คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ในกรณี หย่าโดยคำพิพากษาของศาลประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1520วรรคสองกำหนดให้ศาลซึ่งพิจารณาคดี ฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใดทั้งนี้ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญคำเบิกความของจำเลยที่มีใจความว่าโจทก์ไม่เคยให้อะไรจำเลยตลอดชีวิตสมรสเพื่อบ่งชี้ว่าโจทก์เป็นคนนิสัยตระหนี่ไม่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อกับคำเบิกความที่มีใจความว่าขณะบุตรทั้งสองอยู่ที่บ้านมารดาโจทก์ในประเทศ สหรัฐอเมริกา โจทก์ไม่สนใจใยดีต่อบุตรทั้งสองปล่อยให้บุตรทั้งสองหาอาหารรับประทานเองและโจทก์ยังได้ทำโทษบุตรทั้งสองโดยให้นอนที่ระเบียงบ้านนอกห้องนอนทำให้หนาวเย็นจนเกิดความกลัวเพื่อบ่งชี้ว่าโจทก์ไม่มีความรักความห่วงใยในตัวบุตรทั้งสองและโจทก์เป็นคนมีจิตใจโหดร้ายต่อบุตรทั้งสองไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองได้จึงเป็นข้อสำคัญในคดีที่จำเลยฟ้องขอหย่าและขอให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยหรือโจทก์ฝ่ายใดสมควรจะเป็น ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร เพราะหากศาลเชื่อตามคำเบิกความของจำเลยศาลอาจชี้ขาดให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองและแม้ว่าศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้บุตรทั้งสองอยู่ในความปกครองของจำเลยตามความต้องการของบุตรทั้งสองเป็นประการสำคัญโดยมิได้ยกเอาคำเบิกความของจำเลยขึ้นวินิจฉัยแต่ข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องนำมาคำนึงถึงว่าจำเลยหรือโจทก์ฝ่ายใดควรจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองแล้วจะทำให้บุตรทั้งสองได้รับความผาสุกและประโยชน์ดีที่สุดเป็นสำคัญนั้นมีอยู่หลายประการหาใช่มีแต่เพียงเหตุเดียวเฉพาะที่ศาลชั้นต้นยกมาอ้างอิงเอาไว้โดยเด่นชัดเท่านั้นไม่ดังนั้นข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของจำเลยดังกล่าวจึงเป็น ข้อสำคัญในคดีมาแต่ต้นหากเป็นความเท็จการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 91
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มีมูล ให้ ประทับ ฟ้อง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า โจทก์ มิใช่ ผู้เสียหายพิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณาและ พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 วรรคแรก วางโทษ จำคุก 1 ปี ปรับ 4,000 บาท โทษ จำคุกเห็นสมควร รอการลงโทษ ไว้ 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1520 วรรคสอง บัญญัติ ว่า “ใน กรณี หย่า โดย คำพิพากษา ของ ศาลให้ ศาล ซึ่ง พิจารณา คดี ฟ้อง หย่า นั้น ชี้ขาด ด้วย ว่า ฝ่ายใด จะ เป็นผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร คนใด ทั้งนี้ ให้ ศาล คำนึง ถึง ความ ผาสุก และประโยชน์ ของ บุตร นั้น เป็น สำคัญ ” ดังนั้น คำเบิกความ ของ จำเลยที่ มี ใจความ ว่า โจทก์ ไม่เคย ให้ อะไร จำเลย ตลอด ชีวิต สมรสเพื่อ บ่งชี้ ว่า โจทก์ เป็น คน นิสัย ตระหนี่ ไม่มี น้ำใจ เอื้อเฟื้อกับ เบิกความ มี ใจความ ว่า ขณะ บุตร ทั้ง สอง อยู่ ที่ บ้าน (มารดา) โจทก์ ในประเทศ สหรัฐอเมริกา โจทก์ ไม่ สนใจ ใย ดี ต่อ บุตร ทั้ง สอง ปล่อย ให้ บุตร ทั้ง สอง หา อาหาร รับประทาน เอง และ โจทก์ ยัง ได้ ทำ โทษ บุตร ทั้ง สองโดย ให้ นอน ที่ ระเบียงบ้าน นอก ห้องนอน ทำให้ หนาวเย็น จน เกิด ความ กลัวเพื่อ บ่งชี้ ว่า โจทก์ ไม่มี ความ รัก ความ ห่วงใย ใน ตัว บุตร ทั้ง สอง และ โจทก์เป็น คน มี จิตใจ โหดร้าย ต่อ บุตร ทั้ง สอง ไม่ เหมาะสม ที่ จะ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สอง ให้ ได้รับ ความ ผาสุก ได้ จึง เป็น ข้อสำคัญ ใน คดี ที่จำเลย ฟ้อง ขอ หย่า และ ขอให้ ศาล ชี้ขาด ว่า จำเลย หรือ โจทก์ ฝ่ายใดสมควร จะ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร เพราะ หาก ศาล เชื่อ ตามคำเบิกความ จำเลย ศาล อาจ ชี้ขาด ให้ จำเลย เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สอง โดย เห็นว่า โจทก์ มี นิสัย และ จิตใจ ไม่ เหมาะสมที่ จะ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สอง ให้ ได้รับ ความ ผาสุก ได้ เท่ากับให้ จำเลย เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สอง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ บุตร ทั้ง สอง อยู่ ใน ความ ปกครอง ของ จำเลย ตามความ ต้องการ ของ บุตร ทั้ง สอง เป็น ประการ สำคัญ มิได้ ยก เอา คำเบิกความของ จำเลย ขึ้น วินิจฉัย หาก จะ ฟัง ว่า คำเบิกความ ของ จำเลย ใน การพิจารณา คดีแพ่ง ใน ประเด็น ข้อพิพาท ดังกล่าว เป็นเท็จ ก็ ไม่เป็นข้อสำคัญ ใน คดี นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ศาลฎีกา เพราะ ข้อเท็จจริง ที่ศาล จะ ต้อง นำ มา คำนึง ถึง ว่า จำเลย หรือ โจทก์ ฝ่ายใด เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สอง แล้ว จะ ยัง ให้ บุตร ทั้ง สอง ได้รับ ความ ผาสุก และประโยชน์ ดี ที่สุด เป็น สำคัญ นั้น มี อยู่ หลาย ประการ นิสัย และ จิตใจ ของผู้ที่ จะ ใช้ อำนาจปกครอง ตลอดจน ความสมัครใจ ของ บุตร ทั้ง สอง ว่า ต้องการจะ อยู่ กับ ฝ่ายใด ล้วน เป็นเหตุ ที่ ศาล จะ นำ มา พิจารณา ชี้ขาด ใน ประเด็นข้อ นี้ ได้ ทั้งสิ้น หาใช่ มี อยู่ เพียง เหตุ เดียว เฉพาะ ที่ ศาลชั้นต้น ยกมาอ้างอิง เอาไว้ โดย เด่นชัด เท่านั้น ไม่ ดังนั้น ข้อเท็จจริง ตามคำเบิกความ จำเลย ดังกล่าว จึง เป็น ข้อสำคัญ ใน คดี มา แต่ ต้น แม้ คำพิพากษาศาลชั้นต้น จะ มิได้ ยก เอา มา วินิจฉัย แต่ ขณะ จำเลย เบิกความ ข้อเท็จจริงนั้น เป็น ข้อสำคัญ ใน คดี หาก เป็น ความเท็จ ดัง ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัยการกระทำ ของ จำเลย ย่อม เป็น ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177วรรคหนึ่ง ได้ ฎีกา ของ โจทก์ จึง ฟังขึ้น แต่ เนื่องจาก ว่า จำเลย ได้อุทธรณ์ โต้แย้ง ไว้ ว่า คำเบิกความ ของ จำเลย ไม่เป็น ความเท็จ นั้นศาลอุทธรณ์ ยัง ไม่ได้ วินิจฉัยชี้ขาด ศาลฎีกา จึง เห็นควร วินิจฉัย ให้โดย ไม่ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย อีก
พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า จำเลย เบิกความ ไว้ เมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน2531 ตาม เอกสาร หมาย จ. 17 มี ข้อความ ว่า “จำเลย (หมายถึง โจทก์คดี นี้ ) ไม่เคย ให้ อะไร ข้า ฯ ตลอด ชีวิต สมรส ” กับ เบิกความ ไว้ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2530 ตาม เอกสาร หมาย จ. 12 มี ข้อความ ว่า”ใน ระหว่าง ที่ บุตรสาว ทั้ง สอง อยู่ ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา จำเลย ปล่อย ปละ ให้ บุตร ทั้ง สอง อยู่ กับ นาง จูน นอกจาก นี้ นาง เมลานี่ ยัง บอกเล่า ให้ ข้า ฯ ฟัง ว่า ใน ระหว่าง ที่ เขา อยู่ ที่ บ้าน ของ จำเลย(หมายถึง โจทก์ ) เพื่อ รอ รับ บุตรสาว ทั้ง สอง มา มอบ ให้ ข้า ฯ ตาม คำสั่งศาล นั้น บุตรสาว ทั้ง สอง ตื่น นอน ต้อง หา อาหาร รับประทาน เอง จำเลยและ มารดา ของ จำเลย ไม่ สนใจ ใย ดี นอกจาก นี้ ยัง ทราบ จาก บุตรสาวคน เล็ก ว่า จำเลย กับพวก ทำ โทษ บุตรสาว โดย ให้ นอน อยู่ ที่ ระเบียงบ้านนอก ห้องนอน ทำให้ หนาวเย็น จน เกิด ความ กลัว ” คง มี ปัญหา ว่าคำเบิกความ ของ จำเลย ดังกล่าว เป็น ความเท็จ หรือไม่ ซึ่ง โจทก์ ได้นำสืบ พิสูจน์ ความจริง ไว้ ดังนี้ คือ โจทก์ จดทะเบียนสมรส กับ จำเลยเมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม 2519 โจทก์ ทำงาน มี รายได้ จาก หลาย แห่งรายได้ ที่ ได้รับ มา โจทก์ ได้ โอน เข้าบัญชี ของ จำเลย ตาม หลักฐานเอกสาร หมาย จ. 2 จ. 8 ประกอบ เอกสาร หมาย จ. 5 จ. 9 จำเลยเคย เขียน จดหมาย ขอ เงิน โจทก์ โจทก์ ส่ง เงิน ให้ จำเลย จำเลย เขียน จดหมายตอบ ว่า ได้รับ เงิน แล้ว ตาม หลักฐาน เอกสาร หมาย จ. 10 นอกจาก นี้โจทก์ ให้ จำเลย ใช้ เครดิต การ์ด หลักฐาน เอกสาร หมาย จ. 25 จ. 27 จ. 32ถึง จ. 34 แล้ว เรียกเก็บเงิน จาก โจทก์ ตาม หลักฐาน เอกสาร หมายจ. 26 จ. 28 และ จ. 35 และ จำเลย เคย ไป ที่ บ้าน โจทก์ จึง ทราบ ได้ ดี ว่าที่ บ้าน โจทก์ ไม่มี ระเบียงบ้าน ดัง ปรากฎ ตาม ภาพถ่าย บ้าน โจทก์ หมาย จ. 13โจทก์ และ มารดา โจทก์ เบิกความ ยืนยัน ว่า ขณะ บุตร ทั้ง สอง ของ โจทก์และ จำเลย อยู่ ที่ บ้าน มารดา โจทก์ ที่ สหรัฐอเมริกา นั้น โจทก์ และ มารดา โจทก์ เป็น ผู้ หา อาหาร ให้ บุตรสาว ทั้ง สอง ของ โจทก์ และ จำเลยรับประทาน หาใช่ ให้ บุตรสาว ทั้ง สอง ของ โจทก์ และ จำเลย หา อาหารรับประทาน เอง ไม่ จำเลย นำสืบ รับ ว่า โจทก์ เคย โอน เงิน มา เข้าบัญชีจำเลย ที่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา ลาดพร้าว ตาม เอกสาร หมาย จ. 2 จ. 3 จ. 9 และ จำเลย เป็น ผู้ใช้ เงิน ตาม เครดิต การ์ดหลักฐาน เอกสาร หมาย จ. 27 จ. 34 จ. 35 ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่าโจทก์ เคย ให้ เงิน จำเลย ใช้ จ่าย เป็น จำนวนเงิน ไม่ น้อย ดังนั้น ที่ จำเลยเบิกความ ว่า โจทก์ ไม่เคย ให้ อะไร แก่ จำเลย ตลอด ชีวิต สมรส จึง เป็นความเท็จ ส่วน คำเบิกความ ของ จำเลย เมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม 2530ตาม เอกสาร หมาย จ. 12 นั้น เป็น ข้อความ ที่ จำเลย อ้างว่า ได้รับคำบอกเล่า มาจาก นาง เมลานี่ และ จาก บุตรสาว ของ จำเลย แต่ ก็ มี เจตนา ที่ จะ ให้ ศาล เชื่อ ตาม คำเบิกความ ของ จำเลย นั้น เมื่อ จำเลย นำ บุตรสาวจำเลย ทั้ง สอง และ นาง เมลานี่ มา เบิกความ ใน คดี หมายเลขดำ ที่ 53/2529ตาม เอกสาร หมาย ล. 8 ถึง ล. 10 จำเลย ก็ หา ได้ ซักถาม ให้ ปรากฎข้อความ สนับสนุน คำเบิกความ ของ จำเลย ดังกล่าว ไม่ จึง เห็น ได้ว่าจำเลย เบิกความ กล่าวอ้าง ขึ้น เอง โดย ลำพัง จำเลย ย่อม ทราบ ได้ ดี ว่าข้อความ ดังกล่าว เป็น ความเท็จ ที่ จำเลย เพิ่ง นำ เด็ก หญิง วนิษา บุตร จำเลย มา สนับสนุน คำให้การ จำเลย ใน ชั้น นี้ นั้น ไม่มี น้ำหนักที่ จะ รับฟัง ได้ ดังนั้น ที่ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า จำเลย กระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา จึง เห็นพ้อง ด้วยฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share