คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรในเหตุการณ์เมื่อปี2534แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าการกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นเมื่อปี2533แม้ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจะแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับเวลากระทำความผิดแต่จำเลยก็นำสืบข้อเท็จจริงตรงตามที่โจทก์นำสืบมาแสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้เมื่อข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามและจำเลยมิได้หลงต่อสู้จึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสอง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334, 335, 357 และ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์6.65 บาท แก่ เจ้าของ
จำเลย ให้การ ปฎิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 วรรคหนึ่ง ลงโทษ จำคุก 2 ปี ข้อหา อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ใน เบื้องต้น ว่า โจทก์ บรรยายฟ้อง ข้อหา รับของโจร ว่า ประมาณ ต้น เดือนกุมภาพันธ์ 2534 เวลา กลางวัน วัน ใด ไม่ปรากฏ ชัด หลังจาก ทรัพย์ของ ผู้เสียหาย ถูก ลัก ไป จำเลย ครอบครอง แบบ แจ้ง การ ครอบครอง(ส.ค.1 ) จำนวน 3 ฉบับ ซึ่ง เป็น ทรัพย์ บางส่วน ของ ผู้เสียหายที่ ถูก คนร้าย ลัก ไป โดย รู้ อยู่ แล้ว ว่า เป็น ทรัพย์ ที่ ได้ มาจาก การกระทำความผิด ฐาน ลักทรัพย์ แล้ว นำ เอกสาร ทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าว ไปขาย แก่ ผู้มีชื่อ และ ทางพิจารณา โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลย นำ แบบ แจ้ง การครอบครอง (ส.ค.1 ) ทั้ง 3 ฉบับ ซึ่ง จำเลย ครอบครอง ไป ขายแก่ ผู้มีชื่อ เมื่อ เดือน กุมภาพันธ์ 2533 จำเลย ฎีกา เป็น ข้อกฎหมาย ว่าตาม ฟ้องโจทก์ ประสงค์ ให้ ลงโทษ จำเลย ข้อหา รับของโจร ใน เหตุการณ์เมื่อ ปี 2534 แต่ ทางพิจารณา โจทก์ นำสืบ ว่า การกระทำ ความผิดฐาน รับ ของ โจทก์ เกิดขึ้น เมื่อ ปี 2533 อันเป็น คน ละ เหตุการณ์ กับที่ โจทก์ ฟ้อง และ จำเลย หลงต่อสู้ ศาล จึง ไม่อาจ ลงโทษ จำเลย ฐาน รับของโจร ได้
พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตาม ข้อเท็จจริง ที่ รับฟัง ได้ ในเบื้องต้น นั้น ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ใน ทางพิจารณา แตกต่าง กับข้อเท็จจริง ดัง ที่ กล่าว ใน ฟ้อง เกี่ยวกับ เวลา กระทำ ความผิด ซึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติเกี่ยวกับ กรณี เช่นนี้ มิให้ ถือว่า ต่างกัน ใน ข้อ สาระสำคัญ ทั้ง มิให้ถือว่า ข้อ ที่ พิจารณา ได้ความ นั้น เป็น เรื่อง เกินคำขอ หรือ เป็น เรื่องที่ โจทก์ ไม่ประสงค์ ให้ ลงโทษ จึง ไม่เป็นเหตุ ให้ ต้อง ยกฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง เว้นแต่จะ ปรากฏ แก่ ศาล ว่าการ ที่ ฟ้อง ผิด ไป เป็นเหตุ ให้ จำเลย หลงต่อสู้จึง จะ ถือว่า ข้อเท็จจริง ที่ แตกต่าง กัน เป็น ข้อแตกต่าง ใน ข้อ สาระสำคัญอันเป็น เหตุ ให้ ต้อง ยกฟ้อง แต่ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า เมื่อ ปี 2533จำเลย นำ แบบ แจ้ง การ ครอบครอง (ส.ค.1 ) ไป ขาย แก่ นาย บุญช่วย เรืองรังษี 2 ฉบับ เป็น เงิน 20,000 บาท และ ขาย แก่ นาย สมพงษ์ ลำใย 1 ฉบับ ราคา 7,000 บาท นั้น จำเลย ก็ นำสืบ ข้อเท็จจริง ตรง ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ มา แสดง ว่า จำเลย มิได้ หลงต่อสู้กรณี มิใช่ เรื่อง ที่ ฟ้อง ผิด ไป เป็นเหตุ ให้ จำเลย หลงต่อสู้ เมื่อข้อแตกต่าง ดังกล่าว นั้น มิใช่ ใน ข้อ สาระสำคัญ และ ทั้ง จำเลย มิได้หลงต่อสู้ ศาล จึง ลงโทษ จำเลย ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ได้ความ นั้น ได้ ซึ่งเป็น ไป ตาม ข้อยกเว้น ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share