครอบครองดูแลที่ดินพิพาทตั้งแต่ได้รับยกให้จากบิดาจำเลยจึงเป็นการครอบครองดูแลรักษาตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามบิดาโจทก์มิได้มีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนด้วยเจตนาเป็นเจ้าของแม้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดบิดาโจทก์หรือโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย แบ่งแยก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 189เนื้อที่ 2 ไร่ ตาม แผนผัง ท้ายฟ้อง ซึ่ง โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ โดยการ ครอบครองปรปักษ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382และ จดทะเบียน ใส่ ชื่อ โจทก์ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ที่ดิน ที่แบ่งแยก และ ห้าม จำเลย เข้า เกี่ยวข้อง ใน ที่ดิน ของ โจทก์ กับ ให้ จำเลยใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ มิได้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท โดย การครอบครองปรปักษ์ โจทก์ จึง ไม่ได้ รับ ความเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ไป ดำเนินการ รังวัด แบ่งแยกที่ดินพิพาท ตาม แผนผัง ท้ายฟ้อง เนื้อที่ 2 ไร่ เศษ ออกจาก โฉนดเลขที่ 189 ให้ โจทก์ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดย ให้ โจทก์ เป็น ผู้ เสียค่าธรรมเนียม ใน การ แบ่งแยก หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม คำบังคับ ก็ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า พยานโจทก์ ล้วน แต่ เจือสม กับ ข้อ นำสืบของ จำเลย แสดง ให้ เห็นว่า การ ที่ บิดา จำเลย ยก ที่ดินพิพาท ให้ ก็ เพื่อให้ บิดา โจทก์ ใช้ เป็น สถานที่ ก่อสร้าง โรงเรียน สอน ศาสนา อิสลามอันเป็น การ ยกให้ ตาม หลัก ศาสนา อิสลาม มิได้ มี ความ ประสงค์ที่ จะ ยก ที่ดินพิพาท ให้ แก่ บิดา โจทก์ เป็น สิทธิ ส่วนตัว แต่ เนื่องจากโรงเรียน สอน ศาสนา อิสลาม ไม่ได้ เป็น นิติบุคคล เมื่อ บิดา โจทก์เป็น ครู สอน ศาสนา จึง ต้อง เป็น ผู้ครอบครอง ดูแล รักษา ทรัพย์ นั้น ไว้แทน ซึ่ง บิดา โจทก์ ก็ คง ทราบ ถึง เจตนา ของ บิดา จำเลย และ ข้อ บัญญัติของ ศาสนา อิสลาม เพราะ เป็น ครู สอน ศาสนา อิสลาม แม้ แต่ โจทก์ เองซึ่ง เป็น ผู้ ดำเนิน กิจการ ของ โรงเรียน สอน ศาสนา อิสลาม ต่อ จาก บิดาก็ ทราบ ดี ว่า ที่ดิน ที่ บิดา จำเลย ยกให้ นั้น มิได้ ยกให้ เป็น สิทธิ ส่วนตัวของ บิดา โจทก์ แต่ ยกให้ แก่ โรงเรียน สอน ศาสนา เมื่อ โจทก์ มอบอำนาจให้ ทนายความ ของ โจทก์ ไป แจ้ง ขอ อายัด ที่ดินพิพาท ต่อเจ้าพนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร สาขา พระโขนง จึง แจ้ง ว่า “เมื่อ ประมาณ ต้น เดือน พฤษภาคม 2530 โรงเรียน ธรรมดีนูรู้ลอิสลาม ได้ ไป ติดต่อ ขอให้ นาย มาน กริสและ ( จำเลย ) เจ้าของ ที่ดิน คน ปัจจุบัน ดำเนินการ แบ่งแยก ที่ดิน ให้ แก่ โรงเรียน ตาม หนังสือ ยก ที่ดิน ให้ ซึ่งนาย บุดห์ ได้ ทำ ไว้ ให้ ดังกล่าว นาย มาน ไม่ยอม แบ่ง ที่ดิน ให้ โรงเรียน ธรรมดีนูรู้ลอิสลาม โดย นาย อารบี ธรรมดี ( โจทก์ )ผู้จัดการ โรงเรียน คน ปัจจุบัน จึง ได้ ขอ อายัด ที่ดิน เพื่อ จะ ไป ดำเนินการร้อง ต่อ ศาล ให้ ศาล สั่ง ว่า โรงเรียน ธรรมดีนูรู้ลอิสลาม ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตาม โฉนด แล้ว บางส่วน โดย การ ครอบครองปรปักษ์ ” ดังนั้นการ ที่ บิดา โจทก์ ครอบครอง ดูแล ที่ดินพิพาท ตั้งแต่ ได้รับ ยกให้ จาก บิดาจำเลย จึง เป็น การ ครอบครอง ดูแล รักษา ตาม บทบัญญัติ ของ ศาสนา อิสลามบิดา โจทก์ มิได้ มี เจตนา ยึดถือ ครอบครอง ที่ดินพิพาท เพื่อ ตน ด้วย เจตนาเป็น เจ้าของ แต่อย่างใด แม้ ครอบครอง ที่ดินพิพาท มา นาน เท่าใดบิดา โจทก์ หรือ โจทก์ ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท โดย การ ครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
พิพากษายืน

Share